ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ดัยร์ยาซีน
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์ในอาณัติ 1947-48 และ การอพยพครั้งใหญ่ของชาวปาเลสไตน์ ปี 1948
ดวงตราไปรษณียากรปี 1965 ของเยเมนเหนือ ระลึกถึงเหตุสังหารหมู่
สถานที่ดัยร์ยาซีน ปาเลสไตน์ในอาณัติ (ปัจจุบัน ประเทศอิสราเอล)
วันที่9 เมษายน 1948; 76 ปีก่อน (1948-04-09)
เป้าหมายชาวบ้านชาวอาหรับ
อาวุธปืนกล, ระเบิด, วัตถุระเบิด[1]
ตายมีข้อกังขาอยู่: ชาวบ้านชาวปาเลสไตน์อาหรับ ≥107 คน และผู้โจมตี 5 คน[2]
เจ็บชาวบ้าน 12–50 คน[3] และกองกำลังชาวยิวหลายสิบคน[fn 1][1]
ผู้ก่อเหตุอีร์กูน, เลฮี ภายใต้ความช่วยเหลือของฮากานะฮ์[1]
จำนวนก่อเหตุทหารชาวยิว ราว 120–130[1]
ผู้ต่อต้านชาวบ้าน

การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน (อังกฤษ: Deir Yassin massacre) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1948 เมื่อกลุ่มนักสู้ชาวยิวราว 130[1] คนจากกองกำลังกึ่งกอทัพยิว อีร์กูน และ เลฮี ฆาตกรรมชาวบ้านอย่างน้อย 107 ราย เหยื่อทั้งหมดเป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์ รวมถึงเด็กและสตรี ในหมู่บ้านดัยร์ยาซีน ซึ่งมีขนาดประชากรราว 600 ใกล้กับนครเยรูซาเลม แม้ว่าหมู่บ้านจะบรรลุข้อตกลงในการอยู่โดยสันติก็ตาม การโจมตีนี้เกิดขึ้นขณะกองกำลังชาวยิวพยายามจะหาทางผ่อนปรนการล้อมนครเยรูซาเลมในระหว่างสงครามกลางเมืองปาเลสไตน์ในอาณัติที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นสุดการปกครองในภูมิภาคปาเลสไตน์ของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ[4]

ชาวบ้านในดัยร์ยาซีนมีความพยายามต้านทานกองกำลังยิวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และกองกำลังยิวเองก็มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเช่นกัน ท้ายที่สุด ดัยร์ยาซีนก็ถูกยึดได้หลังการต่อสู้รายบ้านสิ้นสุด ชาวอาหรับปาเลสไตน์บางส่วนเสียชีวิตระหว่างการโจมตี ในขณะที่บางส่วนถูกสังหารชณะพยายามหลบหนีหรือแสดงการยอมจำนนแล้วก็ตาม มีนักโทษจำนวนหนึ่งถูกสังหาร บางส่วนหลังถูกนำไปขึ้นขบวนแห่ในเยรูซาเลมตะวันตกเพื่อถูกประชาชนถ่มถุย ขว้างปาหินใส่ ก่อนที่จะถูกสังหาร[1][5][6] นอกจากการฆาตกรรมแล้ว อาชญากรรมอื่น ๆ ที่ก่อในระหว่างการสังหารหมู่ยังมีการปล้นสะดมของมีค่า และมีความเป็นไปได้ว่าเกิดการข่มขืนและทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความพิการ[7] แม้ตอนแรก กองกำลังยิวจะประกาศชัยชนะและรุบว่าได้สังหารเหยื่อไปรวม 254 ราย แต่นักวิชาการในปัจจุบันระบุยอดเสียชีวิตอยู่ที่ต่ำกว่านั้น นักประวัติศาสตร์ชาวปาเลสไตน์ อาเรฟ อัลอาเรฟ นับเหยื่อได้รวม 117 ราย, เจ็ดรายในระหว่างการต่อสู้ และที่เหลือในบ้าน[8] จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บมีประมาณอยู่ระหว่าง 12 ถึง 50 นอกจากนี้ ฝั่งผู้โจมตีมีรายงานเสียชีวิตห้าราย บาดเจ็บอีกนับสิบคน[1]

