การพิจารณาคดีนีกอลาเอและเอเลนา ชาวูเชสกู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตัดสินคดีชาวูเชสกู
ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโรมาเนีย
วันที่25 ธันวาคม 1989
พิพากษาลงโทษนีกอลาเอ ชาวูเชสกู, เอเลนา ชาวูเชสกู
ข้อหา
  • การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มีเหยื่อมากกว่า 60,000 ราย
  • การโค่นล้มอำนาจรัฐผ่านการใช้อาวุธเพื่อจัดการประชาชนและอำนาจรัฐ
  • การทำลายทรัพย์สินสาธารณะผ่านการทำลายและสร้างความเสียหายแก้อาคาร, การระเบิดในเมือง ฯลฯ
  • ละเลยเศรษฐกิจของชาติ
  • พยายามหลีกหนีออกนอกประเทศด้วยเงินมูลค่า 1 พันล้านดอลล่าร์ ที่มีฝากไว้ในธนาคารต่างชาติ
โทษประหารชีวิต

การตัดสินคดีนีกอลาเอและเอเลนา ชาวูเชสกู มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1989 โดยศาลทหารพิเศษ (Exceptional Military Tribunal) ศาลทหารภาคสนามที่ตั้งขึ้นโดยแนวร่วมปลดปล่อยชาติ ผลการตัดสินนั้นได้พิจารณามาไว้ก่อนแล้ว โดยคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตนีกอลาเอ ชาวูเชสกู อดีตประธานาธิบดีโรมาเนียและผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย และเอเลนา ชาวูเชสกู ภรรยา[1]

ความผิดกระทงสำคัญในคำพิพากษาคือฐานก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผ่านการฆาตกรรม "ประชาชนมากกว่า 60,000 คน" ในระหว่างการประท้วงที่ตีมีชออารา[2] ในขณะที่แหล่งข้อมูลอื่น ๆ ระบุยอดเสียชีวิตจากการประท้วงอยู่ที่ 689 และ 1,200 ราย[3][4][5] พลเอกวิกตอร์ สตันกูเลสกู ได้จัดเตรียมทีมพลร่มที่เขาคัดเลือกมาเป็นพิเศษด้วยตนเองจากกองพันพิเศษมาเพื่อเป็นหน่วยยิงเป้า ก่อนการพิจารณาคดีจะเริ่ม สตันกูเลสกูได้เลือกจุดที่จะทำการประหารชีวิตไว้แล้ว เป็นที่ข้างผนังหนึ่งของจัตุรัสภายในค่ายทหารนั้น[2]

นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ปฏิเสธศาล โดยอ้างว่าการพิจารณาคดีไม่ได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญ และเจ้าหน้าที่ของฝั่งปฏิวัติเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของโซเวียต[2]

การจับกุม[แก้]

ในวันที่ 22 ธันวาคม 1989 ท่ามกลางการปฏิวัติโรมาเนีย นีกอลาเอและเอเลนา ชาวูเชสกู ได้หนีออกจากอาคารวังรัฐสภาในบูคาเรสต์โดยทางเฮลิคอปเตอร์ มุ่งหน้าไปยังซนากอฟ และมุ่งหน้าต่อไปยังปีเตชตี[6] คนขับเฮลิคอปเตอร์อ้างว่าเฮลิคปอเตอร์อยู่ในอันตรายจากการยิงต่อต้านอากาศยาน จึงได้ลงจอดที่ถนนเส้นหนึ่งที่วิ่งระหว่างบูคาเรสต์เตอร์กอวิชเต ใกล้กับแกอชตี จากนั้น ทั้งสองได้เรียกรถคันหนึ่งที่หมอนีกอลาเอ เดเคอ (Dr. Nicolae Decă) กำลังขับอยู่ เดเคอได้นำทั้งสองไปส่งที่เวอเกอเรชตี แล้วจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นว่าทั้งสองกำลังหลบหนีไปทางเตอร์โกวิชเต ทั้งสองจึงเรียกและขึ้นรถอีกคันหนึ่งซึ่งคนขับคือนีกอลาเอ เปตรีชอร์ (Nicolae Petrișor) เพื่อให้ขับพาทั้งสองไปส่งที่เตอร์กอวิชเต ขณะนั่งรถ ทั้งสองได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิวัติผ่านทางวิทยุของรถ เนื่องจากในเวลานั้นคณะปฏิวัติได้ยึดครองสื่อของรัฐแล้ว ทำให้ชาวูเชสกูกล่าวว่าการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็น การรัฐประหาร เปตรีชอร์ได้พาทั้งสองไปส่งที่ศูนย์เกษตรกรรมแห่งหนึ่งใกล้กับเตอร์กอวิชเต ที่ซึ่งทั้งสองถูกทหารจากค่ายทหารใกล้ ๆ จับกุมตัว[2][7]

