ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชอร์ล็อก โฮมส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
โฮล์มส์มีพี่ชายหนึ่งคนคือ ไมครอฟต์ โฮล์มส์ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับครอบครัวของเขา นอกจากในเรื่องสั้น "ล่ามภาษากรีก" ซึ่งโฮล์มส์เอ่ยถึงย่าของตนว่าเป็นน้องสาวของ[[เวอร์เน่ต์]] (Vernet) ศิลปินชาว[[ฝรั่งเศส]] โฮล์มส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุขัดแย้งจนทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮล์มส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮล์มส์ผู้นั้นมีชื่อว่า [[ไอรีน อัดเลอร์]]
โฮล์มส์มีพี่ชายหนึ่งคนคือ ไมครอฟต์ โฮล์มส์ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับครอบครัวของเขา นอกจากในเรื่องสั้น "ล่ามภาษากรีก" ซึ่งโฮล์มส์เอ่ยถึงย่าของตนว่าเป็นน้องสาวของ[[เวอร์เน่ต์]] (Vernet) ศิลปินชาว[[ฝรั่งเศส]] โฮล์มส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุขัดแย้งจนทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮล์มส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮล์มส์ผู้นั้นมีชื่อว่า [[ไอรีน อัดเลอร์]]


[[ภาพ:Bakerstreet london.JPG|thumb|200px|พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ บนถนนเบเกอร์]]
==ความนิยม และอิทธิพลต่องานอื่น==
==ความนิยม และอิทธิพลต่องานอื่น==
{{โครงส่วน}}
===ความนิยมในประเทศอังกฤษ===
===ความนิยมในประเทศอังกฤษ===
เรื่องสั้น ''เชอร์ล็อก โฮล์มส์'' ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก
เรื่องสั้น ''เชอร์ล็อก โฮล์มส์'' ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง<ref name="221B">[http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2004/01/11/AR2005041501841.html ''SHERLOCK HOLMES 101''] จาก Washingtonpost.com</ref> กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก


ปี ค.ศ. 1894 เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดพล็อตนิยายได้ยากขึ้น และต้องการจะหันเหแนวทางการเขียนไปด้านอื่น เขาได้เขียนเรื่องสั้น "The Final Problem" ให้เชอร์ล็อก โฮล์มส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮล์มส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮล์มส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า จนในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว "หมาผลาญตระกูล" ออกมาในปี ค.ศ. 1902 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง "หมาผลาญตระกูล" เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮล์มส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง
ปี ค.ศ. 1894 เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดพล็อตนิยายได้ยากขึ้น และต้องการจะหันเหแนวทางการเขียนไปด้านอื่น เขาได้เขียนเรื่องสั้น "The Final Problem" ให้เชอร์ล็อก โฮล์มส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮล์มส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮล์มส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า จนในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว "หมาผลาญตระกูล" ออกมาในปี ค.ศ. 1902 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง "หมาผลาญตระกูล" เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮล์มส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง
บรรทัด 50: บรรทัด 48:
ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้ง '''สมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์''' ขึ้นในกรุงลอนดอน และ '''หน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์''' ก็ตั้งขึ้นในกรุง[[นิวยอร์ก]] สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่นๆ อีก เช่นใน[[เดนมาร์ก]] [[อินเดีย]] และ[[ญี่ปุ่น]]
ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้ง '''สมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์''' ขึ้นในกรุงลอนดอน และ '''หน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์''' ก็ตั้งขึ้นในกรุง[[นิวยอร์ก]] สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่นๆ อีก เช่นใน[[เดนมาร์ก]] [[อินเดีย]] และ[[ญี่ปุ่น]]


