การพยาบาลทารกแรกเกิด
การพยาบาลทารกแรกเกิด (อังกฤษ: Neonatal nursing) คือการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการดูแลทารกแรกเกิด โดยในบางประเทศอาจแบ่งการดูแลออกเป็นการพยาบาลทารกแรกเกิดที่ต่างกันสี่ระดับ ได้แก่: ระดับแรก - การดูแลสุขภาพทารกแรกเกิด, ระดับที่สอง - การดูแลทารกแรกคลอดก่อนกำหนดหรือทารกผู้ป่วย, ระดับที่สาม - การดูแลทารกที่ไม่สามารถใช้การรักษาในระดับที่สองและจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการช่วยชีวิต โดยเป็นทางเลือกสำหรับฝ่ายพยาบาลทารกแรกเกิดในห้องไอซียู (ICU) สำหรับทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพไม่ดีหรือทารกแรกคลอดก่อนกำหนด[1] และระดับที่สี่ - รวมทักษะทั้งหมดของระดับที่สาม แต่เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่วิกฤตและซับซ้อนกว่า เช่นเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิด[2]
คุณสมบัติและความต้องการ
[แก้]คุณสมบัติในการศึกษาวิชาการพยาบาลทารกแรกเกิดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ต่างต้องการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาและสำเร็จหลักสูตร พยาบาลวิชาชีพ (Registered Nurse) และต้องได้รับการรับรองคุณวุฒิ พยาบาลศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science in Nursing) หรือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (Masters of Science in Nursing)[3] โดยส่วนใหญ่ต้องการผู้มีประสบการณ์ในการทำงานในสถานพยาบาลอย่างน้อยสามปีตามที่โรงพยาบาลได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องการใบรับรองด้านการช่วยชีวิตทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation Provider) และหรือใบรับรองพยาบาลอภิบาลแรกเกิด (Neonatal Intensive Care Nursing) หรือผู้ประกอบการพยาบาลทารกแรกเกิด (Neonatal Nurse Practitioner) โดยอาจต้องมีใบรับรองเหล่านี้ นอกจากต้องเป็นพยาบาลเชี่ยวชาญหรือได้รับการรับรองพยาบาลวิชาชีพ สำหรับผุ้ประสงค์ที่จะทำงานด้านนี้โรงพยาบาลบางแห่งยังต้องการยืนยันการแสดงความสามารถและภาวะผู้นำในการปฏิบัติการ คุณสมบัติที่สำคัญประกอบด้วยความสามารถในการจัดหายา, ความรู้อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วย, การทำให้ฟื้นจากอาการหัวใจหยุดเต้นหรือปอดหยุดทำงาน และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pieron, Petri (2012). "Nursing made incredibly easy!". Neonatal Nursing Care 101. 10 (5): 30–36. doi:10.1097/01.NME.0000418034.61512.67.
- ↑ "Levels of Neonatal Care". Committee on Fetus and Newborn. American Academy of Pediatrics. 2012. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2013.
- ↑ "Neonatal Nurse". Nurses for a Healthier Tomorrow. Nurses for a Healthier Tomorrow. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2010.
บรรณานุกรม
[แก้]- "การดูแลทารกแรกเกิด" โรงพยาบาลสงขลา เก็บถาวร 5 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Whitfield JM, Peters BA, Shoemaker C (กรกฎาคม 2004). "Conference summary: a celebration of a century of neonatal care". Proc (Bayl Univ Med Cent). 17 (3): 255–8. PMC 1200660. PMID 16200108.
Church-Balin C Preventing prematurity
, "Goodman DC The uneven landscape of newborn intensive care services: variation in the neonatology workforce. - COINN. Global Unity for Neonatal Nurses. Frequently Asked Questions เก็บถาวร 8 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 1 มกราคม 2004–2007.
- Selga, Ana May A. MD. Hospital Length Of Stay and Readmission Rates For Normal Deliveries Hospital Stay เก็บถาวร 21 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Neonatal Nurse Practitioner Career Overview". NurseJournal. 21 มกราคม 2022.