การประหารชีวิต[แก้]

ทั้งสองถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 16 นาฬิกา เวลาท้องถิ่น[8] ที่ฐานทัพแห่งหนึ่งนอกเมืองบูคาเรสต์ ในวันที่ 25 ธันวาคม 1989[9] การประหารชีวิตดำเนินไปโดยทีมยิงเป้าที่ประกอบด้วยพลร่ม กัปตัน Ionel Boeru, นายสิบเอก Georghin Octavian และ Dorin-Marian Cirlan ในขณะเดียวกันมีรายงานพลทหารอีกจำนวนมากที่อาสามาเป็นพลยิงเป้าในการประหารชีวิตครั้งนี้[10] Simon Sebag Montefiore เขียนไว้ว่าก่อนการประหารชีวิต เอเลนา ชาวูเชสกู ได้ตะโกนออกมาว่า "อีพวกสัตว์นรก!" (You sons of bitches!) ขณะกำลังถูกนำตัวไปยืนขนาบกับกำแพงเพื่อประหารชีวิต ในขณะที่นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ร้องเพลงแองเตอร์นาซิอองนาล[11]

พลยิงเป้าเริ่มระดมยิงทันทีที่ทั้งสองอยู่ในจุดชิดผนัง การประหารชีวิตดำเนินไปอย่างเร็วมากจนทำให้ทีมข่าวที่ได้รับมอบหมายให้อัดเทปการประหารชีวิตไว้สามารถอัดเก็บได้เพียงแค่การยิงในชุดสุดท้ายเท่านั้น ในปี 2014 กัปตัน Boeru ซึ่งเกษียณอายุแล้ว ได้บอกกล่าวกับผู้สื่อข่าวของ The Guardian ว่า เชาเชื่อว่ากระสุนที่ยิงออกมาจากปืนไรเฟิลของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ทำให้ทั้งสองเสียชีวิต เนื่องมาจากว่าเขาจำได้ว่าเขาเป็นเพียงคนเดียวจากพลยิงเป้าทั้งสามคนที่จำได้ว่าต้องปรับปืนไรเฟิลกาลาชนีกอฟให้ยิงแบบอัตโนมัติสมบูรณ์ (fully automatic) และมีอย่างน้องหนึ่งคนที่อึกอักลังเลที่จะยิง[12] ในปี 1990 รายงานจากสมาชิกของแนวร่วมปลดปล่อยชาติระบุว่ามีรอยกระสุนปืนรวม 120 นัดบนร่างของทั้งสอง[10]

ในปี 1989 นายกรัฐมนตรีปีเตร์ โรมัน บอกในรายการโทรทัศน์สัญชาติฝรั่งเศสว่าการประหารชีวิตเป็นไปอย่างเร็วมากจนทำให้มีข่าวลือว่ามีกลุ่มผู้ภักดีต่อทั้งสองได้พยายามช่วยเหลือทั้งคู่ให้รอดพ้นจากการลงโทษ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ daysthat
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Burakovski, p. 273
  3. "4 Top Ceausescu Aides Admit Complicity in Genocide: Romania: They are the first senior officials of regime to go on trial before a military court. The four are said to have confessed to all charges". Los Angeles Times. Bucharest, Romania. Reuters. 28 January 1990. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.
  4. Quigley, John B. (2006). The Genocide Convention: An International Law Analysis. Ashgate Publishing, Ltd. p. 38. ISBN 978-0-7546-8029-1.
  5. Schabas, William (2000). Genocide in International Law: The Crimes of Crimes. Cambridge University Press. p. 392. ISBN 978-0-521-78790-1.
  6. Burakovski, p. 272
  7. Demian, Sinziana (25 December 2009). "In Romania, Ceausescu's death haunts Christmas". Global Post. Cluj Napoca. สืบค้นเมื่อ 30 March 2013.
  8. 8.0 8.1 "Television shows last hours of the 'anti-Christ'". The Guardian. 27 December 1989. สืบค้นเมื่อ 30 March 2013.
  9. "Ceausescu Wept as He Faced Firing Squad, Footage Shows". The New York Times. Associated Press. 23 April 1990. สืบค้นเมื่อ 30 March 2013.
  10. 10.0 10.1 "120 bullets found in Ceausescus". The Day. 23 January 1990. สืบค้นเมื่อ 30 March 2013.
  11. Sebag Montefiore, Simon (2008). 101 Villains from Vlad the Impaler to Adolf Hitler: History's Monsters. Metro Books. p. 274. ISBN 978-1-4351-0937-7.
  12. Graham-Harrison, Emma (6 December 2014). "'I'm still nervous,' says soldier who shot Nicolae Ceausescu". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.

บรรณานุกรม[แก้]