[[ภาพ:Bakerstreet london.JPG|thumb|200px|พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ บนถนนเบเกอร์]]
===พิพิธภัณฑ์===
===พิพิธภัณฑ์===
ระหว่างงานเทศกาลใหญ่ในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1951 มีการก่อสร้างห้องนั่งเล่นของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ เพื่อแสดงใน''นิทรรศการเชอร์ล็อก โฮล์มส์'' โดยจำลองของสะสมของโฮล์มส์และองค์ประกอบต่างๆ ตามที่มีระบุในนิยาย หลังปิดงานนิทรรศการ ข้าวของเหล่านั้นนำไปเก็บไว้ที่ผับเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ในกรุงลอนดอน และบางส่วนนำไปเก็บไว้กับพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของโคนัน ดอยล์ ในเมืองลูเซนส์ ประเทศ[[สวิตเซอร์แลนด์]] ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 มีการก่อตั้ง '''พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์''' ที่บ้านเลขที่ 239 ถนนเบเกอร์ในกรุงลอนดอน และที่เมืองไมริงเกน ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปีต่อมา แต่พิพิธภัณฑ์สองแห่งนี้แสดงข้อมูลของโคนัน ดอยล์ มากกว่าข้อมูลของโฮล์มส์
ระหว่างงานเทศกาลใหญ่ในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1951 มีการก่อสร้างห้องนั่งเล่นของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ เพื่อแสดงใน''นิทรรศการเชอร์ล็อก โฮล์มส์'' โดยจำลองของสะสมของโฮล์มส์และองค์ประกอบต่างๆ ตามที่มีระบุในนิยาย หลังปิดงานนิทรรศการ ข้าวของเหล่านั้นนำไปเก็บไว้ที่ผับเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ในกรุงลอนดอน และบางส่วนนำไปเก็บไว้กับพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของโคนัน ดอยล์ ในเมืองลูเซนส์ ประเทศ[[สวิตเซอร์แลนด์]] ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 มีการก่อตั้ง '''พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์''' ที่บ้านเลขที่ 239 ถนนเบเกอร์ในกรุงลอนดอน<ref name="221B" /> และที่เมืองไมริงเกน ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปีต่อมา แต่พิพิธภัณฑ์สองแห่งนี้แสดงข้อมูลของโคนัน ดอยล์ มากกว่าข้อมูลของโฮล์มส์


พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่ "221 บี ถนนเบเกอร์" นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในโลกที่ตั้งขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย
พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่ "221 บี ถนนเบเกอร์" นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในโลกที่ตั้งขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย

===อิทธิพล===
ภาพลักษณ์ของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ คือการสวมเสื้อคลุม หมวก และคาบไปป์ กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบ ภาพยนตร์และละครหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักสืบมักแต่งตัวตามอย่างโฮล์มส์เช่นนี้ และยังมีนวนิยายแนวสืบสวนอีกหลายเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจาก เชอร์ล็อก โฮล์มส์ โดยตรง เช่น

* หนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง ''[[โคนันยอดนักสืบ]]'' ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์ค่อนข้างมาก ทั้งบุคลิกของตัวละครหลัก และชื่อของตัวละครที่นำมาจากชื่อกลางของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์

* ตัวละครหลักในละครทีวีเรื่อง ''House M.D.'' คือ เกรกอรี่ เฮ้าส์ ก็ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทั้งในส่วนที่ชมชอบการใช้ยา และมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อแก้ปัญหาที่คนอื่นแก้ไม่ได้ เฮ้าส์ใช้เทคนิคเดียวกันกับโฮล์มส์ในการตรวจวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยของเขา เพื่อนสนิทของเฮ้าส์คือ ดร.เจมส์ วิลสัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากชื่อที่คล้ายกันคือ เฮ้าส์-โฮล์มส์ กับ เจมส์ วิลสัน-จอห์น วัตสัน นอกจากนี้ ยังมีตัวละครที่ชื่อ มอริอาตี้ ปรากฏตัวในตอนสุดท้ายของซีซันที่สอง และเกือบจะสังหารเฮ้าส์ได้สำเร็จ


==การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น==
==การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น==
บรรทัด 59: บรรทัด 65:


==รายชื่อผลงานในชุด==
==รายชื่อผลงานในชุด==
ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง
===ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง===
* แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1887
* แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1887
* จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1890
* จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1890
บรรทัด 65: บรรทัด 71:
* หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1914–1915
* หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1914–1915


ชุดเรื่องสั้น
===ชุดเรื่องสั้น===
แต่เดิมลงพิมพ์เป็นตอน ต่อมามีการรวมเล่มเป็นห้าชุด ได้แก่
แต่เดิมลงพิมพ์เป็นตอน ต่อมามีการรวมเล่มเป็นห้าชุด ได้แก่



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:14, 11 กุมภาพันธ์ 2551

เชอร์ล็อก โฮมส์

เชอร์ล็อก โฮล์มส์ (Sherlock Holmes) เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยนักเขียนและนายแพทย์ชาวสก็อต คือ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริศต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดีต่างๆ

โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 54 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮล์มส์ คือ ดร. จอห์น เอช. วัตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮล์มส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี ค.ศ. 1887 และ Lippincott's Monthly Magazine ในปี ค.ศ. 1890 แต่หลังจากที่ชุดเรื่องสั้นลงพิมพ์เป็นคอลัมน์ประจำใน Strand Magazine เมื่อปี ค.ศ. 1891 นิยายเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นพลุ เหตุการณ์ในนิยายอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1878 ถึง 1903 และคดีสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ. 1914

ความเป็นมา

โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล นายแพทย์อาวุโสสามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งมาก และนำความสามารถนั้นมาเป็นองค์ประกอบหลักของนิยายของเขา นายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย[1]

