กฤษณา โกห์ลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาชิกวุฒิสภา
กฤษณา โกห์ลี
ڪرشنا ڪوهلي
สมาชิกวุฒิสภาปากีสถาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม 2018
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1979-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 (45 ปี)
นครปาร์การ์ แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน
เชื้อชาติปากีสถาน
พรรคการเมืองพรรคประชาชนปากีสถาน
ญาติวีรจี โกหลี (พี่/น้องชาย), รูปโล โกหลี (ทวด)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสินธ์
ชื่อเล่นกีชูบาอี (Kishoo Bai)[1]

กฤษณา กุมารี โกห์ลี (สินธ์: ڪرشنا ڪماري ڪولھي อูรดู: کرشنا کماری کولہی; Krishna Kumari Kolhi, เกิด 1 กุมภาพันธ์ 1979) หรือรู้จักในชื่อเล่น กีชูบาอี (Kishoo Bai) เป็นนักการเมืองชาวปากีสถาน สมาชิกวุฒิสภาปากีสถานตั้งแต่มีนาคม 2018 เธอเป็นสตรีทลิตชาวฮินดูคนแรก และสตรีชาวฮินดูคนที่สองที่ได้เป็นวุฒิสมาชิกของปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีและเรียกร้องให้ยกเลิกระบบทาสจากหนี้ เธอได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 สตรีแห่งปี 2018 โดยบีบีซี[2]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

โกห์ลีเกิดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979[3] ในครอบครัวชาวโกลีที่ยากจน[4] ในนครปาร์การ์[5] สมัยที่เธอยังเรียนอยู่ระดับชั้นเกรด 3 (เทียบเท่า ป.3) ครอบครัวและตัวเธอเองถูกจับขังเป็นเวลาสามปีเพื่อเป็นทาสในพื้นที่คุมขังของเจ้าของที่ดินนายหนึ่งในอำเภออูเมร์โกต[6][5] ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวหลังตำรวจเข้าบุกค้น เธอเข้าเรียนในช่วงต้นที่อำเภออูเมร์โกต ก่อนที่จะย้ายไปเรียนในอำเภอมีรปุรขาส[3]

เธอแต่งงานเมื่ออายุได้ 16 ปี ในปี 1994 ขณะเรียนอยู่ระดับชั้นเกรด 9 (เทียบเท่า ม.3)[3] เธอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และในปี 2013 ได้รับปริญญาโทสาขาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยสินธ์[5]

ในปี 2007 เธอเข้าร่วมค่ายฝึกผู้นำเยาวชนด้านสิทธิมนุษยชนเมเหร์ครห์ครั้งที่สาม (third Mehergarh Human Rights Youth Leadership Training Camp) ในอิสลามาบาดที่เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับรัฐบาลของปากีสถาน, การอพยพย้ายถิ่นของผู้คนทั่วโลก, การวางแผนยุทธศาสตร์ และเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม[3]

อาขีพการเมือง[แก้]

โกหลีเข้าร่วมพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) ในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องสิทธิชนชายขอบในภูมิภาคทาร์ (Thar), สิทธิสตรี, ต่อต้านระบบทาสจากหนี้ และต่อต้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน[6] ในปี 2018 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกปากีสถานในการเลือกตั้งปี 2018 ในฐานะผู้สมัครขากพรรค PPP ในแคว้นสินธ์[7][8] และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 12 มีนาคม 2018[9] เธอเป็นสตรีทลิตชาวฮินดูคนแรกที่ได้เป็นวุฒิสมาชิก และเป็นสตรีฮินดูคนที่สองต่อจากรัตนา ภควันทาส เชาวลา[6]

ในปี 2018 บีบีซีขึ้นชื่อเธอเป็นหนึ่งใน 100 สตรีแห่งปี[2]

หลังเหตุการณ์โจมตีมนเทียรการาก ได้มีการเสนอร่างรัฐบัญญัติ "ว่าด้วยการปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา" ("Protection of the Rights of Religious Minorities Bill") ในวุฒิสภา แต่ถูกระงับไปโดยคณะกรรมาธิการของพรรค Jamiat Ulema-e-Islam (F) (JUI-F) โดยวุฒิสมาชิก Abdul Ghafoor Haideri ในการประชุมครั้งนั้น กฤษณาเดินออกจากห้องประชุมเพื่อแสดงการประท้วงการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Agha, Bilal (15 March 2018). "Living Colours: 'My first priority is health, education of Thari women'". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  2. 2.0 2.1 Images Staff (19 November 2018). "Pakistani senator Krishna Kumari named in BBC's 100 Women 2018 list". Images. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "In historic first, a Thari Hindu woman has been elected to the Senate". DAWN.COM. 4 March 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  4. Current Affairs January 2019 eBook Hindi: by Jagran Josh (ภาษาฮินดี). Jagran Prakashan Ltd.
  5. 5.0 5.1 5.2 Samoon, Hanif (4 February 2018). "PPP nominates Thari woman to contest Senate polls on general seat". Dawn. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 Dawood Rehman (3 March 2018). "Krishna Kumari becomes first Hindu Dalit woman senator of Pakistan". Daily Pakistan Global.
  7. "LIVE: PML-N-backed independent candidates lead in Punjab, PPP in Sindh - The Express Tribune". The Express Tribune. 3 March 2018. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  8. Khan, Iftikhar A. (4 March 2018). "PML-N gains Senate control amid surprise PPP showing". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  9. "Senate elect opposition-backed Sanjrani chairman and Mandviwala his deputy". The News (ภาษาอังกฤษ). 12 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  10. "Senate panel 'turns down' bill on minorities rights". The Tribune. 2 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.