กฎของเบนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปร่างโมเลกุลของน้ำ แสดงมุมระหว่างพันธะ 104.5° ซึ่งห่างออกไปจากมุนในอุดมคติของ sp3 ที่ประมาณ 109.5°

ในวิชาเคมี กฎของเบนต์ (อังกฤษ: Bent's rule) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างออร์บิทัลไฮบริไดเซชันของอะตอมแกนกลางในโมเลกุลกับอิเล็กโทรเนกาติวิตีของหมู่แทนที่[1][2] กฎของเบนต์ได้รับการนำเสนอโดยเฮนรี เอ. เบนต์ ว่า:[2]

สมบัติ s เชิงอะตอมจะอยู่รวมกันมากในออร์บิทัลที่หันไปทางหมู่แทนที่มีสภาพไฟฟ้าเป็นบวก
Atomic s character concentrates in orbitals directed toward electropositive substituents.

กฎของเบนต์ได้รับการเสนอให้ใช้แทนทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์สำหรับการอธิบายโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบอย่างง่ายเนื่องจากมีผลการทดลองสนับสนุนและสอดคล้องกับทฤษฎีสมัยใหม่อื่น สำหรับอะตอมในคาบด้านล่างของตารางธาตุ มีผู้เสนอต่อจากเบนต์ว่าแนวโน้มของออร์บิทัลไฮบริไดเซชันของพันธะที่อะตอมกลางมีกับหมู่แทนที่จะขึ้นอยู่กับค่าสภาพไฟฟ้าลบและขนาดของออร์บิทัลของหมู่แทนที่[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Weinhold, F.; Landis, C. L. (2005), Valency and Bonding: A Natural Donor-Acceptor Perspective (1st ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-83128-4
  2. 2.0 2.1 Bent, H. A. (1961), "An appraisal of valence-bond structures and hybridization in compounds of the first-row elements", Chem. Rev., 61 (3): 275–311, doi:10.1021/cr60211a005
  3. Alabugin, I. V.; Bresch, S.; Manoharan, M. (2014). "Hybridization Trends for Main Group Elements and Expanding the Bent's Rule Beyond Carbon: More than Electronegativity". J. Phys. Chem. A. 118 (20): 3663–3677. doi:10.1021/jp502472u. PMID 24773162.