กระดูกหักแบบกาเลอัซซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหักและเคลื่อนแบบกาเลอัซซี
กระดูกหักแบบกาเลอัซซี ปลายลูกศรชี้ส่วนหัวของกระดูกอับนาร์ที่เคลื่อน
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์

กระดูกหักแบบกาเลอัซซี (อังกฤษ: Galeazzi fracture) เป็นการหักของส่วนปลายหนึ่งในสามของกระดูกเรดียสพร้อมการเคลื่อนของข้อต่อดิสทอลเรดิโออัลนาร์ การบาดเจ็บนี้ส่งผลรบกวนแกนของปลายแขน[1] อาการมักประกอบด้วยอาการเจ็บและการบวมของเนื้อเยื่อบุที่จุดเกิดกระดูกหัก การวินิจฉัยยืนยันโดยการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา การบาดเจ็บนี้อาจเกี่ยวข้องกับภาวะคอมพาร์ตเมนต์ และอาจพบภาวะอัมพาตของเส้นประสาทระหว่างสะดูกส่วนหน้า (Anterior interosseous nerve; AIN) ร่วมด้วย กระนั้นมักไม่วินิจฉัยพบเนื่องจากเส้นประสาทกังกล่าวไม่มีหน้าที่ในการรับรู้ (sensory component) และเป็นเส้นประสาทสั่งการอย่างเดียว การบาดเจ็บของเส้นประสาทนี้สามารถนำไปสู่ภาวะภาวะอัมพาตของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์พอลลีซิสลองกัส และเฟล็กเซอร์ดีจีทอรัมโพรฟันดันซึ่งควบคุมนิ้วชี้ นำไปสู่การเสียความสามารถในการจีบนิ้วโป้งกับนิ้วชี้เข้าด้วยกัน บางครั้งกระดูกหักแบบกาเลอัซซีอาจพบข้อมือตกร่วมด้วย อันเนื่องมาจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทเรเดียล

การเคลื่อนของส่วนหัวของกระดูกอัลนาร์สามารถไปในทางดอร์ซอล (dorsal; พบมากกว่า) หรือทางวอลาร์ (volar; พบน้อย) ขึ้นอยู่กับกลไกการบาดเจ็บ หากมือข้างที่ล้มลงโดนกำลังกางออก (outstretched) และต้นแขนอยู่ในท่าโพรเนต (pronation) การเคลื่อนจะไปในทิศดอร์ซอล แต่ถ้าต้นแขนอยู่ในท่าซูพายน์ (supination) การเคลื่อนจะไปในทิศวอลาร์[2]

การรักษาดีที่สุดคือการโอเพนรีดักชั่น (open reduction) ที่กระดูกเรเดียส และข้อเรดิโออัลนาร์ส่วนปลาย[3]

ชื่อของกระดูกหักนี้ตั้งตาม รีการ์โด กาเลอัซซี (1866–1952) ศัลยแพทย์ชาวอิตาลีที่สถาบันราชีติซี (Instituto de Rachitici) ในมิลาน ผู้บรรยายการหักของกระดูกนี้ในปี 1934[1] กระนั้น มีผู้บรรยายถึงการหักของกระดูกนี้ครั้งแรกในปี 1842 โดยคูเพอร์ (Cooper) 92 ปีก่อนหน้า[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Ertl, MD, Janos P (December 4, 2007). "Galeazzi Fracture". eMedicine.com. สืบค้นเมื่อ 6 November 2009.
  2. Kim S, Ward JP, Rettig ME. Galeazzi fracture with volar dislocation of the distal radioulnar joint. Am J Orthop (Belle Mead NJ) 2012;41:E152-4.
  3. Hughston, JC (April 1957). "Fracture of the distal radial shaft; mistakes in management". J Bone Joint Surg Am. 39-A (2): 249–64. doi:10.2106/00004623-195739020-00002. PMID 13416321.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก