กางเขนอนุราธปุระ
กางเขนอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura cross) เป็นรูปแบบหนึ่งของสัญลักษณ์กางเขนในศาสนาคริสต์ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของคริสต์ศาสนาในประเทศศรีลังกา[1][2][3]
สัญลักษณ์
[แก้]กางเขนอนุราธปุระจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของกางเขนนักบุญธอมัส ซึ่งเป็นชนิดย่อยของกางเขนเนสเตอร์[nb 1] แต่ก็มีลักษณะเด่นบางประการ[2] ลักษณะสำคัญสามประการที่เหมือนกันกับกางเขนเนสเตอร์คือ "ใบไม้" ที่ฐาน ซึ่งแทน "ชีวพฤกษ์" ในพระคัมภีร์ไบเบิล, แขนแต่ละข้างของกางเขนมีปลายเป็นรูปไข่มุก ไข่มุกนี้เป็นธีมกลางของวรรณกรรมและประติมานวิทยาเพื่อการสักการะในคริสต์ศาสนาจารีตซีเรีย องค์ประกอบที่สามคือฐานสามขั้น ซึ่งแทนแดนสวรรค์ (paradise) สามชั้น, ชั้นสามชั้น (decks) ของหีบพันธสัญญา และขอบเขตทั้งสามของการยกรับเข้าสู่ไซนาย[5]
ประวัติศาสตร์
[แก้]กางเขนอนุราธปุระขุดค้นพบครั้งแรกในปี 1912 ขณะการขุดค้นทางโบราณคดีในอนุราธปุระ[6] แกะสลักเป็นประติมากรรมอยู่บนด้านหนึ่งของชิ้นส่วนของเสาหินแกรนิต ผู้ว่าการรมโบราณคดีซีลอน (Archaeological Commissioner of Ceylon) เอ็ดเวิร์ด อาร์. อายร์ทัน สรุปว่ากางเขนนี้เป็กางเขนของโปรตุเกส ในปี 1924 ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ว่ากรม อาร์เธอร์ มอริส ฮอเกิร์ต ทุ่มความพยายามไปกับการหาความหมายของกางเขนนี้และตีพิมพ์ไว้ใน Memoirs of the Archaeological Survey of Ceylon ว่าสิ่งนี้เป็น "กางเขนชนิดฟลอเร็ต ตั้งบนฐานที่มีขั้น ที่ซึ่งล้อมรอบด้วยฟรอนด์ในแต่บะด้านของกางเขนดังเช่นเขา"[6] และยังคงสรุปว่าเป็นกางเขนของโปรตุเกส[1][6] ทั้งสองถือว่ากางเขนนี้เป็นกางเขนเนสเตอร์หรือกางเขนเปอร์เซียจากสมัยใต้ปกครองโปรตุเกส มีหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งที่เสนอว่าคริสต์จักรอัสซีเรียแห่งโกตะวันออกอาจจะมีอยู่ในศรีลังกามาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ห้าถึงหกแล้ว[7][8][9] จึงเป็นที่เข้าใจกันว่ากางเขนนี้มาจากสมัยราชอาณาจักรอนุราธปุระ[10] และสำหรับกลุ่มเชื่อว่าเป็นกางเขนของโปรตุเกส ก็มีข้อคัดค้านทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่ว่าในเวลานั้น ชาวโปรตุเกสยังไม่มาปรากฏอยู่ในนครอนุราธปุระด้วยซ้ำ[1]
การประเมินข้อสรุปในปี 1926 โดยฮัมฟรี คอดริงตัน โดยอ้างหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารจากศตวรรษที่ 6 Christian Topography ซึ่งระบุว่าเป็นที่ทราบกันว่ามีชุมชนคริสต์ชนชาวเปอร์เซียอาศัยอยู่ใน "Taprobanê" (ขื่อกรีกโบราณของศรีลังกา) เขาเขียนไว้ในหนังสือ A Short History of Ceylon ว่า "พวกเราทราบถึงการมีอยู่ของชุมชนชาวเปอร์เซีย ในเมื่อราว ค.ศ. 500; กางเขนเนสเตอร์ (Nestorian cross) ซึ่งแทบจะไม่ต้องสงสัยว่าเป็นของชุมชนนี้ สามารถพบ[จัดแสดง]อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรุงอนุราธปุระ"[11][12] ในปี 1954 รองผู้ว่าการกรมโบราณคดีในเวลานั้น ทิทัส เทเวนทระ (Titus Devendra) ปฏิเสธความน่าเชื่อถือของเอกสาร Christian Topography และรุบว่ากางเขนนี้เป็นของโปรตุเกส อายุใหม่กว่าปี 1547[13] Academics however have since concluded that the Christian Topography is historically accurate.[14] ในปี 1984 การค้นพบทางโราณคดีที่มานตาอียืนยันถึงการมีอยู่ของชุมชนคริสต์ชนชาวเปอร์เซียในศรีลังกา ซึ่งในการค้นพบครั้งนั้นยังพบตราที่มีลายของกางเขนเนสเตอร์ ซึ่งมีลักษณะและรูปแบบละม้ายคล้ายคลึงกับกางเขนอนุราธปุระเป็นอย่างมาก[15]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Oswald Gomis, Emiretus (22 April 2011). "The Cross of Anuradhapura". Daily News. