การขายไตในประเทศอิหร่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายภาษาเปอร์เซียในประเทศอิหร่าน เขียนว่า "ฉันกำลังจะบริจาคไต เลือดกรุ๊ป A+" พร้อมเบอร์โทรศัพท์

การค้าขายไตมนุษย์เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจในประเทศอิหร่านเป็นเรื่องถูกกฎหมายและมีการควบคุมโดยรัฐบาล ปีหนึ่ง ๆ มีชาวอิหร่านราว 1400 คนที่ขายไตข้างหนึ่งให้กับผู้รับที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน[1] ปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศเดียวบนโลกที่อนุญาตให้มีการขายไตของตนโดยแลกกับค่าตอบแทน อิหร่านจึงเป็นประเทศไม่ประสบปัญหาการต้องรอเป็นเวลานานเพื่อรับการบริจาคไตเพื่อปลูกถ่าย[2][3]

ภูมิหลัง[แก้]

การปลูกถ่ายไตครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางมีขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1967 และเริ่มเป็นหัตถการที่พบได้ไม่ยากในราวกลางทศวรรษ 1980s อิหร่านยินยอมให้มีการนำไตมาปลูกถ่ายจากทั้งร่างของผู้เสียชีวิตที่มีเจตจำนงบริจาคร่างกายและผู้บริจาคอวัยวะเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ปัจจุบันมีการประมาณว่าราว 13 เปอร์เซ็นต์ของการบริจาคไตมรจากร่างผู้เสียชีวิต ลดลงจากก่อนกฎหมายอนุญาตให้มีการค้าไตจะผ่านในปี 2000 ซึ่งมีการพึ่งพาไตจากร่างผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วอยู่ที่เกือบ 99 เปอร์เซ็นต์[4] ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของตลาดอย่างสถาบันแคโต อ้างว่านับตั้งแต่มีการนำเสนอแรงจูงใจทางธุรกิจเข้ามาในตลาดค้าไต อิหร่านสามารถกำจัดการรอคิวรับบริจาคไตเพื่อปลูกถ่ายได้ภายในปี 1999[5] อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบโดยละเอียดจะพบว่าชาวอิหร่านจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคไตระยะสุดท้ายไม่ได้รับการวินิจฉัย ไม่ได้รับการส่งไปเพื่อรับการฟอกไต และฉะนั้นจึงไม่มีสิทธิ์รับการปบูกถ่ายไตตั้งแต่แรก[6] แอแฮด ฆอดส์ (Ahad Ghods) จากโรงพยาบาลไตแฮเชมี เนแญด (Hashemi Nejad Kidney Hospital) ระบุว่า "นี่เป็นสาเหตุหลักว่าทำไมอิหร่านจึงประสบความสำเร็จในการกำจัดการรอคิวปลูกถ่ายไตได้อย่างรวดเร็ว"[7]

การควบคุม[แก้]

การค้าและซื้อไตนั้นดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่แบะองค์กรเพื่อการกุศล โดยมีผู้รับไตและรัฐบาลจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริจาคไต รวมถึงมีองค์กรการกุศลอื่น ๆ ที่คอยอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้กับผู้ต้องปลูกถ่ายไตแต่ขาดทุนทรัพย์[8]

องค์การการกุศลเพื่อการสนับสนุนผู้ป่วยไต (Charity Association for the Support of Kidney Patients; CASKP) และ มูลนิธิการกุศลเพื่อโรคพิเศษ (CFSD) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและแพทยศาสตร์ศึกษาเป็นผู้ควบคุมการค้าขายใตภายใน้การสนับสนุนของรัฐบาล โดยมีองค์กรทั้งสองเป็นผู้จับคู่ผู้ให้กับผู้รับ จัดการตรวจสอบทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อป้องกันไม่ให้มีความไม่โปร่งใสหรือการฉ้อโกงเกิดขึ้น รัฐบังมีมาตรการ “ไม่ให้สถานปลูกถ่ายหรือแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายเลือกผู้บริจาคไต”[5] ค่าตอบแทนของการบริจาคไตในอิหร่านแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ โดยทั่วไปอยู่ที่ 2,000 ถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 60,000 ถึง 120,000 บาท) ต่อการค้าไตหนึ่งข้าง[2] ในทางกลับกัน ไตหนึ่งข้างที่ค้าขายในตลาดมืดระดับโลก อาจราคาสูงได้ถึง 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ (4,800,000 บาท) ในบางกรณี[9]

มุมมองในศาสนาอิสลาม[แก้]

ในปี 1996 สถาบันนิติศาสตร์มุสลิมแห่งสหราชอาณาจักรเคยออกฟัตวาอนุญาตให้มีการปลูกถ่ายอวัยวะได้[10][11] ในฐานะการบริจาคเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sarvestani, Nima (October 31, 2006). "Iran's desperate kidney traders". This World. BBC. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  2. 2.0 2.1 "Psst, wanna buy a kidney?". Organ transplants. The Economist Newspaper Limited 2011. November 16, 2006. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  3. Schall, John A. (May 2008). "A New Outlook on Compensated Kidney Donations". RENALIFE. American Association of Kidney Patients. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2011.
  4. Einollahi B (April 2008). "Cadaveric kidney transplantation in Iran: behind the Middle Eastern countries?". Iran J Kidney Dis. 2 (2): 55–6. PMID 19377209.
  5. 5.0 5.1 Hippen, Benjamin E. (2008). "Organ Sales and Moral Travails: Lessons from the Living Kidney Vendor Program in Iran". Cato Policy Analysis Series (614). SSRN 1263380.
  6. Griffin A (March 2007). "Kidneys On Demand". BMJ. 334 (7592): 502–505. doi:10.1136/bmj.39141.493148.94. PMC 1819484. PMID 17347232.
  7. Ghods A (2006). "Iranian Model of Paid and Regulated Living-Unrelated Kidney Donation". Clin J Am Soc Nephrol. 1 (6): 1136–45. doi:10.2215/CJN.00700206. PMID 17699338.
  8. The Meat Market, The Wall Street Journal, Jan. 8, 2010.
  9. Martinez, Edecio (July 27, 2009). "Black Market Kidneys, $160,000 a Pop". CBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  10. Al-Khader AA (February 2002). "The Iranian transplant programme: comment from an Islamic perspective". Nephrol. Dial. Transplant. 17 (2): 213–5. doi:10.1093/ndt/17.2.213. PMID 11812868.
  11. "Organ Donation". UK Transplant. February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2011.
  12. "Islam and Organ Donation". NHS Blood and Transplant. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2011.