ข้ามไปเนื้อหา

กิ้งกือกระสุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิ้งกือกระสุน
กระสุนพระอินทร์ เป็นกิ้งกือกระสุนประเภทหนึ่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ไฟลัมย่อย: ไมเรียโพดา
ชั้น: กิ้งกือ
ชั้นย่อย: ไคโลนาธา
ชั้นฐาน: เพนตาโซเนีย
อันดับใหญ่: กิ้งกือกระสุน
อันดับ

กระสุนพระอินทร์
Sphaerotheriida
Amynilyspedida

กิ้งกือกระสุน (อังกฤษ: Pill millipede) เป็นสิ่งมีชีวิตใดๆ ที่อยู่ในสามอันดับของกิ้งกือ ซึ่งมักจะถูกจัดให้อยู่ในอันดับใหญ่ Oniscomorpha ชื่อของอันดับใหญ่ หมายถึงกิ้งกือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวกะปิ แต่ในความเป็นจริงตัวกะปิกับกิ้งกือกระสุนไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเลย และถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมย่อยกุ้ง-กั้ง-ปูและไมเรียโพดา ตามลำดับ

กื้งกือกระสุนมีลักษณะอ้วนป้อม เมื่อตกใจขดตัวจะเป็นก้อนกลมเหมือนกระสุน จึงได้ชื่อว่า "กิ้งกือกระสุน" และยังมีชื่อภาษาถิ่นอื่นอีกเช่น "แมงมดชิด" พวกมันชอบอาศัยตามที่ชื้นแฉะ หรือป่าดิบชื้น กินเศษพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร[1] กิ้งกือกระสุนแต่ละชนิดมีสีเปลือกที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในการหลบซ่อน หรือพรางตัวจากศัตรูและผู้ล่า สิ่งแวดล้อมหรือถิ่นที่อยู่อาศัยที่ต่างกัน มีผลทำให้มีสีเปลือกที่แตกต่างกันไป ซึ่งสีของเปลือกของกิ้งกือกระสุนมีความแตกต่างกัน เช่น ในแถบภาคเหนือมักพบกิ้งกือกระสุนดำ ส่วนกิ้งกือกระสุนสีน้ำตาลมักพบอย่างกว้างขวางทั่วไป[2]

ลักษณะ

[แก้]

กิ้งกือกระสุนมีลำตัวที่สั้นมากเมื่อเทียบกับกิ้งกือประเภทอื่นๆ ด้วย 11–13 ปล้องลำตัวเท่านั้น[3] และมีความสามารถในการม้วนตัวเป็นลูกกลมๆ เมื่อถูกรบกวน ซึ่งเป็นการป้องกันตัวจากผู้ล่า ความสามารถนี้วิวัฒนาการแยกแตกต่างกันชัดเจนในแต่ละอันดับของทั้งสอง ทำให้ถูกจัดเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า กิ้งกือกระสุนยังสามารถปล่อยของเหลวที่มีพิษออกมาได้ ซึ่งกัดกร่อนและเป็นพิษต่อตัวผู้ล่า[4] พวกมันถูกจัดเป็นผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ โดยมีอาหารเป็นซากพืชในบริเวณป่าไม้[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://15number.weebly.com/1/post/2013/05/9.html[ลิงก์เสีย]
  2. กิ้งกือกระสุน หรือกิ้งกือกระสุนพระอินทร์สีดำและสีน้ำตาล:SIAM INSECT-ZOO&MUSEUM
  3. P. R. Racheboeuf, J. T. Hannibal & J. Vannier (2004). "A new species of the diplopod Amynilyspes (Oniscomorpha) from the Stephania lagerstätte of Montceau-les-Mines, France". Journal of Paleontology. 78 (1): 221–229. doi:10.1666/0022-3360(2004)078<0221:ANSOTD>2.0.CO;2. JSTOR 4094852.
  4. "Defining Features of Nominal Clades of Diplopoda" (PDF). Field Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-26. สืบค้นเมื่อ June 24, 2007.
  5. "Pill millipedes". Australian Museum. สืบค้นเมื่อ December 22, 2016.