ข้ามไปเนื้อหา

กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือกัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 ในปี 2559
ประวัติ
ชื่อแมรสก์ วอเตอร์เฟิร์ด (2545–2549), ดานา ฮอลแลนเดีย (2549–2555), ซีตัส เจ. (2555–2558), ราห์เมห์ (2558–2562), กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 (2562–2563)
เจ้าของกัลฟ์เนวิเกชันโฮลดิง
อู่เรืออู่ต่อเรือเฮเกมันน์ โรลันด์แวรฟ์ท เมืองแบร์นเนอ ประเทศเยอรมนี
ปล่อยเรือ4 เมษายน 2545
เดินเรือแรก20 กันยายน 2545
Christened9 ธันวาคม 2545
สร้างเสร็จ9 ธันวาคม 2545
หยุดให้บริการ2 กันยายน 2563
รหัสระบุหมายเลขไอเอ็มโอ9262883
ความเป็นไปสูญหายในทะเล
สถานะสูญหาย สันนิษฐานว่าอับปาง
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท:
ขนาด (ตัน): 6,370 GT
8,372 DWT
ความยาว: 133.6 เมตร (438 ฟุต 4 นิ้ว)
ความกว้าง: 19.4 เมตร (63 ฟุต 8 นิ้ว)
ระบบขับเคลื่อน: 1 ใบพัด
ความเร็ว: 18 นอต (33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 21 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ลูกเรือ: 43

กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 (อังกฤษ: Gulf Livestock 1) เป็นเรือบรรทุกปศุสัตว์จดทะเบียนสัญชาติปานามา ซึ่งอับปางลงห่างไปทางตะวันตกของเกาะอามามิ โอชิมะ 100 ไมล์ทะเล (185 กม.) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นไมสัก[1]

เรือลำนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นเรือบรรทุกในชื่อ แมรสก์ วอเตอร์เฟิร์ด (Maersk Waterford) โดยอู่ต่อเรือเฮเกมันน์ โรลันด์แวรฟ์ท เมืองแบร์นเนอ ประเทศเยอรมนี[2] ได้รับการวางกระดูกงูในวันที่ 4 เมษายน 2545 ปล่อยลงน้ำในวันที่ 20 กันยายน และสร้างเสร็จในวันที่ 9 ธันวาคม[2] ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น ดานา ฮอลแลนเดีย (Dana Hollandia) ในปี 2549, ซีตัส เจ. (Cetus J.) ในปี 2555 และในปี 2558 ได้มีการเปลี่ยนประเภทของเรือเป็นเรือบรรทุกปศุสัตว์ในชื่อ ราห์เมห์ (Rahmeh)[2] และในปี 2562 ได้มีการเปลี่ยนชื่อครั้งสุดท้ายเป็น กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 (Gulf Livestock 1)[2] โดยมีตันกรอสของเรือ (gross tonnage) ที่ 6,370 ตันกรอส และมีระวางบรรทุกสูงสุด (deadweight tonnage) ที่ 8,372 ตันบรรทุกสูงสุด[2] มีความยาววัดได้ 133.6 เมตร (438 ฟุต 4 นิ้ว) มีความกว้าง 19.4 เมตร (63 ฟุต 8 นิ้ว) และมีเครื่องยนต์ดีเซลเครื่องเดียวในการให้พลังงาน ทำความเร็วได้ 18 นอต[2]

การเดินทางครั้งสุดท้าย

[แก้]

ในการเดินทางครั้งสุดท้าย เรือกัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 ได้บรรทุกปศุสัตว์ไปทั้งสิ้น 5,867 ตัว เป็นเรือในสังกัดของบริษัทกัลฟ์เนวิเกชันโฮลดิง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3] เรือเดินทางออกจากเมืองเนเพียร์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในวันที่ 14 สิงหาคม มีกำหนดถึงท่าเรือจิงถัง เมืองถังชาน ประเทศจีนในวันที่ 11 กันยายน 2563[4]

เรือได้ส่งสัญญาณฉุกเฉินจากทะเลจีนตะวันออก ทางตะวันตกของเกาะอามามิ โอชิมะของประเทศญี่ปุ่น ในเวลา 01:40 น. ของวันที่ 2 กันยายน 2563 ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น (16:40 UTC วันที่ 1 กันยายน 2563)[1][5] ผู้รอดชีวิตที่ได้รับการกู้ภัยเป็นคนแรก ระบุว่าเครื่องยนต์หลักเพียงเครื่องเดียวของเรือล้มเหลว ด้วยทะเลที่รุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นไมสัก จากนั้นเรือได้จมลงหลังจากถูกคลื่นซัด[3] โดยก่อนที่เรือจะอับปางลง กัปตันเรือวัย 34 ปีชาวฟิลิปปินส์ ได้ส่งข้อความไปบอกภรรยาทันที ว่าพายุไต้ฝุ่นอันเลวร้ายได้ทำให้เครื่องยนต์ของเรือล้มเหลว[6]

โดยบนเรือนั้นบรรทุกลูกเรือไปทั้งสิ้น 43 คน เป็นชาวฟิลิปปินส์ 39 คน ชาวนิวซีแลนด์ 2 คน และ ชาวออสเตรเลีย 2 คน ซึ่งชาวออสเตรเลียทั้งสองคนนั้นเป็นสัตวแพทย์และผู้จัดการสต็อก[5]

วันที่ 2 กันยายน มีการกู้ชีพหัวหน้าลูกเรือวัย 45 ปี ชาวฟิลิปปินส์ขึ้นมาได้อีกหนึ่งคนโดยรักษาความปลอดภัยชายฝั่งญี่ปุ่น[1] วันที่ 4 กันยายน มีการพบตัวลูกเรือคนที่สองซึ่งไม่มีการตอบสนองต่อหน่วยยามฝั่ง และเสียชีวิตลงไม่นานหลังจากได้รับการกู้ภัย[7] ในบริเวณเดียวกันนั้น ยังสามารถกู้ซากวัวขึ้นมาได้อีกหลายตัวรวมถึงเสื้อชูชีพอีกจำนวนหนึ่งด้วย[8] ผู้รอดชีวิตรายที่สอง เป็นกลาสีปากเรือ (deckhand) วัย 30 ปีชาวฟิลิปปินส์ที่อยู่ในแพชูชีพ ซึ่งได้รับการกู้ภัยในช่วงบายสองโมงของวันที่ 4 กันยายน[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "One rescued from sea, Kiwis still missing after live export ship that left Napier for China capsizes in storm". NZ Herald. 3 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Gulf Livestock 1 (9262883)". Miramar Ship Index. สืบค้นเมื่อ 4 September 2020.
  3. 3.0 3.1 "Cargo ship with 43 crew and nearly 6,000 cattle sank off Japan, survivor says". The Guardian. 3 กันยายน 2020.
  4. "Japanese coast guard looking for live export ship with 43 crew, thousands of cattle, missing during Typhoon Maysak". ABC News. 3 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2020.
  5. 5.0 5.1 Loomes, Phoebe; Khalil, Shireen (4 กันยายน 2020). "Australians caught on missing Gulf Livestock 1 ship after typhoon in Japan". news.com.au. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2020.
  6. Lema, Karen; Blaza, Peter (5 กันยายน 2020). "'I am praying': captain's texts tell of ordeal of capsized cattle ship". Reuters. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2020.
  7. 7.0 7.1 Sturmer, Jake (4 กันยายน 2020). "Japanese rescue crews find another survivor from missing live export ship". ABC News. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2020.
  8. "Japan coastguard says second person found from capsized cattle ship has died". The Guardian. 4 กันยายน 2020.