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Pinto, Leonard (20 September 2013). "A Brief History Of Christianity In Sri Lanka". Colombo Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ Antony, Thomas (29 February 2008). "Analogical review on Saint Thomas Cross- The symbol of Nasranis-Interpretation of the Inscriptions". Nasrani Syrian Christians Network. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ "The cross". nestorian.org. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
- ↑ Mihindukulasuriya, Prabo (2012). The 'Nestorian' cross and the Persian Christians in the Anuradhapura Period. Colombo: Colombo Theological Seminary. p. 41.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 A. M. Hocart, บ.ก. (1924). The Ratana Pãsãda, the Western Monasteries of Anuradhapura, Excavations in the Citadel, The so-called Tomb of King Duttagamani, Privy Stones. Archeological Department (Ceylon). pp. 51–52. ISBN 978-8-12-061093-4.
- ↑ "Mar Aprem Metropolitan Visits Ancient Anuradhapura Cross in Official Trip to Sri Lanka". Assyrian Church News. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ Weerakoon, Rajitha (26 June 2011). "Did Christianity exist in ancient Sri Lanka?". The Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
- ↑ "Main interest". Daily News. 22 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
- ↑ "Pioneer of inter religious dialogue". Daily News. 28 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
- ↑ Codrington, H. W. (1994). Short History of Ceylon. Asian Educational Services. p. 202. ISBN 9788120609464.
- ↑ Scott, Andrew (20 December 2009). "Christmas in ancient Sri Lanka". Sunday Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
- ↑ Devendra, Don Titus (1957). "The Date of the Anuradhapura Cross". Journal of the Royal Asiatic Society. Royal Asiatic Society. V: 85–96.
- ↑ D. P. M. Weerakkody (1997). Taprobanê: Ancient Sri Lanka as Known by Greeks and Romans (Indicopleustoi). Brepols Publishers. pp. 120–121. ISBN 978-2503505527.
- ↑ "Mar Aprem Metropolitan Visits Ancient Anuradhapura Cross in Official Trip to Sri Lanka". Assyrian Church News. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hocart, Arthur Maurice (1996). The Ratana Pāsāda, the Western Monasteries of Anuradhapura, Excavations in the Citadel, The so-called Tomb of King Duttagamani, Privy Stones (Reprint ed.). Asian Educational Services. ISBN 978-8-12-061093-4.
- Temporini, Hildegard (1982). Politische Geschichte (Provinzen und Randvölker: Sizilien und Sardinien; Italien und Rom; Allgemeines). Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-007175-7.
- Persian Christians in the Anuradhapura Period
- Comparison images of the crosses – Anuradhapura cross, St. Thomas’ cross (India), Nestorian cross (China), Portuguese cross (Colombo)