การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2559–2564
วันที่28 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – 7 มกราคม พ.ศ. 2561
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
  • ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ[1]
  • การทุจริตของรัฐบาล[1]
  • การคัดค้านต่อการเข้าร่วมในข้อขัดแย้งภายในภูมิภาคของประเทศอิหร่าน[1]
  • การคัดค้านต่อรัฐบาล[2]
  • รัฐบาลเผด็จการของแอลี ฆอเมเนอี
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน
เป้าหมาย
  • ความเสถียรภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
  • ความเท่าเทียมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
  • ถอดถอนแอลี ฆอเมเนอี[3][4][5][6][7][8][9]
วิธีการการเดินขบวน, การจลาจล, การดื้อแพ่ง, การนัดหยุดงาน
ผลผู้ประท้วงถูกปราบ
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ผู้นำ
ไม่มีผู้นำ
จำนวน
  • หมื่นกว่าคน (ภายในประเทศ)[10]
  • พันกว่าคน (นานาชาติ)[11][7]
การบังคับใช้กฎหมายและบุคลากรทางทหารหมื่นกว่านาย[12]
ความสูญเสีย
ถูกฆ่า 23[13][14] หรือ 25 คน[15]
ถูกจับ 4,972 คน[16][17]
ตำรวจถูกฆ่า 1 นาย[18][19]

มีเหตุการณ์ประท้วงในบางเมืองที่ประเทศอิหร่าน โดยเริ่มต้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2561 เหตุการณ์ประท้วงแรกเกิดที่แมชแฮด เมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศตามประชากร ในตอนแรกเน้นถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล หลังการประท้วงเริ่มขยายไปทั่วประเทศ ทำให้มีการขยายเป้าหมายเป็นการต่อต้านระบอบเผด็จการและการดำรงตำแหน่งของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี[20]

การประท้วงครั้งนี้ถือเป็นการประท้วงที่ใหญ่โตที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2552[21] ทำให้เสาหลักของระบอบนี้สั่นคลอน อย่างไรก็ตาม การประท้วงนี้มีความแตกต่างจากการเคลื่อนไหวสีเขียวทั้งในด้านผู้เข้าร่วม สาเหตุ เป้าหมาย และบทร้อง[22][23] สิ่งที่ต่างจากการประท้วงใน พ.ศ. 2552 คือการประท้วงที่ไม่มีผู้นำและไม่เป็นระบบ[24][25] นักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวแนะว่า การประท้วงเป็นผลจากการไม่เห็นด้วยกับนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอิหร่าน แฮแซน โรว์ฮอนี ในขณะที่บางส่วนกล่าวว่า พวกเขาไม่พอใจกับระบอบเผด็จการและผู้นำสูงสุดคือสาเหตุที่แท้จริงของการลุกฮือ[2][26][27] โรว์ฮอนียอมรับในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 ว่า "ผู้คนมีความต้องการทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม"[9][28][29]

รายงานเจ้าหน้าที่อิหร่าน ในบางพื้นที่ การประท้วงบานปลายไปเป็นความรุนแรง และสื่อของรัฐอิหร่านรายงานว่า ผู้ประท้วงโจมตีสถานีตำรวจและฐานทัพทหารกับบุคลากรทางทหารแล้วเริ่มยิงกัน[30][31] ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561 มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 21 คนกับเสมาชิกกองกำลังรักษาความปลอกภัย 2 คนถูกฆ่า นอกจากนี้ แมฮ์มูด ซอเดฆีรายงานว่ามีผู้ประท้วงถูกจับ 3,700 คน ถึงแม้ว่าในรายงานทางการมีผู้ถูกจับต่ำกว่าที่กล่าวไว้[16][17][32][18] ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 ผู้รายงานพิเศษ 4 คนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐบาลอิหร่านยอมรับและเคารพสิทธิของผู้ประท้วงและหยุดบล็อกอินเทอร์เน็ต[33]