ลักษณะตัวละคร

นิสัยและบุคลิก

เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีชื่อเต็มว่า วิลเลียม เชอร์ล็อก สก๊อต โฮล์มส์ เป็นชาวโบฮีเมีย มีนิสัยรักสันโดษ แต่ก็ยังไม่สันโดษเท่าพี่ชาย คือ ไมครอฟต์ โฮล์มส์ ที่คอยช่วยเหลือเขาในบางคดี โฮล์มส์มีความรู้รอบตัวในหลาย ๆ ด้านทั้ง เคมี ฟิสิกส์ เเละความรู้เกี่ยวกับพืชมีพิษตระกูลต่าง ๆ เเต่เขาไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์เลย และเขายังเก่งเรื่องเล่นไวโอลิน

หมอวัตสัน เป็นคู่หูของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ และเป็นหมอชันสูตรศพด้วย ส่วนใหญ่เขาชอบใช้ปืนพกชนิดรีโวลเวอร์ ส่วนเชอร์ล็อก โฮล์มส์ จะใช้วิชาดาบ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ชอบเรียกหมอวัตสัน เวลาทำคดีต่างๆ บางทีเวลา เชอร์ล็อก โฮล์มส์ วางแผน หมอวัตสันยังไม่รู้เลย เขามีอารมณ์แปลกๆ บางครั้งก็เศร้าซึม พูดน้อย บางครั้งก็ร่าเริง เขามีศัตรูตัวฉกาจชื่อ ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ ศาสตราจารย์ผู้มีมันสมองปราดเปรื่องในด้านอาชญากรรม อีกทั้งยังเป็นตัวการเบื้องหลังในบางคดีที่เกิดขึ้นอีกด้วย คำพูดที่ติดปากกันดีคือ "When you have eliminated the impossible,whatever remains,however improbable,must be the truth. ถ้าเราตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ว่ามันจะดูเหลือเชื่อเพียงใด แต่มันก็เป็นความจริง"

ความรู้และทักษะ

ในเรื่องยาว แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หมอวัตสันเคยประเมินทักษะต่างๆ ของโฮล์มส์ไว้ดังนี้

  1. ความรู้ด้านวรรณกรรม — ศูนย์
  2. ความรู้ด้านปรัชญา — ศูนย์
  3. ความรู้ทางดาราศาสตร์ — ศูนย์
  4. ความรู้ด้านการเมือง — น้อยมาก
  5. ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ — ไม่แน่นอน ชำนาญพิเศษด้านพืชมีพิษและฝิ่น แต่ไม่มีความรู้ด้านการทำสวนเลย
  6. ความรู้ด้านธรณีวิทยา — ชำนาญ แต่มีข้อจำกัด สามารถบอกความแตกต่างระหว่างดินแต่ละชนิด เช่นหลังจากออกไปเดินเล่น สามารถระบุตำแหน่งที่ได้รับรอยเปื้อนดินบนกางเกงได้ว่ามาจากส่วนไหนของลอนดอน โดยดูจากสีและลักษณะของดิน
  7. ความรู้ด้านเคมี — ยอดเยี่ยม
  8. ความรู้ด้านกายวิภาค — แม่นยำ แต่ไม่เป็นระบบ
  9. ความรู้ด้านวรรณกรรมโลดโผน — กว้างขวาง ดูเหมือนจะรู้จักเหตุสะเทือนขวัญอย่างละเอียดทุกเรื่องในรอบศตวรรษ
  10. เล่นไวโอลินได้ดีมาก
  11. เป็นนักมวยและนักดาบ
  12. มีความรู้กฎหมายอังกฤษเป็นอย่างดี

ถิ่นที่อยู่

บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์

ตามท้องเรื่อง โฮล์มส์และหมอวัตสันรู้จักกันครั้งแรก เนื่องจากต่างต้องการหาผู้ร่วมเช่าห้องพักอยู่ด้วยกันในกรุงลอนดอนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ห้องพักที่ทั้งสองเช่าเป็นบ้านของมิสซิสฮัดสัน ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ โดยพวกเขาเช่าพื้นที่ชั้นสองของบ้าน ส่วนมิสซิสฮัดสันอาศัยอยู่ชั้นล่าง และทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารเช้าให้พวกเขาด้วย หมอวัตสันเคยย้ายออกจากบ้านเช่านี้ไปเมื่อคราวแต่งงาน ทว่าหลังจากภริยาเสียชีวิต หมอวัตสันก็ย้ายกลับมาอยู่กับเชอร์ล็อก โฮล์มส์อีก

ครอบครัว และความรัก

โฮล์มส์มีพี่ชายหนึ่งคนคือ ไมครอฟต์ โฮล์มส์ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับครอบครัวของเขา นอกจากในเรื่องสั้น "ล่ามภาษากรีก" ซึ่งโฮล์มส์เอ่ยถึงย่าของตนว่าเป็นน้องสาวของเวอร์เน่ต์ (Vernet) ศิลปินชาวฝรั่งเศส โฮล์มส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุขัดแย้งจนทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮล์มส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮล์มส์ผู้นั้นมีชื่อว่า ไอรีน อัดเลอร์

