การจำแนกแบบการ์เดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจำแนกแบบการ์เดิน (อังกฤษ: Garden classification) เป็นระบบการจัดประเภทของการแตกหักของกระดูสะโพกที่แตกภายในแคปซูลของส่วนคอกระดูกฟีเมอร์ การหักเช่นนี้สามารถรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงส่วนหัวกระดูกฟีเมอร์

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ชาวอังกฤษ รอเบิร์ท ซีมอน การ์เดิน [fr] เป็นผู้บรรยายระบบการจำแนกสำหรับกระดูกหักแบบดังกล่าว เรียกว่าการจัดจำแนกแบบการ์เดิน ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่ประเภท ดังนี้[1][2]

การจัดจำแนก[แก้]

ชนิด คำบรรยาย
1 กระดูกหักไม่สมบูรณ์แต่มั่นคง (Incomplete Stable fracture) ที่มีผลการกระทบแบบวอลกัส
2 กระดูกหักสมบูรณ์แต่ไม่เคลื่อนหลุด (Complete but non displaced) โดยกลุ่มเส้น (group of trabeculle) ทั้งสองยังคงรูปเส้น (in line)
3 กระดูกหักมีการเคลื่อนหลุดบางส่วน (Partially displaced) ที่มีผลการกระทบแบบวารัส และมีการรบกวนเส้นทั้งหมดทั้งสามเส้น (all three trabeculle disturb)
4 กระดูกหักที่เคลื่อนหลุดโดยสมบูรณ์ (Completely displaced) โดยไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างชิ้นกระดูกที่แตก

ความสัมพันธ์ในทางคลินิก[แก้]

หลอดเลือดที่เลี้ยงส่วนหัวกระดูกฟีเมอร์มีแนวดโน้มที่จะถูกรบกวนในกระดูกหักแบบการ์เดินชนิด 3 หรือ 4 แพทย์อาจให้การรักษากระดูกหักประเภทนี้โดยการทดแทนกระดูกที่หักด้วยอาร์โทรพลาสทีทดแทน หรือใช้การรักษาที่ทำการรีดักชั่นกระดูกที่หักให้กลับเข้าในตำแหน่งที่เหมาะสม จากนั้นจึงยึดเข้าด้วยกันโดยใช้สกรูโลหะ ในเวชปฏิบัติโดยทั่วไปนั้น การ์เดินชนิด 1 และ 2 จะใช้สกรู ส่วนการ์เดินชนิด 3 และ 4 จะใช้อาร์โทรพลาสที ยกเว้นในผู้ป่วยที่ยังไม่สูงวัยอาจลองรักษาด้วยวิธียึดสกรูก่อน แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นอาร์โทรพลาสทีหากจำเป็น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. R. S. Garden. Obituary. British Medical Journal, vol 285, 11 December 1982, p.1751.
  2. Hieu T Truong et al. Femoral Neck Fracture Imaging
  3. Akhtar M Khan, Fractures of the Lower Limb