ในการต่อต้านการประท้วง มีผู้สนับสนุนรัฐบาลพันกว่าคนจัดการชุมนุมในหลายเมืองของประเทศอิหร่าน[34]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Reuters (30 ธันวาคม 2017). "Protests over alleged corruption and rising prices spread to Tehran". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2017.
  2. 2.0 2.1 Gast, Phil; Andone, Dakin. "Here's why the Iran protests are significant". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  3. Erdbrink, Thomas (30 ธันวาคม 2017). "Iran Confronts 3rd Day of Protests, With Calls for Khamenei to Quit". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2017.
  4. "Iranian protesters attack police stations, raise stakes in unrest". Reuters. 2 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  5. Smith-Spark, Laura; Andone, Dakin; Hauser, Jennifer. "Iran warns against 'illegal' gatherings after protests". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2017.
  6. Dehghan, Saeed Kamali; Graham-Harrison, Emma (31 ธันวาคม 2017). "Iranians chant 'death to dictator' in biggest unrest since crushing of protests in 2009". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  7. 7.0 7.1 "گسترش واکنش‌های بین المللی همزمان با 'ادامه اعتراضات' در ایران". BBC News. 6 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2018.
  8. "Iran deploys Revolutionary Guards to quell 'sedition' in protest hotbe". 3 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2018 – โดยทาง Reuters.
  9. 9.0 9.1 "In jab at rivals, Rouhani says Iran protests about more than economy". Reuters. 8 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  10. Crisis of expectations: Iran protests mean economic dilemma for government เก็บถาวร 3 มกราคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters, 1 January 2018
  11. Tchekmedyian, Alene (7 January 2018). "Demonstrators flood Westwood to back anti-regime protests in Iran: 'Least we can do to show we're with them'". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2018. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
  12. "Ahmadinejad arrested for 'inciting violence' in Iran: report". New York Post. 7 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2018. สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  13. Kim Senqupta (2018-01-02). "Iran protests latest: Grand Ayatollah accuses foreign powers of meddling as protest death toll rises to 22" (ภาษาอังกฤษ). Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04.
  14. Səid Kəmali Dəğan və Culiyan Borqer (2018-01-02). "Iran's enemies to blame for unrest, says supreme leader, as death toll rises". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04.
  15. "Iran: le bilan officiel des manifestations monte à 25 morts". Le Monde with AFP. 2018-01-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2018-06-01.
  16. 16.0 16.1 Con Qambrell (2018-01-09). "Iran lawmaker says some 3,700 arrested amid protests, unrest". ABC News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-09. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  17. 17.0 17.1 Şina Mek-Kenzi (2018-01-09). "3,700 people were arrested during Iran protests, lawmaker says". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04., Sheena McKenzie, CNN, 9 Jan 2018
  18. 18.0 18.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Guardian1
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reuters.com1
  20. "Five things you need to know about protests in Iran". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  21. Dehghan, Saeed Kamali; Graham-Harrison, Emma (30 ธันวาคม 2017). "Iranians chant 'death to dictator' in biggest unrest since crushing of protests in 2009". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2017.
  22. "Supreme leader blames 'enemies of Iran' as protests death toll hits 20". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  23. Parsi, Trita (1 January 2018). "بالاخره "بیداری ایرانیان"There's something different about these Iran protests" (ภาษาอังกฤษ). CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
  24. "وزیر کشور ایران: اعتراضات دی ۹۶ سازمان‌یافته نبود" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News فارسی. 2018-12-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-12-27.
  25. Sydiq, Tareq (1 June 2020). "Asymmetries of Spatial Contestations: Controlling Protest Spaces and Coalition-Building during the Iranian December 2017 Protests". Contention. 8 (1): 49–69. doi:10.3167/cont.2020.080105. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020 – โดยทาง www.berghahnjournals.com.
  26. "Five things you need to know about protests in Iran". Al Jazeera. 2 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  27. جهان|TABNAK, سایت خبری تحلیلی تابناك|اخبار ایران و. "توکلی: اعتراضات خیابانی قابل پیش‌بینی بود". سایت خبری تحلیلی تابناك|اخبار ایران و جهان|TABNAK (ภาษาเปอร์เซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
  28. Erdbrink, Thomas (8 January 2018). "Iran Can't Keep Dictating Lifestyle, Its President Warns". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2018. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
  29. Maza, Cristina (28 December 2017). "Iran Protests: President Rouhani Sides With Young Protesters Over Aging Hard-Liners". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2018. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
  30. "Iran plays down violent protests despite mounting death toll". euronews (ภาษาอังกฤษ). 1 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2018.
  31. Erdbrink, Thomas; agencies (2 มกราคม 2018). "Deadly Iran Protests Prompt Warning of Harsher Response". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2018.
  32. "Ex-Iranian president, seen by some as moderate, condemns violence and US". 2 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  33. Laura Smith-Spark (5 มกราคม 2018). "UN experts urge Iran to respect rights, end Internet crackdown". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2018.
  34. "Iran stages pro-government rallies, derides Trump 'blunder' at U.N." Reuters. 5 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]