กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์
ภาพถ่ายทางรังสีแสดงการหักแบบเมซอเนิฟว์ของกระดูกฟิบูลาตอนต้น
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์
อาการบวมรอบด้านมีเดียลและลาเทอรอลของข้อเท้า, ปวดขณะหมุนเท้าออกนอก
ภาวะแทรกซ้อนกระดูกและข้ออักเสบ, เส้นประสาทเพอโรเนียลบาเดเจ็บ
สาเหตุการหมุนเท้าออกอย่างจังและรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงการบาดเจ็บจากกีฬา, การล้ม, อุบัติเหตุยานยนต์
วิธีวินิจฉัยการตรวจร่างกาย, ภาพถ่ายทางรังสี, เอ็กซ์เรย์, CT, MRI, การส่องกล้องเข้าข้อ
โรคอื่นที่คล้ายกันการบาดเจ็บของทิบิโอฟิบูลาร์ซินเดสโมซิสเท่านั้น, การหักของกระดูกฟิบูลาเท่านั้น
การรักษาการทำคาสต์ทางออร์โทพีดิกส์, ORIF, CRIF

กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์ (อังกฤษ: Maisonneuve fracture) เป็นการหักรูปเกลียวของปลายหนึ่งในสามตอนบนของกระดูกฟิบูลา ที่เกี่ยวข้องกัลการฉีกขาดของทิบิโอฟิบูลาร์ซินเดสโมซิสตอนปลาย และเนื้อเยื่ออินเทอรอสซัส นอกจากนี้ยังสามารถมีการหักร่วมของมีเดียลมัลเลโอลัส และการฉีกขาดของเส้นเอ็นเดลตอยด์ในข้อเข่า การบาดเจ็บลักษณะนี้อาจยากในการตรวจพบ[1][2]

กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์โดยทั่วไปเป็นผลจากแรงหมุนออกนอกอย่างรุนแรงเข้าที่เส้นเอ็นเดลตอยด์และซินเดสโมซิส ด้วยเหตุนี้ กระดูกหักลักษณะนี้จึงอาจบรรยายว่าเป็นการบาดเจ็บแบบโปรเนชั่น-เอ็กซ์เทอร์นอลโรเทชั่นตามการจัดประเภทแบบเลาก์-ฮันเซิน[3] และสามารถจัดเป็นการหักของข้อเท้าประเภท Type C ตามการจัดประเภทแบลเคลาส์-วีเบอร์[4]

กระดูกหักแบบเมซอเนิฟว์มีความคล้ายกันกับกระดูกหักแบบกาเลอัซซี ในลักษณะที่มีการรบกวนเส้นเอ็นที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันกับการหักของกระดูก[5] ชื่อของกระดูกหักนี้ตั้งตามศัลแพทย์ชาวฝรั่งเศส ฌูเลส การ์แม็ง ฟรังซัว เมซอเนิฟว์[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, F. C. (2000). Fractures of the ankle: pathogenesis and treatment. J South Orthop Assoc. 9(2):105-115.
  2. Thordarson, D. B. (1996). Detecting and treating common foot and ankle fractures: Part 1: the ankle and hindfoot. Phys Sportsmed. 24(9): 29-38.
  3. Lauge-Hansen, N. (1950). Fractures of the ankle. II. Combined experimental-surgical and experimental-roentgenologic investigations. Arch Surg. 60(5): 957- 985.
  4. Sproule, J. A., Khalid, M., O’Sullivan, M., & McCabe, J. P. (2004). Outcome after surgery for Maisonneuve fracture of the fibula. Injury. 35(8): 791-798.
  5. Atesok, K. I., Jupiter, J. B., & Weiss, A. P. (2011). Galeazzi fracture. J Am Acad Orthop Surg. 19(10): 623-633.
  6. Stufkens, S. A., van den Bekerom, M. P. J., Doornberg, J. N., Niek van Dijk, C., & Kloen, P. (2011). Evidence-Based Treatment of Maisonneuve Fractures. J Foot Ankle Surg. 50(1): 62-67.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก