การหาเส้นทางวิกฤต

เพิร์ตชาร์ตที่มี 6 กิจกรรม โดยในโครงการนี้มีกิจการที่วิกฤตได้สูงคือเส้นทาง B,C และ A,D,F
การหาเส้นทางวิกฤต (อังกฤษ: critical path method, CPM หรือ critical path analysis) เป็นวิธีการหนึ่งในการบริหารโครงการ โดยคำนึงถึงการแบ่งแยกงานออกเป็นหลายส่วน และพิจารณาระยะเวลาในการดำเนินงาน งานย่อยที่มีระยะเวลาดำเนินงานที่ส่งผลรวมถึงระยะเวลาของโครงการทั้งหมด จะถือว่าเป็นงานบนเส้นทางวิกฤต ซึ่งเป็นงานที่ต้องได้รับการควบคุมเป็นพิเศษ
ซีพีเอ็มเริ่มพัฒนาโดยบริษัทดูปองต์ในการบริหารการก่อสร้าง โดยในปัจจุบันมีการใช้กันทั่วในโครงการทั่วไปไม่เพียงต่องานก่อสร้าง
งานที่อยู่บนเส้นทางวิกฤตจะมีลักษณะเป็นงานที่ไม่สามารถล่าช้าได้ เพราะจะส่งผลให้เกิดการล่าช้าทั้งโครงการ ถ้างานใดงานหนึ่งในนั้นช้าไป
อ้างอิง[แก้]
- Project Management Institute (2003). A Guide To The Project Management Body Of Knowledge (3rd ed.). Project Management Institute. ISBN 1-930699-45-X.
![]() |
บทความเกี่ยวกับวิชา ความรู้ และศาสตร์ต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |