บอบบี ฟิชเชอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอบบี ฟิชเชอร์
ฟิชเชอร์ในปี ค.ศ. 1972
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2486
ชิคาโก อิลลินอย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต17 มกราคม พ.ศ. 2551 (64 ปี)
เรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
สัญชาติสหรัฐ สหรัฐอเมริกา
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์

บ็อบบี ฟิชเชอร์ หรือ โรเบิร์ต เจมส์ ฟิชเชอร์ (อังกฤษ: Robert James Fischer; 9 มีนาคม พ.ศ. 248617 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นนักหมากรุกชาวอเมริกันเชื้อสายยิว-เยอรมัน ที่มีพรสวรรค์และอุทิศตัวให้กับเกมหมากรุก จนถึงระดับที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักหมากรุกที่เก่งที่สุดตลอดกาล.[1][2] บ็อบบี ฟิชเชอร์ เคยเป็นทั้งแชมป์หมากรุกอเมริกา และแกรนด์มาสเตอร์หมากรุกที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมา (นับถึงช่วงเวลานั้น) ฟิชเชอร์ได้ฉายแววความอัจฉริยะในทักษะหมากรุกของตนตั้งแต่อายุยังน้อย. เกมที่ฟิชเชอร์เล่นชนะ โดนัล เบิร์น (Donald Byrne) ในปี ค.ศ. 1956 ในขณะที่ฟิชเชอร์อายุได้เพียง 13 ปี ได้รับการขนานนามว่าเป็น "เกมหมากรุกแห่งศตวรรษ" (Game of the Century) นอกจากนี้ บ็อบบี ฟิชเชอร์ ยังเป็นชาวอเมริกันเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นแชมป์โลกหมากรุกสากลอย่างเป็นทางการ (ก่อนหน้านี้มีเพียงนักหมากรุกอัจฉริยะชาวอเมริกันชื่อ พอล มอร์ฟี ที่เคยถูกยกย่องให้เป็นแชมป์หมากรุกโลกอย่างไม่เป็นทางการ ในระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง ค.ศ. 1862) โดยเป็นฝ่ายชนะโบริส สปัสสกี อดีตแชมป์โลกชาวโซเวียตในการแข่งขันที่เรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เขาเป็นแชมป์โลกระหว่างปี พ.ศ. 2515 ถึง 2518. แมตช์แข่งขันชิงตำแหน่งแชมป์โลกระหว่าง บ็อบบี ฟิชเชอร์ และ โบริส สปัสสกี เป็นหนึ่งในเกมหมากรุกที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีบทบาทในการยกระดับกีฬาหมากรุกให้กลายเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง

ในบั้นปลายชีวิต บ็อบบี ฟิชเชอร์ กลายเป็นบุคคลที่เก็บตัวและมีอาการป่วยทางจิต โดยหมกมุ่นกับทฤษฎีสมคบคิดว่ายิวจะยึดครองโลก จนกระทั่งกลายเป็นผู้ฝักใฝ่ในลัทธิต่อต้านอเมริกัน และยังเผยแพร่ความคิดเห็นในทางเหยียดและต่อต้านยิว (ถึงแม้มารดาของเขาจะเป็นยิว) จนกระทั่งถูกเพิกถอนพาสปอร์ตอเมริกัน และถูกควบคุมตัวโดยทางการญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายเดือนในฐานะที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ และใช้พาสปอร์ตอเมริกันที่ถูกระงับแล้ว

ในปี พ.ศ. 2548 ฟิชเชอร์ ได้สัญชาติไอซ์แลนด์ เขาเดินทางไปใช้ชีวิตที่ไอซ์แลนด์กระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่โรงพยาบาลแลนด์สปิตาลิในเมืองเรคยาวิกด้วยภาวะไตวาย

อ้างอิง[แก้]

  1. Greatest player ever:
    • Böhm & Jongkind 2003, pp. 47 (Ree interview), 91 (Timman interview), 113 (Short interview).
    • Lombardy 2011, p. 220.
    • Müller 2009, p. 23.
    • Waitzkin 1993, p. 275 (quoting Kasparov).
  2. Arguably greatest player ever:
    • Böhm & Jongkind 2003, pp. 133–34.
    • Divinsky 1990. p. 67.
    • Eade 2011, p. 308.
    • Kasparov 2004, p. 490.
    • Mednis 1997, p. xiii.
    • Soltis 2003, p. 9.
    • Wolff 2001, p. 273.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]