กระดูกหักแบบสมิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหักแบบสมิธ
ชื่ออื่นรีเวิร์สคอลลิสซิสแฟรกเชอร์, กระดูกหักแบบกอยแรนด์-สมิธ (Goyrand-Smith's)
กระดูกหักแบบสมิธ
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์

กระดูกหักแบบสมิธ (อังกฤษ: Smith's fracture) เป็นการหักของกระดูกเรเดียสส่วนปลาย[1]

กระดูกหักแบบสมิธสามารถเกิดได้จากการมีแรงกระแทกโดยตรง (direct blow) เข้าที่ปลายแขนทางดอร์ซอล (dorsal forearm)[2] หรือจากการล้มเอาข้อมือลงในท่างอเข้าใน (wrist flexed) กระนั้น กลไกการเกิดการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดสำหรับกระดูกหักแบบสมิธเกิดจากการล้มเอาฝ่ามือลงประกอบกับข้อมือเกิดมีการงอเข้าไปทางดอร์ซอล (slightly dorsiflexed) เล็กน้อย[3] กระดูกหักแบบสมิธสามารถพบได้น้อยกว่ากระดูกหักแบบคอลลิส

กระดูกที่หักส่วนปลาย (distal) จะเคลื่อนออกไปทางวอลาร์และไปทางเวนทรอล (volarly ventrally) ซึ่งตรงกันข้ามกันกับกระดูกหักแบบคอลลิสที่ซึ่งกระดูกส่วนที่หักจะเคลื่อนไปทางดอร์ซอล (dorsally) กระดูกสามารถแตกเป็นชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น และสามารถแตกไปถึงพื้นผิวข้อของข้อมือหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรง

มีรายงานพบกลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะส่วนแบบซับซ้อน (Complex regional pain syndrome) ได้มากถึง 40%[4] ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัดรวมถึงการแตกละเอียดทางดอร์ซอลหรือวอลาร์ (dorsal or volar comminution), มีการแตกในข้อ (intra-articular involvement), ผู้ป่วยไม่คงที่หลังทำรีดักชั่น (instability post-reduction), การหักทำมุมมากกว่า 20 องศา (angulation greater than 20 degrees), หากเคลื่อนเป็นขั้นของพื้นผิวออกมากเกิน 2 มิลลิเมตร (surface step-off over 2mm) หรือ การหกสั้นของกระดูกเรดียสไปมากกว่า 5 มิลลิเมตร[4]

ชื่อของรูปแบบกระดูกหักนี้ตั้งตามศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รอเบิร์ต วิลเลียม สมิธ (1807–1873) ในหนังสือของเขา A Treatise on Fractures in the Vicinity of Joints, and on certain forms of Accidents and Congenital Dislocations (แปล: ตำราความเรียงว่าด้วยกระดูกหักในอาณาบริเวณของข้อต่อและว่าด้วยการเคลื่อนของกระดูกบางรูปแบบจากอุบัติเหตุและที่เป็นโดยกำเนิด) ตีพิมพ์ปี 1847[5]

การจำแนก[แก้]

ระบบการจำแนกที่นิยมใช้สำหรับกระดูกเรดียลทางดิสทอลหักคือระบบฟรีกแมน ซึ่งจำแนกดังนี้[6]

  • ชนิด I: นอกข้อ (Extra-articular)
  • ชนิด II: ชนิด I ที่กระดูกอัลนาทางดิสทอล (distal ulna) หักด้วย
  • ชนิด III: มีการหักของข้อต่อเรดิโอคาร์พัลด้วย (Radiocarpal joint involvement)
  • ชนิด IV: ชนิด III ที่กระดูกอัลนาทางดิสทอล (distal ulna) หักด้วย
  • ชนิด V: มีการหักของข้อต่อเรดิโออัลนาร์ทางดิสทอลด้วย (Distal radioulnar joint involved)
  • ชนิด VI: ชนิด V ที่กระดูกอัลนาทางดิสทอล (distal ulna) หักด้วย
  • ชนิด VII: ทั้งข้อเรดิโอคาร์พัล (Radiocarpal) และเรดิโออัลนาร์ทางดิสทอล (distal radioulnar) หักด้วย
  • ชนิด VIII: ชนิด VII ที่กระดูกอัลนาทางดิสทอล (distal ulna) หักด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomas CL (1993). Taber's Cyclopedic Medical Dictionary (18th ed.). F.A. Davis. ISBN 0-8036-0194-8.
  2. Stead LG, Stead SM, Kaufman MS (2006). First Aid: Emergency Medicine (2nd ed.). McGraw-Hill. ISBN 0-07-144873-X.
  3. Matsuura Y, และคณะ (2017). "Smith's fracture generally occurs after falling on the palm of the hand". Journal of Orthopaedic Research. 35 (11): 2435–2441. doi:10.1002/jor.23556. PMID 28262985. S2CID 23989625.
  4. 4.0 4.1 Schroeder JD, Varacallo M (2019). "Smith's Fracture Review". StatPearls. StatPearls Publishing. PMID 31613494. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  5. synd/2150 ใน Who Named It?
  6. Shehovych A, Salar O, Meyer C, Ford DJ (November 2016). "Adult distal radius fractures classification systems: essential clinical knowledge or abstract memory testing?". Annals of the Royal College of Surgeons of England. 98 (8): 525–531. doi:10.1308/rcsann.2016.0237. PMC 5392888. PMID 27513789.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก