กวางเรนเดียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กวางเรนเดียร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีน 620,000 ปีก่อน[1] ถึงปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Odocoileinae
สกุล: Rangifer
Smith, 1827
สปีชีส์: R.  tarandus
ชื่อทวินาม
Rangifer tarandus
(Linnaeus, 1758)
แผนที่กระจายพันธุ์

กวางเรนเดียร์ หรือ กวางแคริบู (อังกฤษ: reindeer, caribou; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rangifer tarandus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่จำพวกกวาง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rangifer ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์

มีนิสัยดุร้าย มีลักษณะคล้ายคลึงกับกวางเอลก์ จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดของแคนาเดียนทุนดรา ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 60–170 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 162– 205 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า มีน้ำหนักประมาณ 100–318 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 180–214 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 14– 20 เซนติเมตร ตัวผู้ที่มีอายุมากจะผลิเขาในเดือนธันวาคม ตัวผู้ที่อายุน้อยจะผลิเขาในฤดูใบไม้ผลิ ส่วนตัวเมียจะผลิเขาในฤดูร้อน เขาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เขาที่อยู่สูงกว่า และเขาที่อยู่ต่ำกว่า เขากวางเรนเดียร์ตัวผู้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกวางมูส คือ กว้างประมาณ 100 เซนติเมตร ยาวประมาณ 135 เซนติเมตร ถือเป็นกวางที่มีขนาดเขาใหญ่ที่สุดในโลก [3]ขนตามลำตัวยามปกติจะมีสีน้ำตาล แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ขนจะเปลี่ยนไปเป็นสีอ่อนขึ้น หรือสีขาว

กวางเรนเดียร์ มีกีบเท้าที่แยกออกเป็น 2 ง่ามชัดเจน ใช้สำหรับว่ายน้ำ โดยว่ายได้เร็วถึง 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง[3] และเมื่อเดินกระดูกตรงข้อเท้าและเส้นเอ็นจะทำให้เกิดเสียงไปตลอด สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อติดต่อกับระหว่างฝูงในยามที่อยู่ในที่ ๆ ภาวะวิสัยมองเห็นไม่ชัด เช่น ยามเมื่อหิมะตกหนัก เป็นต้น[4] นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวในโลกที่สามารถมองเห็นรังสีอัลตราไวโอเลตได้[3]

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่กรีนแลนด์, อเมริกาเหนือแถบแคนาดาและอลาสกา, สแกนดิเนเวีย จนถึงออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา ใน สันนิษฐานว่ากวางเรนเดียร์ที่กระจายพันธุ์ในจีนอพยพมาจากไซบีเรียเมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว จากการศึกษาพบว่าประชากรของกวางเรนเดียร์ในจีนลดลงถึงร้อยละ 28 จาก ปี ค.ศ. 1970 เนื่องจากถูกแยกออกเป็นฝูงเล็ก ๆ ทำให้มีตัวเลือกน้อยในการผสมพันธุ์และแพร่ขยายพันธุ์ ในปี ค.ศ. 2012 พบกวางเรนเดียร์ในจีนเหลืออยู่เพียง 33 ฝูงเท่านั้น[5] โดยจำนวนประชากรกวางเรนเดียร์ที่พบในธรรมชาติมากที่สุดในโลกพบที่คาบสมุทรไครเมียในรัสเซีย และจำนวนที่เหลืออยู่ประมาณ 600,000 ตัว โดยลดฮวบจากในอดีตอย่างมาก สาเหตุหลักเกิดจากอุณหภูมิที่ถิ่นที่อยู่อาศัยร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส, การคุกคามจากมนุษย์, ไฟป่า รวมถึงโรคระบาดจากยุง[6]

กวางเรนเดียร์ เป็นกวางชนิดที่ใช้เป็นสัตว์พาหนะลากรถเลื่อนรวมถึงซานตาคลอสด้วย[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kurtén, Björn (1968). "Pleistocene Mammals of Europe". Transaction Publishers: 170–. ISBN 978-1-4128-4514-4. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Gunn, A. (2016). "Rangifer tarandus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T29742A22167140. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 TUNDRA, "Wildest Arctic" . สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2556
  4. EPISODE 5, " Untamed China with Nigel Marven". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556
  5. "TV 360°: ข่าวเช้าวันใหม่". ช่อง 3. 23 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
  6. หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, ประชากรกวางเรนเดียร์ลดฮวบน่าใจหาย. "ทันโลก". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21527: วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก
  7. ["Time for Nature (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20. Time for Nature (อังกฤษ)]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]