การเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553

← พ.ศ. 2552 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 →

สมาชิกคณะมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2553

สมาชิกก่อนการเลือกตั้ง

ธงของประเทศยูกันดา ยูกันดา (แอฟริกา)
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (เอเชีย)
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก (ละตินอเมริกา)
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี (ยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น)
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย (ยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น)

สมาชิกใหม่

ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ (แอฟริกา)
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย (เอเชีย)
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย (ละตินอเมริกา)
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี (ยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น)
ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส (ยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น)

การเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553[1] ระหว่างสมัยประชุมที่ 65 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกสมาชิกคณะมนตรีไม่ถาวรจำนวนห้าที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสองปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[2]

ตามกฎการเวียนของคณะมนตรีความมั่นคง ทำให้สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเวียนไปในแต่ละกลุ่มภูมิภาคซึ่งรัฐสมาชิกสหประชาชาติเดิมได้แบ่งกันเองเพื่อจุดประสงค์ด้านการลงคะแนนและการเป็นผู้แทน สำหรับตำแหน่งที่ว่างลงทั้งห้าจัดสรรให้กับภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้:

  • หนึ่งที่นั่งสำหรับทวีปแอฟริกา (ซึ่งยูกันดาดำรงตำแหน่งอยู่)
  • หนึ่งที่นั่งสำหรับทวีปเอเชีย (ซึ่งญี่ปุ่นดำรงตำแหน่งอยู่)
  • หนึ่งที่นั่งสำหรับละตินอเมริกา (ซึ่งเม็กซิโกดำรงตำแหน่งอยู่)
  • สองที่นั่งสำหรับยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น (ซึ่งออสเตรียและตุรกีดำรงตำแหน่งอยู่)

สมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจะดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงระหว่าง พ.ศ. 2554-55

สำหรับยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่น เยอรมนี[3][4] ตลอดจนแคนาดา[5] และโปรตุเกส[6][7][8] ได้เสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้ง ส่วนอินเดียชนะแบบไร้คู่แข่งในที่นั่งสำหรับทวีปเอเชีย เมื่อคาซัคสถานยอมถอนตัวจากการเสนอชื่อ แอฟริกาใต้จากทวีปแอฟริกาชนะแบบไร้คู่แข่งเช่นดันหลังได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแอฟริกา หลังจากยอมถอนตัวให้กับบราซิลในการเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงใน พ.ศ. 2552 โคลอมเบียก็ได้รับเลือกตั้งโดยไม่มีคู่แข่งอีกประเทศหนึ่ง[9]

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

สามประเทศได้รับเลือกตั้งโดยไม่มีคู่แข่ง โดยผลการเลือกในที่นั่งต่าง ๆ เป็นดังนี้: อินเดียได้รับ 187 เสียง แอฟริกาใต้ได้รับ 182 เสียง และโคลอมเบียได้รับ 186 เสียง[10] สำหรับการเลือกตั้งในยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่นเป็นดังนี้:

ผลการเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553
ประเทศ รอบที่ 1 รอบที่ 2 รอบที่ 3
 เยอรมนี 1281
 โปรตุเกส 122 1132 1503
 แคนาดา 114 78 32
หมายเหตุ
1 เยอรมนีได้รับเลือกเนื่องจากได้รับเสียงส่วนใหญ่กว่าสองในสาม
2 หลังการลงคะแนนเสียงรอบนี้ แคนาดาถอนการเสนอชื่อของตน
3 โปรตุเกสได้รับเลือก

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2011-01-01.
  2. "Turkey may in fact become a regional power through the UNSC". Panarmenian.Net. 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  3. "UN Security Council non-permanent seat 2011-12". Germanyandafrica.diplo.de. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  4. "Germany - Germany's candidature for the UN Security Council 2011/12". Auswaertiges-amt.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  5. "Canada going for UN Security Council seat". Canada.com. 2008-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  6. "Missão Permanente de Portugal junto das Nações Unidas". Un.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  7. Collins, Michelle (2009-03-04). "'Aggressive' Bid to Score Security Council Seat Underway | Embassy - Canada's Foreign Policy Newspaper". Embassymag.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  8. "CBC News - World - Tie Canada's bid for Security Council seat to water issue, Barlow urges". Cbc.ca. 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  9. http://globalmemo.org/2010/08/30/octobers-security-council-elections/
  10. http://seattletimes.nwsource.com/html/nationworld/2013138673_apununsecuritycouncilelections.html?syndication=rss