การปลูกข้าวระบบประณีต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปลูกข้าวระบบประณีต หรือระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว (อังกฤษ: System of Rice Intensification, SRI) เป็นวิธีการที่มุ่งเป้าไปที่การเพิ่มผลผลิตของข้าวที่ผลิตในการเกษตร มันเป็นวิธีอินทรีย์น้ำน้อยแรงงานมากที่ใช้ต้นกล้าที่มีอายุน้อยกว่าเดี่ยว ๆ เว้นระยะห่างและกำจัดวัชพืชด้วยมือตามแบบทั่วไปโดยเครื่องมือพิเศษ มันถูกพัฒนาในคริสต์ศักราช 1983 โดย อองรี เดอ โลลานี นักบวชศาสนาคริสต์คณะเยสุอิตชาวฝรั่งเศสในมาดากัสการ์ อย่างไรก็ตามการทดสอบเต็มรูปแบบและการเผยแพร่ระบบไปทั่วบริเวณที่มีการปลูกข้าวของโลกไม่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งในเวลาต่อมาเป็นปีด้วยความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น คอร์แนล

ประวัติศาสตร์และแนวคิดหลักของเอสอาร์ไอ[แก้]

การประชุมกันของข้อปฏิบัติที่ถึงที่สุดของเอสอาร์ไอเริ่มในช่วงคริสต์ศักราช 1960 บนการสังเกตของบาทหลวงเดอ โลลานี หลักการประกอบด้วยการใช้น้ำปริมาณน้อยที่สุดและการย้ายที่ปลูกต้นกล้าอ่อนมากทีละต้นในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แนวคิดและข้อปฏิบัติเอสอาร์ไอวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องจากดังที่พวกมันกำลังถูกดัดแปลงให้เข้ากับภาวะที่อาศัยน้ำฝนและด้วยการย้ายต้นกล้าถูกแทนด้วยการเพาะเมล็ดโดยตรงในบางครั้ง หลักการสำคัญของเอสอาร์ไอตามมหาวิทยาลัยคอร์เนลคือ ดินนาข้าวควรถูกรักษาให้เก็บไว้ชื้นแทนที่จะอิ่มตัวอย่างต่อเนื่อง ลดภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เช่นนี้ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของรากและสนับสนุนการเจริญเติบโตและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดินที่ใช้ออกซิเจน การปลูกข้าวควรถูกปลูกเดี่ยว ๆ และเว้นระยะห่างกว้าง ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของรากและร่มไม้ และรักษาให้ใบทุกใบทำงานโดยการสังเคราะห์แสง ต้นกล้าข้าวควรถูกย้ายปลูกเมื่ออายุน้อย น้อยกว่า 15 วัน พร้อมกับใบ 2 ใบ อย่างรวดเร็ว อย่างตื้น และอย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่รากและเพื่อลดการช็อกจากการย้ายปลูก

การเผยแพร่เอสอาร์ไอ[แก้]

การเผยแพร่เอสอาร์ไอจากมาดากัสการ์ไปทั่วโลกถูกยกให้เป็นผลงานของนอร์มัน อัพฮอฟ อดีตผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศคอร์เนลเพื่ออาหาร การเกษตรและการพัฒนา ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล Ithaca นิวยอร์กจากคริสต์ศักราช 1990 - 2005 ในคริสต์ศักราช 1993 อัพฮอฟพบเจ้าหน้าที่จากสมาคม Tefy Saina องค์กรเอกชนที่ตั้งอยู่ในมาดากัสการ์ในคริสต์ศักราช 1990 โดยโลลานีเพื่อส่งเสริมเอสอาร์ไอ หลังจากเห็นความสำเร็จของเอสอาร์ไอเป็นเวลาสามปีเมื่อเกษตรกรมาดากัสการ์ก่อนหน้านี้ผลิตได้เฉลี่ย 2 ตัน/เฮกตาร์ ผลิตได้เฉลี่ย 8 ตัน/เฮกตาร์ด้วยเอสอาร์ไอ อัพฮอฟกลายเป็นผู้ชักชวนต่ ประโยชน์ของระบบและในปี 1997 เริ่มที่จะส่งเสริม SRI ในเอเชีย อัพฮอฟประมาณการว่าในคริสต์ศักราช 2013 จำนวนของเกษตรกรรายย่อยที่ใช้เอสอาร์ไอได้เพิ่มขึ้นไปเป็นระหว่าง 4 ถึง 5 ล้านคน

การประเมินเอสอาร์ไอ[แก้]

ผู้สนับสนุนและผู้วิจารณ์เอสอาร์ไออธิปรายผลประโยชน์ที่อางและหลายคำถามเกี่ยวกับมันก็ยังคงไม่ได้แก้ มหาวิทยาลัย Wageningen ได้ตีพิมพ์บทความเรื่องความท้าทายของการประเมินเอสอาร์ไอที่ประโยคหนึ่งสรุปว่า "แม้ว่าด้านเทคนิคของเอสอาร์ไอได้ถูกโต้เถียง มันมีอยู่อย่างชัดเจนในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นจริง" คำถามที่อยู่ในมือน่าจะเป็นว่า เอสอาร์ไอดีกว่าในการส่งมอบผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับชาวนา เช่น ดินที่มีสุขภาพดีขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการบริหารจัดการที่ถูกแนะนำที่ดีที่สุดที่มีอยู่แล้วสำหรับการผลิตข้าวหรือไม่

กรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ[แก้]

ผู้สนับสนุนของเอสอาร์ไออ้างว่าการใช้มันทำให้เพิ่มผลผลิต ประหยัดน้ำ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ และผลประโยชน์ได้สัมฤทธิ์แล้วใน 40 ประเทศ อัพฮาฟลงบทความในวารสารสากลของความยั่งยืนทางการเกษตรที่อธิบายว่าเอสอาร์ไอ "สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวที่มีน้ำขังไปถึงประมาณสองเท่าของค่าเฉลี่ยของโลกในปัจจุบันโดยไม่มีการพึ่งพาการป้อนเข้าจากภายนอก เช่นเดียวกันมอบผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมและความเที่ยงธรรม" ปัญหาพิเศษของเอสอาร์ไอในวารสารทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมข้าวเปลือกและน้ำรวบรวมผลการสืบค้นเร็วๆ นี้ในการสนับสนุนเอสอาร์ไอ ในคริสต์ศักราช 2011 เกษตรกรอายุน้อยชื่อ Sumant Kumar สร้างสถิติโลกในการผลิตข้าว 22.4 ตันต่อเฮกตาร์ โดยใช้เอสอาร์ไอ ซึ่งพิชิตสถิติโลกที่มีอยู่ของนักวิทยาศาสตร์จีน Yuan Longping ไป 3 ตัน

การวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

ผลผลิตของเอสอาร์ไออยู่ในการอภิปรายระหว่างผู้สนับสนุนและผู้วิจารณ์ของระบบ ผู้วิจารณ์เอสอาร์ไอเสนอว่าการยืนยันข้อเท็จจริงของการเพิ่มผลผลิตในเอสอาร์ไอเป็นการประเมินที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ พวกเขาคัดค้านว่ามีความขาดแคลนรายละเอียดในวิธีที่ใช้ในการทดสอบและความขาดแคลนการตีพิมพ์ในงานเขียนที่มีการตรวจทานโดนบุคคลอื่น ผู้วิจารณ์บางคนได้เสนอว่าความสำเร็จของเอสอาร์ไอเฉพาะเจาะจงกับสภาพดินในมาดากัสการ์