กฎผู้เล่นท้องถิ่น (อังกฤษ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎผู้เล่นท้องถิ่น (อังกฤษ: Homegrown Player Rule) เป็นความคิดริเริ่มของพรีเมียร์ลีกอังกฤษ เพื่อให้ผู้เล่นในประเทศได้รับการพัฒนาจากยุคก่อนหน้านี้มากขึ้น โดยหวังว่าจะได้รับการดูแลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของแผนประสิทธิภาพผู้เล่นระดับสูงของลีก พรีเมียร์ลีกเสนอให้แต่ละทีม มีผู้เล่นที่ไม่ใช่ "ผู้เล่นท้องถิ่น" สูงสุด 17 คน และมีขนาดทีมสูงสุด 25 คน ซึ่งหมายความว่าใน 25 คนต้องมีผู้เล่นท้องถิ่นอย่างน้อยแปดคน[1][2] เกร็ก ไดก์ อดีตประธานสมาคมฟุตบอล ต้องการบังคับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับผู้เล่นต่างชาติ โดยความตั้งใจของเขาคือช่วยให้อังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ตามที่เขาระบุไว้ในบทนำ[3]

ข้อเสนอที่สำคัญที่สุดบางส่วนของไดก์ ในปี 2015 ได้แก่ :

  • ผู้เล่นท้องถิ่นในทีม 25 คนจะเพิ่มขึ้นจากแปดคนเป็น 12 คน[1] มีสองคนที่ต้องมาจากระบบทีมเยาวชน
  • การกำหนดคำจำกัดความของการเป็นผู้เล่นท้องถิ่นให้กระชับมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เล่นต่างชาติที่ผ่านคุณสมบัติ จะมีน้อยลง

ผู้เล่นต่างชาติ ผู้เล่นท้องถิ่น[แก้]

ในปัจจุบัน การจัดประเภทเป็นผู้เล่นท้องถิ่น ต้องอยู่ในทีมอังกฤษอย่างน้อยสามปีก่อนอายุยี่สิบเอ็ด[4] ซึ่งไดก์ต้องการลดเหลือสิบแปดปี นั่นหมายความว่าเด็กจะต้องเริ่มต้นที่สโมสรเมื่ออายุสิบห้าเป็นอย่างช้า และเนื่องจากผู้เล่นไม่ได้รับอนุญาตให้ย้ายข้ามเขตแดนของประเทศก่อนอายุสิบหก (ยกเว้นในกรณีพิเศษ) นั่นหมายถึงผู้เล่นต่างชาติที่ผ่านคุณสมบัติ จะมีน้อยลง

แต่ละฤดูกาล พรีเมียร์ลีกจะแสดงรายชื่อทีมของแต่ละสโมสรประจำฤดูกาลในวันที่ 1 กันยายน (หลังปิดตลาดซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อน[5]) แต่ละสโมสรสามารถลงทะเบียนผู้เล่นทีมชุดใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษหรือชาวเวลส์ และไม่ได้อยู่ในระบบทีมเยาวชนของอังกฤษหรือเวลส์ได้มากถึง 17 คน รวมทั้งมีผู้เล่นท้องถิ่นจำนวนเท่าใดก็ได้ที่มีขนาดสูงสุดไม่เกิน 25 คน รวมทั้งไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นจากทีมเยาวชน และผู้เล่นอายุต่ำกว่า 21 ปี ตัวอย่าง เช่น รายชื่อในปี 2017[2] มีผู้เล่นท้องถิ่นจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นชาวอังกฤษหรือชาวเวลส์โดยกำเนิดหรือผ่านคุณสมบัติ ซึ่งรวมถึงแซ็สก์ ฟาบรากัส, ปอล ป็อกบา, โรเมลู ลูกากู และเอกตอร์ เบเยริน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Gibson, Owen. "FA Chief Greg Dyke Plans to Get Tough on Overseas-player Quotas". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
  2. 2.0 2.1 "Squads for Premier League 2017/18 confirmed". Premier League. สืบค้นเมื่อ 2018-04-12.
  3. Dyke, Greg. "Greg Dyke: 'Give young talent a chance … and we can win 2022 World Cup'". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2015-12-14.
  4. "This 'home-grown' Prem XI have 309 caps between them - but not one for England". mirror. สืบค้นเมื่อ 2015-12-14.
  5. "Summer Football Transfer Window Information Premier League". Premier League. สืบค้นเมื่อ 2018-04-12.