กุ้งมังกรเจ็ดสี
กุ้งมังกรเจ็ดสี | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda |
วงศ์: | Palinuridae |
สกุล: | Panulirus |
สปีชีส์: | P. versicolor |
ชื่อทวินาม | |
Panulirus versicolor (Latreille, 1804) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
กุ้งมังกรเจ็ดสี หรือ กุ้งมังกรหัวเขียว หรือ กุ้งหัวโขนเขียว[2] (อังกฤษ: Painted spiny lobster; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panulirus versicolor) เป็นกุ้งมังกรชนิดหนึ่ง
ส่วนของกระดองมีลวดลายสีเขียว, สีขาวและสีน้ำเงิน ลำตัวเป็นสีน้ำเงินหรือสีเขียว มีแถบสีขาวและสีดำพาดขวางลำตัว ขาเดินมีเส้นสีขาวพาดตามยาว ส่วนต้นของหนวดคู่ที่ 2 เป็นสีชมพู อาศัยอยู่ตามแนวโขดหิน ที่ระดับความลึกไม่เกิน 16 เมตร ในกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ตามซอกหินหรือที่กำบังโผล่มาเฉพาะส่วนหนวดและตา ในเวลากลางคืนถึงจะออกจากที่กำบังมาหากิน มีความยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร และพบยาวที่สุดถึง 40 เซนติเมตร[3][2]
กุ้งมังกรเจ็ดสี พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในกระแสน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, แอฟริกาตะวันออก, ทะเลอาหรับ, อินเดีย, พม่า, ไทย จนถึงอินโดนีเซีย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, โพลีนีเซีย และออสเตรเลีย
กุ้งมังกรเจ็ดสี เป็นกุ้งมังกรอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกัน ในประเทศไทยมีราคาซื้อขายจากชาวประมงที่ลงอวนจับกิโลกรัมละ 1,500 บาท[4] และยังเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามได้อีกด้วย[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Panulirus versicolor". IUCN Red List of Threatened Species. Version 3.1. 2009. สืบค้นเมื่อ August 22, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "กุ้งมังกร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2013-01-07.
- ↑ Lipke B. Holthuis (1991). "Panulirus versicolor". FAO Species Catalogue, Volume 13. Marine Lobsters of the World. FAO Fisheries Synopsis No. 125. Food and Agriculture Organization. pp. 156–157. ISBN 92-5-103027-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-07.
- ↑ กุ้งมังกร, "กบนอกกะลา" สารคดีทางช่อง 9: อาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2555
- ↑ ""Blue Lobster" Pet Solutions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-25. สืบค้นเมื่อ 2013-01-07.
- ↑ "Farmed aquarium products from Solomon Islands: creating new rural livelihoods from sustainable culture of ornamentals" World Wildlife Fund[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panulirus versicolor ที่วิกิสปีชีส์