กระบวนการซุปเปอร์จีน
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กระบวนการซุปเปอร์จีน (อังกฤษ: Supergene) หรือ กระบวนการเกิดแหล่งแร่สมบูรณ์ยิ่งยวด[1] คือกระบวนการที่แร่ปฐมภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิบรรยากาศโดยกระบวนการผุพังโดยน้ำ ทำให้ได้แร่ปริมาณมาก เกิดเป็นแหล่งแร่ขึ้น
แร่ปฐมภูมิ ในกระบวนการซุปเปอร์จีน
[แก้]กระบวนการ
[แก้]แร่ซัลไฟด์ในหินผ่านกระบวนการผุพังโดยน้ำ เช่นน้ำฝน ตัวแร่ก็จะถูกชะล้างซึมลงสู่ใต้ดิน และเกิดกระบวนการออกซิเดชั่น กลายเป็นซัลเฟต รวมทั้งเกิดการตกผลึกใหม่เกิดเป็นแร่ทุติยภูมิ ปริมาณแร่มีเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยการขึ้นลงของระดับน้ำใต้ดินเป็นตัวการในการเพิ่มปริมาณแร่ ในสภาวะ Oxidation - Reduction สลับกันไปเรื่อยๆ จนอาจสามารถเป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจได้
โซน (Zone) ของกระบวนการซุปเปอร์จีน
[แก้]สามารถแบ่งได้หลายแบบดังนี้
- แบ่งตามชนิดของแร่ที่ตกผลึกใหม่ (Crystalline)
- Gossan zone เป็นโซนที่ไม่หลงเหลือแร่ซัลไฟด์อยู่เนื่องจากมันถูกชะล้างลงไปด้านล่างโดยน้ำฝนแล้ว คงเหลือเพียงแร่ควอตซ์ และดีบุกซึ่งมีการสะสมตัวแบบลานแร่ เนื่องจากกระบวนการผุงพัง
- Zone of Oxidized Enrichment เป็นโซนที่อยู่ใต้ระดับน้ำบาดาล (Water Table) มีการเกิดOxidation อยู่ตลอดเวลา ประกอบไปด้วยแร่จำพวกคาร์บอเนต (Carbonate) เช่นแร่มาลาไคต์ (Malachite) แร่อาซูไรต์ (Azurite) แร่สมิตโซไนต์ (Smithsonite) แร่คิวไปรต์ (Cuprite) เป็นต้น
- Zone of Secondary Enrichment เป็นโซนที่อยู้ลึกลงไปอีก มีสภาพเสมือนเป็น Reducing Zone คือมีปริมาณ อ๊อกซิเจนน้อยมาก ในโซนนี้แร่คอปเปอร์ (Copper) จะเกิดการตกผลึกใหม่ เกิดแร่จำพวก โคเวลไลต์ (Covellite) แร่ชาลโคไซต์ (Chalcocite) เป็นต้น
- แบ่งตามชนิดของแหล่งแร่
- Tin Zone โซนแร่ดีบุก มักมีการสะสมตัวแบบลานแร่
- Copper Zone โซนแร่คอปเปอร์ โดยได้แร่ที่มีปริมาณมากเนื่องจากเกิดการตกผลึกใหม่ภายใต้สภาวะ Reduction
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พงศ์ศักดิ์ วิชิต. การกำเนิดแร่. กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี. 2524.