ข้ามไปเนื้อหา

กฎของสแน็ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กฎของสแน็ล–เดการ์ต)
แผนผังของกฎของสเนลล์

กฎของสแน็ล (Snell's law) เป็นกฎที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบและมุมหักเหในปรากฏการณ์การหักเหของคลื่นโดยทั่วไป เรียกอีกอย่างว่า กฎการหักเห (law of refraction) กฎนี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการของเฮยเคินส์

คำนิยาม

[แก้]

ให้ความเร็วคลื่นในตัวกลาง A เป็น ความเร็วคลื่นในตัวกลาง B เป็น มุมตกกระทบจากตัวกลาง A ไปยังตัวกลาง B (หรือมุมหักเหจาก B ไปยัง A) เป็น มุมตกกระทบจากตัวกลาง B ไปยังตัวกลาง A (หรือมุมหักเหจาก A ไปยัง B) เป็น แล้ว จะได้ความสัมพันธ์ดังนี้

ในที่นี้ นิยามเป็น "ดัชนีหักเหสัมพัทธ์ของตัวกลาง B เทียบกับตัวกลาง A" และเขียนใหม่เป็น (หรือ )

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ทอเลมี ชาวกรีกแห่งอเล็กซานเดรีย[1] ได้พบความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบและการหักเหของแสง แต่มีความไม่ถูกต้องเมื่อมุมมีขนาดใหญ่ แม้ว่าทอเลมีจะมั่นใจว่าเขาได้พบกฎที่แน่นอนจากการทดลองแล้ว แต่เขาก็ได้ทำการปลอมแปลงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎี (ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน)[2] อิบน์ อัลฮัยษัมเกือบจะค้นพบกฎการหักเหของแสงจากหนังสือของเขาในปี ค.ศ. 1021 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการค้นพบ

กฎการหักเหของแสงได้รับการอธิบายอย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกในบทความปี ค.ศ. 984 โดย อิบน์ ซาห์ล แห่ง แบกแดด[3][4] ซาห์ลใช้กฎนี้ในการคำนวณรูปร่างของเลนส์ที่ปราศจากความคลาดทางเรขาคณิต[5]

กฎการหักเหของแสงถูกค้นพบอีกครั้งโดย ทอมัส แฮริออต ในปี 1602[6] แม้ว่าแฮริออตจะเขียนจดหมายติดต่อกับโยฮันเนิส เค็พเพลอร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผลลัพธ์นี้ก็ไม่เคยถูกเผยแพร่ หลังจากนั้น วิลเลอบรอร์ท สแน็ล ชาวดัตช์ ได้ค้นพบกฎนี้ด้วยตัวเองในปี 1621 แต่ก็ไม่ได้เผยแพร่ในช่วงชีวิตของเขา

ที่ฝรั่งเศส เรอเน เดการ์ตก็ได้เผยแพร่ผลงานตีพิมพ์ในปี 1637 ซึ่งได้พิสูจน์และอธิบายหลักการเดียวกันนี้ อย่างไรก็ตาม ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ไม่ยอมรับการพิสูจน์ของเดการ์ต และได้อธิบายด้วยหลักการของแฟร์มา ซึ่งได้ผลลัพธ์เดียวกัน แฟร์มายังได้กล่าวหาว่าเดการ์ตลอกเลียนแบบบทความของสแน็ล

ทุกวันนี้ ในภาษาฝรั่งเศส กฎของสแน็ลถูกเรียกว่า กฎของเดการ์ต (Lois de Descartes) หรือ กฎของสแน็ล–เดการ์ต (Lois de Snell–Descartes)

ในปี ค.ศ. 1678 คริสตียาน เฮยเคินส์ ได้แสดงให้เห็นว่ากฎของสแน็ลเกิดขึ้นจากธรรมชาติของคลื่นของแสงได้อย่างไร โดยใช้หลักการของเฮยเคินส์

อ้างอิง

[แก้]
  1. David Michael Harland (2007). "Cassini at Saturn: Huygens results". p.1. ISBN 0-387-26129-X
  2. "Ptolemy (ca. 100-ca. 170)". Eric Weinstein's World of Scientific Biography. สืบค้นเมื่อ 2011-11-16.
  3. Wolf, K. B. (1995), "Geometry and dynamics in refracting systems", European Journal of Physics 16: 14–20.
  4. Rashed, Roshdi (1990). "A pioneer in anaclastics: Ibn Sahl on burning mirrors and lenses". Isis. 81 (3): 464–491. doi:10.1086/355456.
  5. Sara Cerantola, "La ley física de Ibn Sahl: estudio y traducción parcial de su Kitāb al-ḥarraqāt / The physics law of Ibn Sahl: Study and partial translation of his Kitāb al-ḥarraqāt เก็บถาวร 2012-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Anaquel de Estudios Árabes, 15 (2004): 57-95.
  6. Kwan, A., Dudley, J., and Lantz, E. (2002). "Who really discovered Snell's law?". Physics World. 15 (4): 64.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)