การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ หรือ การรีไซเคิลพลังงาน เป็นการนำพลังงานที่ใช้แล้ว ซึ่งปกติจะปล่อยทิ้งไป แต่ยังมีศักยภาพอยู่ กลับมาใช้ใหม่ โดยเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานไฟฟ้า ขบวนการนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่โรงงานผลิต หรือโรงไฟฟ้า หรือสถาบันใหญ่ๆเช่นมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาล มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ก็ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดมลภาวะในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกไปด้วยในตัว ขบวนการนี้ได้รับการยอมรับว่าช่วยลดโลกร้อนได้ ขบวนการนี้ปกติจะถูกดำเนินการในรุปของกำลังความร้อนร่วม (cogeneration) หรือ การกู้กลับคืนของของเสียที่เป็นความร้อน (Waste heat recovery)

รูปแบบ[แก้]

การกู้กลับคืนของของเสียที่เป็นความร้อน[แก้]

ความร้อนที่ถูกใช้แล้ว ส่วนเกินปกติจะถุกปล่อยทิ้งไป เราสามารถนำความร้อนนี้กลับมาใช้ใหม่ได้ในรูปของพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า หรือป้อนกลับไปในขบวนการผลิตใหม่ในรูปของลมร้อน หรือรูปของน้ำร้อน หรือรูปของสารประเภท glycol หรือรูปของน้ำมัน โรงงานประเภทนี้ได้แก่ โรงานผลิตโลหะ แก้ว เยื่อกระดาษ เป็นต้น

การกู้กลับคืนความร้อนจากเครื่องปรับอากาศ[แก้]

โรงผลิตสารทำความเย็นมักจะมีความร้อนเป็นผลพลอยได้จึงเก็บไว้ในถังใต้ดิน และนำออกมาใช้ใรฤดูหนาว เพื่อทำความอบอุ่นในอาคาร เพื่อประหยัดเชื้อเพลิงในการผลิตความร้อน หรืออาจเก็บความเย็นในฤดูหนาวเพื่อนำมาใช้สร้างความเย็นในอาคารในฤดูร้อน

รูปแสดงการทำงานแบบ Cogeneration เพื่อผลิตไฟฟ้า 1. เครื่องปั่นไฟ 2. กังหันไอน้ำ 3. Condenser. 4. ปั้ม 5. Heater 6. กังหันแก๊ส (รูปคอยล์ที่อยู่ใน Heater ควรอยู่ในกังหันแก๊สเพื่อเก็บความร้อนที่เหลือส่งไปให้กังหันไอน้ำ

กำลังความร้อนร่วม[แก้]

อังกฤษ: Combined Heat and Power or CHP โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สจะใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้แล้วหนึ่งระบบ ไอเสียจากกังหันแก๊ส ซึ่งมีความร้อนสูงเกือบ 500°C แทนที่จะทิ้งไปเปล่าๆ ถูกส่งไปผ่านหม้อน้ำ และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอความดันสูง ถูกส่งไปขับกังหันไอน้ำ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อีกหนึ่งระบบ ในประเทศไทยโรงไฟฟ้าแก๊สส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบนี้ เนื่องจากให้ประสิทธิภาพดีกว่า เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าน้ำพอง โรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นต้น[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1], โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม