กิลัด ชาลิต
กิลัด ชาลิต (อังกฤษ: Gilad Shalit, ฮีบรู: גלעד שליט; เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2529) เป็นพลเมืองอิสราเอล-ฝรั่งเศส และทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เขาถูกจับตัว[1] ในอิสราเอลโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาสในการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนผ่านอุโมงค์ใต้ดินใกล้กับพรมแดนที่ติดต่อกับกาซา กลุ่มฮามาสจับตัวเขาอยู่นานกว่าห้าปี กระทั่งเขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ชาลิตถูกลักพาตัวใกล้กับจุดผ่านแดนเคเล็มชาลอมในอิสราเอล และถูกจับเป็นตัวประกันโดยฮามาส ณ ตำแหน่งที่ไม่ทราบในฉนวนกาซา[2] วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับการปล่อยตัวในข้อตกลงให้อิสรภาพแก่เขาหลังถูกโดดเดี่ยวและควบคุมตัวนานกว่าห้าปี แลกกับนักโทษชาวปาเลสไตน์รวม 1,027 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนถูกตัดสินว่าฆาตกรรมและดำเนินการก่อการร้ายต่อพลเรือนอิสราเอล[3][4]
ระหว่างการถูกควบคุมตัว ฮามาสปัดคำร้องจากคณะกรรมาธิการกาชาดสากล (ICRC) ที่ขออนุญาตเยี่ยมชาลิต โดยอ้างว่า ผู้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและแพทย์กาชาดอาจทรยศบอกตำแหน่งที่ฮามาสควบคุมตัวชาลิตไว้เป็นตัวประกัน ด้านผู้อำนวยการใหญ่กาชาด ยีฟส์ ดัคคอร์ ยืนกรานว่า "ครอบครัวชาลิตมีสิทธิตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่จะติดต่อกับบุตรชาย"[5]
องค์การสิทธิมนุษยชนหลายแห่งว่า เงื่อนไขและข้อกำหนดการกักขังชาลิตนั้นขัดต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คณะผู้แทนศึกษาข้อเท็จจริงว่าด้วยความขัดแย้งกาซาสหประชาชาติ (United Nations Fact Finding Mission on the Gaza Conflict) ออกรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ซึ่งยังได้เรียกร้องการปล่อยตัวชาลิต[6] ในแถลงการณ์โดวิลล์วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มจี 8 ต้องการให้ปล่อยตัวกิลัด ชาลิต[7]
เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวเขา ฮามาสเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ที่กำลังรับโทษจำคุกอยู่ในอิสราเอล เช่นเดียวกับชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกพิพากษาและกำลังรับโทษที่เป็นสตรีและที่อายุน้อยทั้งหมด สองปีถัดมา จุดติดขัดสำคัญในการเจรจา คือ การยืนกรานของฮามาสให้ปล่อยตัวมัรวาน บาร์กูฮ์ติ ซึ่งปัจจุบันกำลังรับโทษห้าปีในอิสราเอลข้อหาฆาตกรรม[8][9]
ชาลิตซึ่งมียศสิบโทเหล่ายานเกราะของ IDF เมื่อครั้งที่เขาถูกลักพาตัวนั้น ได้รับการเลื่อนยศเป็นจ่าสิบตรี จ่าสิบโท และจ่าสิบเอกเมื่อถึงวันก่อนหน้าการปล่อยตัวของเขา[10] การติดต่อทางเดียวระหว่างชาลิตกับโลกภายนอกหลังการจับกุมและก่อนการปล่อยตัว มีจดหมายสามฉบับ เทปเสียง และดีวีดี ซึ่งอิสราเอลได้รับโดยแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์หญิง 20 คน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hamas releases audio of captured Israeli". USA Today. 25 June 2007.
- ↑ Miskin, Maayana (26 October 2008). "Hamas Demands Release of Notorious Killers". Arutz Sheva.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Haaretz, [2] – UPI – "[K]idnapped soldier Gilad Shalit"
- ↑ "In Shalit deal, Israel did cross its own red lines." Haaretz Newspaper, 14 October 2011.
- ↑ "PM vows to end jailed terrorists' privileges". Jerusalem Post. 23 June 2011. สืบค้นเมื่อ 28 June 2011.
- ↑ "Inquiry into Gaza conflict singles out Israeli policy towards Palestinians for most serious condemnation"
- ↑ "The Deauville G-8 Declaration". The White House (Press release). 27 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 May 2011.
- ↑ "Palestine's Mandela by Uri Avnery. Accessed: 5 December 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
- ↑ Matt Beynon Rees (6 January 2010). "Analysis: The "Palestinian Nelson Mandela". The Boise Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
- ↑ "Parents of Gilad Shalit received their son's ranks of Staff Sergeant". Ynet.co.il (20 June 1995). Retrieved on 29 August 2011.
- ↑ Calev Ben-David (21 December 2009). "Israel Orders More Talks on Shalit Prisoner Swap Deal (Update2)". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gilad Shalit
- Gilad.org เก็บถาวร 2009-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Official site maintained by Shalit's family