ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้กล่าวถึงช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ยี่สิบ มันจะไม่สมบูรณ์; ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นมีเป็นช่วง ๆ ต้องอาศัยการสังเกตของนักท่องเที่ยวและนักเรือ ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมโดยหน่วยงานกลางในช่วงต้นนี้ พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน[1] เหล่านี้จะอยู่ภายในอัตภาพขอบเขตระยะเวลาของแต่ละปี ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ภายในมหาสมุทรแปซิฟิก, ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล โดยพายุที่ก่อตัวทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลและทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรจะถูกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" ส่วนพายุที่ก่อตัวทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรจะเรียกว่า "ไซโคลน"

พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281)[แก้]

คะมิกะเซะ[แก้]

ในตำนานของญี่ปุ่นกล่าวถึงไต้ฝุ่นคะมิกะเซะ (ลมแห่งพระเจ้า ตามความหมายคือ คะมิ แปลว่า เทพเจ้า และ กะเซะ แปลว่า ลม) ได้ทำลายเรือ 2,200 ลำของจักรพรรดิกุบไลข่านแห่งมองโกล ในอ่าวฮะกะตะ ซึ่งมีความพยายามที่จะบุกญี่ปุ่น จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งจากมองโกลเลียและเกาหลีประมาณ 45,000 ถึง 56,000 คน[2]

พ.ศ. 2367-68 (ค.ศ. 1824-25)[แก้]

มีไต้ฝุ่นสองลูกถูกบันทึกไว้ในช่วงที่อยู่ในโอะกินะวะและเกาะริวกิว[3]

พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826)[แก้]

ไต้ฝุ่นที่โอะกินะวะ[แก้]

ไต้ฝุ่นลูกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คนและทำลายบ้านเรือนกว่าพันหลังคาเรือน เรือประมงกว่า 100 ลำสูญหายไป และมีผู้เสียชีวิตหลังจากภาวะอดอยากจำนวน 2,200 คน[3]

พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828)[แก้]

ไต้ฝุ่นที่นะงะซะกิ[แก้]

17 กันยายน[แก้]

ไต้ฝุ่นได้โจมตีนะงะซะกิทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,429 คนบนชายฝั่งทะเลอะริอะเกะ และเป็นยอดผู้เสียชีวิตสูงสุดจากการถูกโจมตีโดยไต้ฝุ่นในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[2] ฟิลลิป แฟรนซ์ โวน เซยโบลด (Philipp Franz von Siebold) แพทย์ชาวเยอรมันเขาได้นำเสนอในช่วงระหว่างที่พายุเข้าและประสบความสำเร็จในการอ่านบารอมิเตอร์ค่าความกดอากาศรอบ ๆ เมืองนะงะซะกิและความเสี่ยงของการจมน้ำ พายุลูกนี้ได้รับการเสนอให้ใช้ชื่อเดิมของเขา[4]

พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835)[แก้]

ไต้ฝุ่นที่ยะเอะยะมะ[แก้]

ไต้ฝุ่นถูกบันทึกไว้ที่ยะเอะยะมะ ในริวกิว[5]

พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844)[แก้]

ไต้ฝุ่นที่มิยะโกะ[แก้]

พายุไต้ฝุ่นได้โจมตีมิยะโกะในเกาะริวกิว บ้านเรือนกว่า 2,000 หลังคาเรือนถูกทำลาย[5]

พ.ศ. 2395 (ค.ศ. 1852)[แก้]

ไต้ฝุ่นที่มิยะโกะ[แก้]

พายุไต้ฝุ่นได้ถูกบันทึกไว้ที่มิยะโกะในเกาะริวกิว มิยะโกะถูกโจมตีโดยคลื่นยักษ์และมีผู้เสียชีวิต 3,000 คน หลังจากนั้นเนื่องจากภาวะอดอยากและโรคระบาด[5]

พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)[แก้]

พายุไต้ฝุ่นได้ถูกบันทึกไว้ที่โอะกินะวะ[5]

พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853)[แก้]

พายุไซโคลนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2396[แก้]

12 และ 17 กรกฎาคม[แก้]

ช่วงเที่ยงวันของวันที่ 12 กรกฎาคม 2396 บารอมิเตอร์ขึ้นไปสูงสุดที่ 30.02 นิ้วปรอท (101.7 กิโลปาสกาล) ที่เรือเก็บยูเอสเอส ซัพพลาย (2389) จากที่นภา, เกาะลิวเชว 26°12′N 127°43′E / 26.200°N 127.717°E / 26.200; 127.717 และมีลมตะวันออกเข้าไปหล่อเลี้ยงในอีกหลายวันถัดมา

เวลา 08.00 ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2396, ยูเอสเอส คาไพรซ์ จากเซี่ยงไฮ้ถิงลิวเซวแล้วเคลื่อนไปทางซ้ายของลำห้วยซูโจวและลงสู่แม่น้ำแยงซี ในตอนกลางวัน บารอมิเตอร์ขึ้นไปถึง 29.71 นิ้วปรอท (100.6 กิโลปาสกาล) วันนั้นยูเอสเอส ซุสเควฮันนา (2393) และ ยูเอสเอส มิสซิสซิปปี (2384) เคลื่อนออกจากเอะโดะ ตามเส้นทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่บารอมิเตอร์แสดงค่า 30 นิ้วปรอท (100 กิโลปาสกาล) ซึ่งค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามสภาพฤดูกาลในท้องถื่น แต่พายุไซโคลนได้เข้ามาอย่างรวดเร็ว, ยูเอสเอส ซาราโตกา (2385) ออกจากเอะโดะไปยังเซี่ยงไฮ้ในเวลาเดียวกัน บารอมิเตอร์ก็แสดงค่า 29.84 นิ้วปรอท (101.0 กิโลปาสกาล)

18, 19 และ 20 กรกฎาคม[แก้]

ยูเอสเอส คาไพรซ์ ได้ทอดสมอในคืนนั้นจากคลื่นที่ขยายตัวจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตอนเที่ยงของวันที่ 18 กรกฎาคม 2396 บารอมิเตอร์ได้หยุดอยุ่ที่ 29.67 นิ้วปรอท (100.5 กิโลปสกาล) ส่วนในเรือยูเอสเอสมิสซิสซิปปีและเรือยูเอสเอส ซุสเควฮันนา ค่าความกดอากาศบารอมิเตอร์เริ่มต่ำลง ขณะที่ยูเอสเอส ซัพพลายรายงานว่ามีลมตะวันออกอย่างรุนแรง และการลดลงอย่างรวดเร็วของค่าในบารอมิเตอร์ในช่วงบ่าย

วันที่ 19 กรกฎาคม 2396 ยูเอสเอส มิสซิสซิปปีและยูเอสเอส ซุสเควฮันนา อยู่ห่างประมาณ 550 ไมล์ (890 กิโลเมตร) จากการติดตามของพายุไซโคลน

อ้างอิง[แก้]

  1. Padgett, Gary; John Wallace; Kevin Boyle; Simon Clarke (2003-08-17). "GARY PADGETT'S MONTHLY GLOBAL TROPICAL CYCLONE SUMMARY: May 2003". Typhoon2000.ph. David Michael V. Padua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2007-01-15.
  2. 2.0 2.1 Longshore, page 125
  3. 3.0 3.1 Kerr, page 241
  4. Longshore, pages 404-405
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Kerr, page 242