ข้ามไปเนื้อหา

การพินิจภายใน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพินิจภายใน (อังกฤษ: introspection) คือการตรวจความคิดและความรู้สึกของตัวบุคคลหนึ่งในขณะที่มีความรู้สึกตัว[1] ในจิตวิทยา กระบวนการพินิจภายในจะอาศัยการสังเกตสภาพจิตใจของบุคคลคนหนึ่ง ในขณะที่บริบททางจิตวิญญาณมองว่าเป็นการตรวจวิญญาณของบุคคลหนึ่ง[2] การพินิจภายในมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการสะท้อนตนเองและการค้นพบตนเองของมนุษย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับการสังเกตจากภายนอก

โดยทั่วไปแล้ว การพินิจภายในคือการที่บุคคลหนึ่งสามารถเข้าถึงสภาพจิตใจของตนเองแบบพิเศษเฉพาะบุคคล[3]โดยไม่อาศัยแหล่งความรู้อื่นใดเป็นสื่อกลาง เพื่อให้การรู้สึกถึงจิตของแต่ละบุคคลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การพินิจภายในสามารถช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพจิตใจในด้านต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้แก่ ประสาทสัมผัส ร่างกาย การรับรู้ อารมณ์ เป็นต้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schultz, D. P.; Schultz, S. E. (2012). A history of modern psychology (10th ed.). Belmont, CA: Wadsworth, Cengage Learning. pp. 67–77, 88–100. ISBN 978-1-133-31624-4.
  2. "psychology | Origin and meaning of psychology by Online Etymology Dictionary". www.etymonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
  3. 3.0 3.1 "Encyclopedia of Consciousness". January 2009: 187–199. doi:10.1016/B978-012373873-8.00071-2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)