การสังหารหมู่นี้ถูกประณามโดยผู้นำของฮากานะฮ์ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งกองทัพหลักของชุมชนชาวยิว และชาวยิวซึ่งรวมถึงหัวหน้าแรบไบประจำพื้นที่สองคน ไปจนถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เยสซูรูน การ์โดโซ, ฮันนะฮ์ อาเรนดต์, ซิดนีย์ ฮุก เป็นต้น องค์การชาวยิวเพื่อปาเลสไตน์ยังได้ส่งจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการแด่กษัตริย์อับดุลละฮ์แห่งจอร์แดนแต่ถูกปัดตกไป[4] และถือว่าคนยิวมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้[9] รวมถึงยังเตือนถึง "ผลสืบเนื่องอย่างร้ายแรง" หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ที่ใดอีก[10]

เหตุสังหารหมู่นี้กลายมาเป็นเหตุการณ์จุดเปลี่ยนในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ มีวาทกรรมเกิดขึ้นจากหลายฝ่ายเพื่อใช้โจมตีกันและกัน เช่น วาทกรรมจากชาวปาเลสไตน์พุ่งเป้าโจมตีอิสราเอล, โดยกลุ่มฮากานะฮ์เพื่อลดทอนบทบาทตัวเองในเหตุการณ์นี้ลง และโดยชาวอิสราเอลเพื่อกล่าวโทษกลุ่มอีร์กูนกับเลฮีว่าทำให้ชื่อของอิสราเอลต้องหม่นหมองผ่านการละเมิดซึ่งหลักการยิวว่าด้วยความเป็นบริสุทธิ์จากอาวุธ[11]

สี่วันถัดมา ในวันที่ 13 เมษายน มีการโจมตีเพื่อล้างแค้นในเยรูซาเลม โดยการโจมตีขบวนความช่วยเหลือทางการแพทย์ฮาดัสซะฮ์นี้เป็นผลให้มีชาวยิวถูกสังหาร 78 ราย ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์[12][13] ส่วนแหล่งข้อมูลในหอจดหมายเหตุของกองทัพอิสราเอลที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีนยังคงมีสถานะเป็นความลับ[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gelber claims 35 wounded which Morris sees as an exaggeration.
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Benny Morris (2005). "The Historiography of Deir Yassin". The Journal of Israeli History. 24 (1): 79–107. doi:10.1080/13531040500040305. S2CID 159894369.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hogan
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ saga
  4. 4.0 4.1 Morris 2008, pp. 126–128.
  5. Kana'ana and Zeitawi, The Village of Deir Yassin, Destroyed Village Series, Berzeit University Press, 1988.
  6. Yavne to HIS-ID, April 12, 1948, IDFA 5254/49//372 in Morris 2008, p. 127.
  7. Morris 1987, p. 113.
  8. Henry Laurens, La Question de Palestine, Fayard Paris 2007 vol.3 p.75
  9. Morris 2008, p. 127.
  10. Benny Morris, The Road to Jerusalem: Glubb Pasha, Palestine and the Jews, p. 128.
  11. Gelber 2006 เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 27, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 307.*For "purity of arms", see Walzer, Michael. "War and Peace in the Jewish Tradition", and Nardin, Terry. "The Comparative Ethics of War and Peace", in Nardin, Terry (ed.). The Ethics of War and Peace. Princeton University Press, pp. 107–108, 260.
  12. Siegel-Itzkovich, Judy (April 7, 2008). "Victims of Hadassah massacre to be memorialized". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ December 2, 2013.
  13. Larry Collins and Dominique Lapierre, O Jerusalem!, 1972, pp. 284–285, Simon & Schuster, New York; ISBN 0-671-66241-4
  14. Sela, Rona (March 2018). "The Genealogy of Colonial Plunder and Erasure – Israel's Control over Palestinian Archives". Social Semiotics. 28 (2): 201–229. doi:10.1080/10350330.2017.1291140. S2CID 149369385 – โดยทาง ResearchGate. p.209.

บรรณานุกรม

[แก้]