การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (จีน)
การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ | |
---|---|
ภาพวาดทหารญี่ปุ่นตัดแขนขาศพ | |
สถานที่ | พอร์ตอาร์เทอร์ (ปัจจุบันคือ Lu Shunkou), ต้าเหลียน, ประเทศจีน |
วันที่ | 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1894 |
เป้าหมาย | ทหารและประชาชน |
ประเภท | การสังหารหมู่ |
ตาย | 13,000 หรือ 60,000 ขึ้นอยู่กับหลักฐาน |
ผู้ก่อเหตุ | 1st Division, กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น |
การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ เกิดขึ้นระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 และลากยาวไปสองหรือสามวัน เมื่อส่วนหน้าของกองพลที่หนึ่งแห่งกองทัพญี่ปุ่นที่สอง ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกตาเดียว ยามาจิ โมโตฮารุ (ค.ศ. 1841-1897) สังหารทหารช่างและพลเรือนชาวจีนไประหว่าง 1,000 ถึง 20,000 คน เหลือผู้รอดชีวิตไว้เพียง 36 คนเพื่อฝังศพ[1] ในนครชายฝั่งพอร์ตอาร์เทอร์ของจีน (ปัจจุบันคือ ลวีชุนโกว) อย่างไรก็ดี มีการสงสัยตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตที่สูง เพราะบันทึกร่วมสมัยของสงครามประเมินตัวเลขประชากรทั้งหมดของพอร์ตอาร์เทอร์ไว้ที่ 6,000 คน (หรือ 13,000 คน หากรวมทหารประจำนคร) [2] รายงานภายหลังประเมินว่า 18,000 คนจากทั้งสองฝ่ายเข้าต่อสู้กัน โดยชาวจีนเสียชีวิต 1,500 คน[3]
เหตุการณ์
[แก้]บันทึกของพยานคนหนึ่งบรรยายเหตุการณ์ว่า ไม่เลือกหน้าและป่าเถื่อนโดยสิ้นเชิง บันทึกรายงานว่า ชาย หญิง เด็ก และทารกถูกฆ่าด้วยวิธีซึ่ง ตามผู้เขียนแล้ว น่าสะพรึงกลัวเกินกว่าจะอธิบายได้ ทั้งหมดขณะนอนราบลงกับพื้นและร้องขอความเมตตา ผู้เขียนอธิบายห้องซึ่งเลือดนองปกคลุมพื้นทั้งสิ้น ศพถูกตัดศีรษะและคว้านท้อง ทารกถูกเสียบและถูกทิ้งให้ห้อยบนกำแพงและโต๊ะกั้น หัวถูกวางไว้บนเสาและหิ้ง และการแสดงความเลวทรามอันน่าสยดสยองอื่น ๆ บันทึกยังได้อธิบายต่อไปถึงที่ซึ่งพลเรือนถูกบังคับให้เข้าไปในบ่อน้ำลึกและถูกยิงไม่เลือก ผู้ที่พยายามหลบหนีถูกแทงด้วยดาบปลายปืนขณะที่พวกเขาพยายามปีนหนีออกมา ทั้งหมดนี้ขณะที่ทหารญี่ปุ่นหัวเราะและสนุกสนานกับการฆ่า ตามบันทึกผู้เขียน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ p.330 Villiers, Frederic. The Truth About Port Arthur Cornell University Online Scans
- ↑ Northrop, Henry Davenport. Flowery Kingdom and The Land of Mikado or China, Japan and Corea: Graphic Account of the War between China and Japan-Its Causes, Land and Naval Battles (1894)
- ↑ Everett, Marshall. Exciting Experiences in the Japanese-Russian War. (1904).
- ↑ James Allen (1898). Under the dragon flag: My experiences in the Chino-Japanese war. Frederick A. Stokes Company. pp. 76–99. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.