อำเภออาจสามารถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภออาจสามารถ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe At Samat
คำขวัญ: 
เจ้าพ่อมเหศักดิ์ลือเลื่อง เมืองเดิมสระบุศย์ ที่สุดพระธาตุเมืองเก่า ตำนานเล่าเจ้าแม่นางหิน ท้องถิ่นหลวงปู่เสือ มากเหลือกุ้งกราม คือนามอาจสามารถ
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภออาจสามารถ
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภออาจสามารถ
พิกัด: 15°50′37″N 103°52′44″E / 15.84361°N 103.87889°E / 15.84361; 103.87889
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่
 • ทั้งหมด454.441 ตร.กม. (175.461 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด73,717 คน
 • ความหนาแน่น162.22 คน/ตร.กม. (420.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45160
รหัสภูมิศาสตร์4514
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออาจสามารถ ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 45160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาจสามารถ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด 34 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

อำเภออาจสามารถตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีนายอำเภอท่านแรกคือ ขุนมัณฑลานุการ(ชม) อำเภออาจสามารถ แต่เดิมนั้นชื่อ อำเภอสระบุศย์ ซึ่งตั้งตามชื่อลักษณะของหนองน้ำ ที่อยู่หลังที่ว่าการอำเภอ (ปัจจุบันหนองน้ำนี้มีชื่อว่า หนองหูลิง) แต่ก่อนนั้นหนองน้ำแห่งนี้ มีดอกบัวสีแดงขึ้นอยู่เต็ม เมื่อตั้งอำเภอครั้งแรกจึงขนานนามว่า อำเภอสระบุศย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ร.ต.ท.อุ่ม ภมรสูตร นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าราษฏรส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ เนื่องจากขาดการศึกษาไม่กระตือรือร้นในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดความร่วมมือ ร่วมใจในการพัฒนาทั้งต่อกิจการของราษฏรด้วยกันเองและกับทางราชการจะประกอบการสิ่งสดก็ไม่สำเร็จ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ราษฏรตื่นตัว และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภออาจสามารถในปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภออาจสามารถตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[1]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภออาจสามารถแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 139 หมู่บ้าน ได้แก่

ตำบลของอำเภออาจสามารถ
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร [a] [2]
1 อาจสามารถ At Samat 17 10,913
2 โพนเมือง Phon Mueang 17 9,235
3 บ้านแจ้ง Ban Chaeng 9 5,537
4 หน่อม Nom 13 6,936
5 หนองหมื่นถ่าน Nong Muen Than 17 9,178
6 หนองขาม Nong Kham 19 10,308
7 โหรา Hora 14 7,682
8 หนองบัว Nong Bua 10 4,187
9 ขี้เหล็ก Khilek 12 4,671
10 บ้านดู่ Ban Du 11 5,545
รวม 139 74,192
  1. ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภออาจสามารถประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอาจสามารถ
  • เทศบาลตำบลโพนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอาจสามารถ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแจ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแจ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน่อมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมื่นถ่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหมื่นถ่านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโหราทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขี้เหล็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดู่ทั้งตำบล

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาจสามารถมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ป่าไม้เป็นป่าโปร่ง ลักษณะดินปนทราย และมีฝนตกน้อย ป่าสงวนในเขตอำเภอมีสองแห่ง ได้แก่ ป่าคำใหญ่-คำขวาง มีพื้นที่ 17,431 ไร่ และป่าดงหนองกล้า มีพื้นที่ 6,562 ไร่ เป็นป่าโปร่ง ส่วนแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอนี้ คือ แม่น้ำชี ลำห้วยยางเฌอ และลำห้วยไส้ไก่

ประชากร[แก้]

ประชากรทั้งสิ้น 75,463 คน เป็นชาย 37,667 คน และหญิง 37,796 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 15,968 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและหัตถกรรม

ชาวอำเภออาจสามารถที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
  2. กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08.