โจเซฟ คอนราด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจเซฟ คอนราด
คอนราดในปีค.ศ.1904
ภาพถ่ายโดยจอร์จ ชาร์ล เบเรสฟอร์ด
เกิดJózef Teodor Konrad Korzeniowski
3 ธันวาคม ค.ศ. 1857(1857-12-03)
Berdychiv, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต3 สิงหาคม ค.ศ. 1924(1924-08-03) (66 ปี)
Bishopsbourne, เคนต์, อังกฤษ
ที่ฝังศพสุสานแคนเทอร์เบอรี, แคนเทอร์เบอรี
อาชีพนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น
สัญชาติโปแลนด์
พลเมืองอังกฤษ
ช่วงเวลา1895–1923: นวยุคนิยม
แนวเรื่องอ่านเล่น
ผลงานที่สำคัญThe Nigger of the 'Narcissus' (1897)
หัวใจมืด (1899)
Lord Jim (1900)
Typhoon (1902)
Nostromo (1904)
The Secret Agent (1907)
Under Western Eyes (1911)
คู่สมรสเจสซี จอร์จ
บุตร2

ลายมือชื่อ

โจเซฟ คอนราด (อังกฤษ: Joseph Conrad) มีชื่อเกิดว่า ยูแซฟ แตออดอร์ กอนรัต กอแชญอฟสกี (โปแลนด์: Józef Teodor Konrad Korzeniowski; 3 ธันวาคม ค.ศ. 1857 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1924) เป็นนักเขียนชาวบริติช-โปแลนด์ เกิดที่เมืองแบร์ดือชิวในจักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) เมื่อ ค.ศ. 1857 และกลายเป็นเด็กกำพร้าด้วยวัย 12 ปี เด็กชายยูแซฟจึงย้ายไปอยู่กับลุงที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่หลังจากนั้นไม่นานได้เข้าทำงานกับบริษัทเดินเรือพาณิชย์แห่งฝรั่งเศส และต่อมาก็บริษัทเดินเรือพาณิชย์ของอังกฤษ ซึ่งเขาได้เป็นกัปตันเรือของตนเองในที่สุด ภายหลังได้รับสัญชาติอังกฤษ เขาเปลี่ยนชื่อเป็นโจเซฟ คอนราด เมื่ออายุ 36 ปี เขาเลิกออกทะเลและตั้งหลักปักฐานในอังกฤษ แต่งงาน มีบุตรชายสองคน รวมทั้งเริ่มต้นอาชีพการประพันธ์อันมีมนต์สะกด โดยผลงานที่เด่น ๆ ของเขาคือ Almayer’s Folly (ค.ศ. 1895), The Heart of Darkness (ค.ศ. 1902), Nostromo (ค.ศ. 1904) และ Lord Jim (ค.ศ. 1907) เป็นอาทิ คอนราดได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักเขียนผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีลีลายอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมา ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่สามของเขา รองลงมาจากภาษาโปแลนด์และฝรั่งเศสก็ตาม และตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เขาก็ยังพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงแปร่ง ๆ ตามแบบชาวต่างชาติ เขาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายใน ค.ศ. 1924

คำคม : The belief in a supernatural source of evil is not necessary; men alone are quite capable of every wickedness. (ความเชื่อเรื่องที่มาของความชั่วร้ายเหนือธรรมชาตินั้นไม่จำเป็น มนุษย์สามารถทำเรื่องเลวทรามได้ทุกอย่างด้วยตัวเองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว)[ต้องการอ้างอิง]

ผลงาน[แก้]

นวนิยาย[แก้]

  • Almayer's Folly (ค.ศ. 1895)
  • An Outcast of the Islands (ค.ศ. 1896)
  • The Nigger of the 'Narcissus' (ค.ศ. 1897)
  • Heart of Darkness (ค.ศ. 1899)
  • Lord Jim (ค.ศ. 1900)
  • The Inheritors (ค.ศ. 1901) ร่วมกับ Ford Madox Ford
  • Typhoon (ค.ศ. 1902)
  • Romance (ค.ศ. 1903) ร่วมกับ Ford Madox Ford
  • Nostromo (ค.ศ. 1904)
  • The Secret Agent (ค.ศ. 1907)
  • Under Western Eyes (ค.ศ. 1911)
  • A Personal Record (ค.ศ. 1912)
  • Chance (ค.ศ. 1913)
  • Victory (ค.ศ. 1915)
  • The Shadow Line (ค.ศ. 1917)
  • The Arrow of Gold (ค.ศ. 1919)
  • The Rescue (ค.ศ. 1920)
  • The Nature of a Crime (ค.ศ. 1923) ร่วมกับ Ford Madox Ford
  • The Rover (ค.ศ. 1923)

เรื่องสั้น[แก้]

  • The Idiots (ค.ศ. 1896)
  • The Black Mate (ค.ศ. 1908)
  • The Lagoon (ค.ศ. 1897)
  • An Outpost of Progress (ค.ศ. 1897)
  • The Return (ค.ศ. 1898)
  • Karain: A Memory (ค.ศ. 1897)
  • Falk (ค.ศ. 1903)
  • Amy Foster (ค.ศ. 1901)
  • To-morrow (ค.ศ. 1902)
  • Gaspar Ruiz (ค.ศ. 1906)
  • An Anarchist (ค.ศ. 1906)
  • The Informer (ค.ศ. 1906)
  • The Brute (ค.ศ. 1906)
  • The Duel (หรือ The Point of Honor ค.ศ. 1908)
  • Il Conde (ค.ศ. 1908)
  • The Secret Sharer (ค.ศ. 1912)
  • Prince Roman (ค.ศ. 1911)
  • A Smile of Fortune (ค.ศ. 1911)
  • Freya of the Seven Isles (ค.ศ. 1912)
  • The Warrior's Soul (ค.ศ. 1917)
  • The Tale (ค.ศ. 1917)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย