ก้นปิดถ้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ก้นปิดถ้ำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: พวงแก้วกุดั่น
วงศ์: บอระเพ็ด
สกุล: สบู่เลือด
Forman
สปีชีส์: Stephania tomentella
ชื่อทวินาม
Stephania tomentella
Forman

ก้นปิดถ้ำ หรือ เถาก้นปิดถ้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania tomentella) เป็นพืชเลื้อยล้มลุกอายุหลายปีในสกุลสบู่เลือด ของวงศ์บอระเพ็ด ได้รับการอธิบาระบุชนิดครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531 โดย L.L. Forman เป็นหนึ่งใน 15 ชนิดที่เป็นพืชเฉพาะถิ่นของสกุลสบู่เลือดที่พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เป็นพืชเลื้อยใช้ลำต้นเกี่ยวพันต้นไม้อื่น ไม่มีเนื้อไม้ หัวใต้ดิน บางครั้งอยู่เหนือพื้นดิน

ก้านใบยาวมาก ใบรูปหัวใจออกกลม ปลายใบแหลม ก้านใบอยู่กลางใบ (peltate) ขอบใบเรียบ ใบบาง หลังใบมีสีเขียวออกสีนวล ใบกว้างและยาว 7–9 ซม. (2.8–3.5 นิ้ว)

ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้สีเข้ม ล้อมเกสรตัวเมียอยู่กลางดอก

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่[แก้]

เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย หายาก พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย [2] พบได้ทั่วไปตามหินปูน มักพบในระดับความสูง 500 เมตร ในป่าเบญจพรรณ[3] ตัวอย่างเดียวพบที่ ถ้ำตุ๊ปู่ อำเภอเมืองเชียงราย[4] อาจพบได้ที่เขาหินปูน อุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Stephania tomentella Forman | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  2. Threatened Plants in Thailand.--Bangkok : Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, 2017. 224 p. ISBN 978-616-316-334-9
  3. Thailand red data : plants. Thawatchai Santisuk, Thailand. Samnakngān Nayōbāi læ Phǣn Sapphayākō̜n Thammachāt læ Singwǣtlō̜m. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. 2006. ISBN 978-974-286-183-4. OCLC 398144360.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  4. "HerbWeb - Details Page". apps.kew.org.