กวาวเครือแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวาวเครือแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Butea
สปีชีส์: B.  superba
ชื่อทวินาม
Butea superba
Roxb.

กวาวเครือแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Butea superba Roxb. เป็นพืชในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae ชื่ออื่นๆคือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง เป็นพืชที่มีหัวใต้ดิน รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา [1] สารออกฤทธิ์ในกวาวเครือแดงเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอลและฟลาโวนอยด์[2]

ความเป็นพิษ[แก้]

พืชชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นยาเช่นเดียวกับกวาวเครือขาว แต่มีพิษมาก รับประทานมากจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มึนเมา คลื่นไส้อาเจียน มีพิษเมามากกว่ากวาวเครือขาว ชายไทยเชื่อว่าพืชชนิดนี้ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศได้[3]การศึกษาความเป็นพิษในหนูวิสตาร์เพศผู้พบว่าหนูที่รับผงกวาวเครือแดงในขนาด 200 มก./กก/วัน ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง [1]หนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำเข้มข้น 0.5 และ 5 มก./มล. เป็นเวลา 21 วัน ทำให้น้ำหนักตัวของหนูแรท และปริมาณอสุจิเพิ่มขึ้น และหนูแรทที่ได้รับสารสกัดเอทานอลเข้มข้น 5 มก./มล. 21 วัน มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของต่อมลูกหมาก และความยาวขององคชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หนูแรทมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น แต่ผลของกวาวเครือแดงในระยะยาว และในปริมาณสารสกัดที่มากขึ้น พบว่าทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายของหนูแรทลดลง และปริมาณเอนไซม์ตับสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้[4]

การใช้ประโยชน์[แก้]

กวาวเครือแดงในตำรายาไทย หัว บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต ผสมรากสมุนไพรอื่นอีกแปดชนิดเรียกว่า พิกัดเนาวโลหะ ใช้แก้โรคดี เสมหะ ลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ ดับพิษ ถอนพิษ ชำระล้างลำไส้ แก้โรคตับ แก้ลม ขับระดูร้าย สมานลำไส้ เปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 กวาวเครือแดง-ฐานข้อมูลเครื่องยา
  2. Roengsamran S, Petsom A, Ngamrojanavanich N, Rugsilp T, Sittiwichienwong P, Khorphueng P, และคณะ (2000). "Flavonoid and flavonoid glycoside from Butea superba Roxb. and their cAMP phosphodiesterase inhibitory activity". J Sci Res Chula Univ. 25: 169–76.
  3. Suntara A. The remedy pamphlet of Kwao Krua tuber of Luang Anusarnsuntarakromkarnphiset. Chiang Mai, Thailand: Chiang Mai Upatipongsa Press; 1931.
  4. พิชานันท์ ลีแก้ว.2553. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. ใน จุลสารข้อมูลสมุนไพร 28 (1):12-13.