การอ้างเหตุผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การอ้างเหตุผล (อังกฤษ: argument) คือการพิสูจน์หรือตรวจสอบข้อความ ประโยค หรือประพจน์ที่เป็นข้อตั้ง โดยสามารถนำไปตั้งบทสรุปได้[1] มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เหตุผลสำหรับบทสรุปของสิ่งหนึ่งด้วยการกล่าวอ้าง อธิบาย หรือชักจูง และเพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือว่าข้อความที่เป็นบทสรุปนั้นสอดคล้องกับความจริงมากเพียงใด[2][3]

ในตรรกศาสตร์ การอ้างเหตุผลจะอยู่ในรูปของภาษารูปนัยเชิงสัญลักษณ์ และไม่อยู่ในรูปของภาษาธรรมชาติ และสามารถนิยามได้ว่าเป็นกลุ่มของประพจน์ที่ประพจน์หนึ่งอ้างว่ามาจากประพจน์อื่น ๆ ผ่านการอนุมานที่สมเหตุสมผลแบบนิรนัยซึ่งพิสูจน์ความจริงได้ตั้งแต่ส่วนของข้อตั้งไปจนถึงบทสรุป ซึ่งมุมมองเชิงตรรกศาสตร์เกี่ยวกับการอ้างเหตุผลนี้ยังมีความเกี่ยวข้องในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Sinnott-Armstrong, Walter; Fogelin, Robert J. (2015). Understanding arguments: an introduction to informal logic. Cengage advantage books (9 ed.). Australia; Brazil; Mexico; Singapore; United Kingdom; United States: Cengage Learning. ISBN 978-1-285-19736-4.
  2. Ralph H. Johnson, Manifest Rationality: A pragmatic theory of argument (New Jersey: Laurence Erlbaum, 2000), 46–49.
  3. This is called "argument-as-product", distinguished from "argument-as-process" and "argument-as-procedure." Wenzel, J. W. (1987). The rhetorical perspective on argument. In F. H. van Eemeren, R. Grootendorst, J. A. Blair, & C. A. Willard (Eds.), Argumentation. Across the lines of discipline. Proceedings of the conference on argumentation 1986 (pp. 101–109). Dordrecht-Providence: Foris.