ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อิชดีร์ สนับสนุนแนวคิดที่ว่าชาวอาร์มีเนียต่างหากที่เป็นผู้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเติร์ก[1]

การปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian genocide denial) เป็นการอ้างว่าจักรวรรดิออตโตมันและผู้ปกครองซึ่งคือคณะกรรมการสามัคคีและความก้าวหน้า (CUP) ไม่ได้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียต่อพลเมืองอาร์มีเนียในปกครองของตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ได้รับการบันทึกและมีหลักฐานจำนวนมากที่ผ่านการยืนยันแล้วโดยนักวิชาการ[2][3] ผู้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อ้างว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่เคยเกิดขึ้น และชางอาร์มีเนียเพียงโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อผลประโยชน์ทางการทหาร ไม่ใช่ถูกขับไล่ หลังสิ้นสุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เอกสารที่ยืนยันการก่อาชญากรรมนี้ถูกทำลายอย่างเป็นระบบ และการปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุยังคงเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในรัฐบาลของประเทศตุรกีทุกภาคส่วน

ข้ออ้างที่ยืมมาจาก CUP เพื่อสร้างความชอบธรรมมีพื้นฐานมาจากการสันนิษฐานว่า "การโยกย้ายประชากร" ของชาวอาร์มีเนียเป็นการกระทำโดยรัฐที่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตอบรับกับการลุกฮือของชาวอาร์มีเนียที่อาจส่งผลร้ายต่อการดำรงอยู่ของจักรวรรดิในช่วงเวลาของสงคราม ผู้ปฏิเสธอ้างว่า CUP มีจุดมุ่งหมายในการย้ายถิ่นประชากรอาร์มีเนีย ไม่ใช่ฆ่าล้างชาวอาร์มีเนีย รยมถึงอ้างว่ายอดผู้เสียชีวิตถูกทำให้มากเกินจริงหรือมาจากการรวมการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น สงครามกลางเมือง, โรคภัยไข้เจ็บ, สภาพอากาศเลวร้าย, คำสั่งจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หรือจากกลุ่มคนผิดกฎหมายหรือพวกชาวเคิร์ด นักประวัติศาสตร์ Ronald Grigor Suny สรุปไว้ว่า คำโต้แย้งหลักคือ "ไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเกิดขึ้น และชางอาร์มีเนียต่างหากที่เป็นคนผิด"[4] การปฏิเสธนี้ยังมักมาพร้อมกัย "วาทกรรมว่าด้วยการทรยศ, ความเกรี้ยวกราด, ความเป็นอาชญากร และความทะเยอทะยานทางอาณาเขตของชาวอาร์มีเนีย"[5]

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1920 เรื่อยมา ตุรกีได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดการยอมรับทางการ หรือแม้แต่การกล่าวถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในประเทศอื่น ความพยายามเหล่านี้รวมถึงเงินมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ที่ใช้ไปกับการลอบบี, การสร้างสถาบันวิจัย และการข่มขู่ ในแง่ของนโยบายในประเทศ การปฏิเสธยังเป็นเรื่องที่ถูกสอนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพลเมืองตุรกีบางคนที่รับรองการฆ่าล้าเผ่าพันธุ์ว่าเกิดขึ้นจริง ต้องเผชิญกับการดำเนินคดีฐานความผิด "เหยียดหยามความเป็นตุรกั" ความพยายามนับศตวรรษของรัฐตุรกีเพื่อให้มีการปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเป็นเรื่องที่โดดเด่นมากในบรรดาการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์โลก[6] อาเซอร์ไบจาน ได้ปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุและมีการเรียกร้องต่อต้านการรับรู้การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุอาร์มีเนียไปทั่วโลกเช่นกัน พลเมืองและพรรคการเมืองตุรกีส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายการปฏิเสธของรัฐ การปฏิเสธนี้ยังมีอิทธิพลต่อข้อขัดแย้งนากอร์โน-การาบาฆ และความรุนแรงต่อชาวเคิร์ดในตุรกีจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marchand, Laure; Perrier, Guillaume (2015). Turkey and the Armenian Ghost: On the Trail of the Genocide (ภาษาอังกฤษ). McGill-Queen's Press. pp. 111–112. ISBN 978-0-7735-9720-4. The Iğdır genocide monument is the ultimate caricature of the Turkish government's policy of denying the 1915 genocide by rewriting history and transforming victims into guilty parties.
  2. Dadrian 2003, pp. 270–271
  3. มติโดยนักวิชาการ:
    • Bloxham, Donald (2003). "Determinants of the Armenian Genocide". Looking Backward, Moving Forward (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 23–50. doi:10.4324/9780203786994-3. ISBN 978-0-203-78699-4. Despite growing scholarly consensus on the fact of the Armenian Genocide...
    • Suny 2009, p. 935. "Overwhelmingly, since 2000, publications by non-Armenian academic historians, political scientists, and sociologists... have seen 1915 as one of the classic cases of ethnic cleansing and genocide. And, even more significantly, they have been joined by a number of scholars in Turkey or of Turkish ancestry..."
    • Göçek 2015, p. 1. "The Western scholarly community is almost in full agreement that what happened to the forcefully deported Armenian subjects of the Ottoman Empire in 1915 was genocide..."
    • Smith 2015, p. 5. "Virtually all American scholars recognize the [Armenian] genocide..."
    • Laycock, Jo (2016). "The Great Catastrophe". Patterns of Prejudice. 50 (3): 311–313. doi:10.1080/0031322X.2016.1195548. ... important developments in the historical research on the genocide over the last fifteen years... have left no room for doubt that the treatment of the Ottoman Armenians constituted genocide according to the United Nations Convention on the Prevention and Punishment of Genocide.
    • Kasbarian, Sossie; Öktem, Kerem (2016). "One Hundred Years Later: the Personal, the Political and the Historical in Four New Books on the Armenian Genocide". Caucasus Survey. 4 (1): 92–104. doi:10.1080/23761199.2015.1129787. ... the denialist position has been largely discredited in the international academy. Recent scholarship has overwhelmingly validated the Armenian Genocide...
    • "Taner Akçam: Türkiye'nin, soykırım konusunda her bakımdan izole olduğunu söyleyebiliriz". CivilNet (ภาษาตุรกี). 9 July 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  4. Suny 2015, pp. xii–xiii. "The Turkish state and those few historians who reject the notion of genocide have argued that the tragedy was the result of a reasonable and understandable response of a government to a rebellious and seditious population in time of war and mortal danger to the state's survival... There was no genocide, and the Armenians were to blame for it. They were rebellious, seditious subjects who presented a danger to the empire and got what they deserved... Still—the denialists claim—despite the existential threat posed by the Armenians and their Russian allies to the survival of the empire, there was no intention or effort by the Young Turk regime to eliminate the Armenians as a people."
  5. Bloxham 2005, p. 234.
  6. Smith, Roger W. (2006). "The Significance of the Armenian Genocide after Ninety Years". Genocide Studies and Prevention. 1 (2): i–iv. doi:10.3138/G614-6623-M16G-3648. The Armenian Genocide, in fact, illuminates with special clarity the dangers inherent in the political manipulation of truth through distortion, denial, intimidation, and economic blackmail. In no other instance has a government gone to such extreme lengths to deny that a massive genocide took place.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

บท

[แก้]

บทความในวารสาร

[แก้]