ความนิยม และอิทธิพลต่องานอื่น

ความนิยมในประเทศอังกฤษ

เรื่องสั้น เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง[2] กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก

ปี ค.ศ. 1894 เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดพล็อตนิยายได้ยากขึ้น และต้องการจะหันเหแนวทางการเขียนไปด้านอื่น เขาได้เขียนเรื่องสั้น "The Final Problem" ให้เชอร์ล็อก โฮล์มส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮล์มส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮล์มส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า จนในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว "หมาผลาญตระกูล" ออกมาในปี ค.ศ. 1902 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง "หมาผลาญตระกูล" เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮล์มส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง

จนในที่สุด โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องสั้นชุด "คืนชีพ" (The Return of Sherlock Holmes) ในปี ค.ศ. 1904 เป็นการตอบคำถามว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ยังไม่ตาย และหลังจากนั้นเขาก็แต่งเรื่องยาวและเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง

สมาคม

ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้ง สมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ขึ้นในกรุงลอนดอน และ หน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์ ก็ตั้งขึ้นในกรุงนิวยอร์ก สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่นๆ อีก เช่นในเดนมาร์ก อินเดีย และญี่ปุ่น

พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ บนถนนเบเกอร์

พิพิธภัณฑ์

ระหว่างงานเทศกาลใหญ่ในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1951 มีการก่อสร้างห้องนั่งเล่นของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ เพื่อแสดงในนิทรรศการเชอร์ล็อก โฮล์มส์ โดยจำลองของสะสมของโฮล์มส์และองค์ประกอบต่างๆ ตามที่มีระบุในนิยาย หลังปิดงานนิทรรศการ ข้าวของเหล่านั้นนำไปเก็บไว้ที่ผับเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ในกรุงลอนดอน และบางส่วนนำไปเก็บไว้กับพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของโคนัน ดอยล์ ในเมืองลูเซนส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 มีการก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่บ้านเลขที่ 239 ถนนเบเกอร์ในกรุงลอนดอน[2] และที่เมืองไมริงเกน ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปีต่อมา แต่พิพิธภัณฑ์สองแห่งนี้แสดงข้อมูลของโคนัน ดอยล์ มากกว่าข้อมูลของโฮล์มส์

พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่ "221 บี ถนนเบเกอร์" นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในโลกที่ตั้งขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย

อิทธิพล

ภาพลักษณ์ของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ คือการสวมเสื้อคลุม หมวก และคาบไปป์ กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบ ภาพยนตร์และละครหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักสืบมักแต่งตัวตามอย่างโฮล์มส์เช่นนี้ และยังมีนวนิยายแนวสืบสวนอีกหลายเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจาก เชอร์ล็อก โฮล์มส์ โดยตรง เช่น

  • หนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง โคนันยอดนักสืบ ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์ค่อนข้างมาก ทั้งบุคลิกของตัวละครหลัก และชื่อของตัวละครที่นำมาจากชื่อกลางของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์
  • ตัวละครหลักในละครทีวีเรื่อง House M.D. คือ เกรกอรี่ เฮ้าส์ ก็ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทั้งในส่วนที่ชมชอบการใช้ยา และมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อแก้ปัญหาที่คนอื่นแก้ไม่ได้ เฮ้าส์ใช้เทคนิคเดียวกันกับโฮล์มส์ในการตรวจวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยของเขา เพื่อนสนิทของเฮ้าส์คือ ดร.เจมส์ วิลสัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากชื่อที่คล้ายกันคือ เฮ้าส์-โฮล์มส์ กับ เจมส์ วิลสัน-จอห์น วัตสัน นอกจากนี้ ยังมีตัวละครที่ชื่อ มอริอาตี้ ปรากฏตัวในตอนสุดท้ายของซีซันที่สอง และเกือบจะสังหารเฮ้าส์ได้สำเร็จ

การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น

รายชื่อผลงานในชุด

ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง

  • แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1887
  • จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1890
  • หมาผลาญตระกูล (The Hound of the Baskervilles) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารสแตรนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1901–1902)
  • หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ช่วงปี ค.ศ. 1914–1915

ชุดเรื่องสั้น

แต่เดิมลงพิมพ์เป็นตอน ต่อมามีการรวมเล่มเป็นห้าชุด ได้แก่

  • The Adventures of Sherlock Holmes
  • The Memoirs of Sherlock Holmes
  • The Return of Sherlock Holmes
  • His Last Bow
  • The Case-Book of Sherlock Holmes

อ้างอิง

  1. 1992 Reader's Digest (Australia) PTY LTD (A.C.N. 000565471)
  2. 2.0 2.1 SHERLOCK HOLMES 101 จาก Washingtonpost.com

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA