การลอบวางแผนโพพิช
การคบคิดพ็อพพิช (อังกฤษ: Popish Plot) (ค.ศ. 1678 - ค.ศ. 1681) เป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลที่สร้างขึ้นโดยไททัส โอตส์ ที่เป็นผลที่ทำให้ประชาชนเกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงไปทั่วในราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681[1] โอตส์อ้างว่ามีการคบคิดกันอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้นับถือโรมันคาทอลิก ที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ข่าวลือนี้ทำให้มีผู้ถูกจับและถูกประหารชีวิตไปอย่างน้อย 15 คน และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การออกร่างพระราชบัญญัติยกเว้น ในที่สุดข่าวลืออันซับซ้อนของโอตส์ก็เป็นที่เปิดเผยซึ่งทำให้ถูกจับในข้อหาการสร้างเรื่องเท็จ
เบื้องหลัง[แก้]
สาธารณชนผู้นับถือโปรเตสแตนต์เพิ่มความหวาดระแวงถึงอิทธิพลของกลุ่มโรมันคาทอลิกในอังกฤษเมื่อรัชทายาทของพระเจ้าชาร์ลส์--เจมส์ สจวต ดยุคแห่งยอร์ค--เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก นอกจากนั้นพระมเหสีของพระองค์--พระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซา--ก็เป็นโรมันคาทอลิก พระราชนโยบายของพระองค์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1670 ก็ทำให้ทรงมีความขัดแย้งกับรัฐสภาในปี ค.ศ. 1672 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงออกพระราชประกาศผ่อนปรนสิทธิของผู้เป็นโรมันคาทอลิกที่หยุดยั้งการลงโทษทางกฎหมายอาญาต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและผู้เป็นปฏิปักษ์ทางศาสนาทั้งหมด[2]
พระเจ้าชาร์ลส์ไม่มีพระประสงค์ที่จะหุ้นอำนาจกับรัฐสภาแต่ทรงต้องทรงพึ่งรัฐสภาทางการเงิน ทรงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสจะช่วยผ่อนคลายสถานะการณ์ทางการเงินของพระองค์ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทรงต้องพึ่งรัฐบาลอีก ขณะเดียวกันอำนาจของ องคมนตรีคาบาล (Cabal Ministry) ก็เริ่มเสื่อมลง ในขณะที่อำนาจของทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 หรือลอร์ดแดนบีย์ผู้ที่มาแทนทอมัส คลิฟฟอร์ด บารอนคลิฟฟอร์ดที่ 1 หนึ่งในกลุ่มองคมนตรีคาบาลเดิมก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมพระคลัง (Lord High Treasurer) ลอร์ดแดนบีย์พยายามถวายคำแนะนำให้พระเจ้าชาร์ลส์ลดนโยบายนิยมในฝรั่งเศสลงบ้าง[3]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1677 ก็มีการแจกใบปลิวที่ไม่ลงชื่อ (อาจจะเป็นแอนดรูว์ มาร์เวิร์ลล์) ไปทั่วลอนดอนเตือนว่าโรมวางแผนที่เปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกกฎหมายของอังกฤษ [4]
แผนการคบคิด[แก้]
แผนการคบคิดถูกเปิดเผยด้วยวิธีที่ค่อนข้างแปลก โอตส์และอิสราเอล ทังก์เขียนเอกสารที่กล่าวโทษสถาบันโรมันคาธอลิกว่าสนับสนุนการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 โดยใช้มือของนักบวชเยซูอิดในอังกฤษ นอกจากนั้นเอกสารยังได้ระบุนามนักบวชเยซูอิดร่วมร้อยคนที่เป็นผู้สนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนการปลงพระชนม์ แต่ไม่มีอะไรในเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าจริง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ฮีลด์, เฮ็นเรียตตา (ค.ศ. 1992). บันทึกเหตุการณ์ของอังกฤษ. ฌาคส์ เลอกรองด์. p. หน้า 605. ISBN 0192116959.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ Fraser, pp.305–308 and Hutton, pp.284–285
- ↑ มาร์ค ไนท์, “ออสบอร์น ทอมัส ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 (ค.ศ. 1632–ค.ศ. 1712)”, พจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติ ฉบับออกซฟอร์ด, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด, กันยายน ค.ศ. 2004
- ↑ ฮีลด์, เฮ็นเรียตตา (ค.ศ. 1992). บันทึกเหตุการณ์ของอังกฤษ. ฌาคส์ เลอกรองด์. p. หน้า 603. ISBN 0192116959.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นาธาเนียล เรดดิง เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายนามนักบวชเยซูอิดแปดคนที่ถูกกล่าวหา เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ภาพ[แก้]
สายลับ วิลเลียม เบดโล (William Bedloe)
ไททัส โอตส์พบแผน
ผู้พิพากษา เอ็ดมันด์ เบอร์รีย์ กอดฟรีย์ (Edmund Berry Godfrey) และโอตส์
วิลเลียม บรุคส์ (William Brooks) เทศมนตรีแห่งดับลิน
บุญราศีทอมัส พิคเคอริง (Blessed Thomas Pickering), พระเบ็นนาดิคตินและเหยื่อของแผนพ็อพพิช
นาธาเนียล เรดดิง (Nathaniel Reading) ในขื่อคา
เอ็ดมันด์ โคลมัน (Edward Colman]] เหยื่อของแผนพ็อพพิช
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |