การติดตาม (การลูกเสือ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบของรอยเท้าเม่น

การติดตาม (อังกฤษ: tracking) เป็นส่วนประกอบของการลูกเสือที่ครอบคลุมการสังเกต การสะกดรอยตาม และการติดตามเส้นทาง ต่างจากรูปแบบการติดตามที่ใช้ในการล่าสัตว์ การติดตามภายในขบวนการลูกเสือมีจะมุ่งเน้นไปที่การติดตามคนและสัตว์ รูปแบบการฝึกรูปแบบหนึ่งได้แก่ การวางเส้นทางหรือการเดินตามเส้นทางที่ผู้อื่นวางไว้ เส้นทางประกอบด้วยป้ายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยทิศทางซึ่งปรากฏอยู่บนพื้น

ประวัติ[แก้]

การติดตามเป็นส่วนหนึ่งของการลูกเสือและเนตรนารีมาตั้งแต่ต้น มันเป็นเรื่องของการเล่านิทานในการชุมนุมรอบกองไฟ (Campfire yarn) ของเบเดน โพเอลล์ ในลำดับสิบเอ็ดเขาเขียนว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ลูกเสือต้องเรียนรู้... คือการไม่ปล่อยให้สิ่งใดหลุดพ้นความสนใจของเขา"[1] เขาได้แนะนำวิธีการเรียนรู้ทักษะการสังเกตหลายวิธี เช่น เกมของคิม และเกมความจำอื่น ๆ ต่อจากนี้ ในนิทานรอบกองไฟลำดับที่สิบสอง เขาเขียนเกี่ยวกับรอยเท้า ซึ่งเกี่ยวกับการติดตามคนและสัตว์ ลูกเสือได้รับการสอนให้ระบุความแตกต่างระหว่างเส้นทางของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ตลอดจนกำหนดอายุของเส้นทางและจังหวะการเคลื่อนไหว ในนิทานรอบกองไฟลำดับที่สิบสาม เบเดน โพเอลล์ได้แนะนำการติดตามตามสัญญาณ โดยที่ลูกเสือได้รับการสอนให้อนุมานตำแหน่งของบุคคลหรือสัตว์โดยทำตามป้ายบอกทาง วัตถุประสงค์ของการฝึกทักษะการติดตามของลูกเสือนั้นเพื่อส่งเสริมการสังเกตและเพื่อให้พวกเขาสามารถสะกดรอยตามสัตว์ต่าง ๆ เพื่อสังเกตหรือล่าสัตว์เป็นอาหารได้[2]

สัญญาณการติดตามขั้นพื้นฐานที่เนตรนารีและลูกเสือทุกคนเรียนรู้ ได้แก่ "ทางนี้", "ห้ามเข้าหรืออันตราย", "เลี้ยวซ้าย", "เลี้ยวขวา", "น้ำข้างหน้า", "อุปสรรคข้างหน้า", "แยกกลุ่ม", ข้อความ _ ก้าว ทางนี้" และ "กลับบ้าน"

การสังเกต[แก้]

การติดตามยังเกี่ยวข้องกับการตีความเสียงเรียกและการเคลื่อนไหวของสัตว์ เพื่อดูว่ามีคนอื่นอยู่ใกล้ ๆ หรือไม่

อ้างอิง[แก้]

  1. Baden-Powell 1908, pp. 103.
  2. Baden-Powell 1908, pp. 103–127.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Gilcraft (1944), Training in Tracking (fourth edition reprint ed.), London: C. Arthur Pearson
  • Baden-Powell, Robert (1908), Scouting For Boys (1954 revision ed.)