Platydesmida

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Platydesmida
Brachycybe lecontii (Androganthidae) สปีชีส์หนึ่งในอันดับนี้ที่พบทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ชั้น: Diplopoda
ชั้นย่อย: Chilognatha
ชั้นฐาน: Chilognatha
อันดับ: Platydesmida
Cook, 1895
วงศ์

Andrognathidae
Platydesmidae

Platydesmida (จากภาษากรีก platy "แบน" และ desmos "สิ่งเชื่อม") เป็นอันดับของกิ้งกือที่ประกอบไปด้วยสองวงศ์ ซึ่งมีมากกว่า 60 สปีชีส์[1] บางสปีชีส์มีพฤติกรรมเลี้ยงลูก ซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่

ลักษณะ[แก้]

กิ้งกือในวงศ์นี้ (platydesmidan) มีรูปร่างแบนและมีส่วนยื่นออกมาจากปล้องลำตัวแต่ละปล้อง (paranota) ซึ่งปล้องมีจำนวนตั้งแต่ 30 ถึง 110 ปล้อง มีความยาวได้ถึง 60 มิลลิเมตร[2]

พฤติกรรม[แก้]

กิ้งกือสกุล Brachycybe ตัวผู้กำลังดูแลไข่

platydesmidan มีการพัฒนามาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถกินเห็ดราได้ ซึ่งต่างจากกิ้งกือส่วนใหญ่ที่กินซากพืชเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมลงทุนเพื่อลูก (parental investment) ที่ซึ่งตัวผู้ของบางสปีชีส์ขดตัวรอบไข่และลูกอ่อน อันเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากสำหรับการเลี้ยงลูกโดยตัวผู้ในสัตว์ขาข้อ พฤติกรรมนี้สามารถพบได้ในสปีชีส์ของสกุล Brachycybe จากทวีปอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น และ Bazillozonium กับ Yamasinaium จากญี่ปุ่น ซึ่งล้วนอยู่ในวงศ์ Andrognathidae[3][4]

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ[แก้]

ซากดึกดำบรรพ์เพียงชิ้นเดียวที่ได้รับการอธิบายรูปพรรณของกิ้งกือในอันดับนี้มาจากอำพันพม่าในยุคครีเทเชียสตอนกลาง (ประมาณหนึ่งร้อยล้านปีที่แล้ว) โดยอยู่ในวงศ์ Andrognathus ซึ่งวงศ์นี้ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และมีตัวอย่างจำนวนหนึ่งของซากดึกดำบรรพ์กิ้งกืออันดับนี้ที่ยังไม่ได้รับการอธิบายจากแหล่งอำพันเดียวกันอีกด้วย[5]

การกระจายตัว[แก้]

platydesmidan พบได้ในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรป, ญี่ปุ่น, จีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดนีเซีย[6]

การจัดจำแนก[แก้]

ชิ้นส่วนลำตัวด้านท้ายของ Pseudodesmus sp. (Androganthidae) จากลาว
สามสปีชีส์ของสกุล Platydesmus (Platydesmidae)
กิ้งกือในอันดับนี้ที่ยังไม่สามารถระบุได้จากมาเลเซีย

อันดับนี้ประกอบด้วยสองวงศ์[7]

วงศ์ Andrognathidae Cope, 1869

วงศ์ Platydesmidae DeSaussure, 1860

อ้างอิง[แก้]

  1. Shear, W. (2011). "Class Diplopoda de Blainville in Gervais, 1844. In: Zhang, Z.-Q. (Ed.) Animal biodiversity: An outline of higher-level classification and survey of taxonomic richness" (PDF). Zootaxa. 3148: 159–164.
  2. "Diagnostic features of Millipede Orders" (PDF). Milli-PEET Identification Tables. The Field Museum, Chicago. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 25 October 2013.
  3. KUDO, Shin-ichi; KOSHIO, Chiharu; TANABE, Tsutomu (2009). "Male egg-brooding in the millipede Yamasinaium noduligerum (Diplopoda: Andrognathidae)". Entomological Science. 12 (3): 346–347. doi:10.1111/j.1479-8298.2009.00331.x.
  4. Kudo, Shin-Ichi; Akagi, Yoshinobu; Hiraoka, Shuichiro; Tanabe, Tsutomu; Morimoto, Gen (2011). "Exclusive Male Egg Care and Determinants of Brooding Success in a Millipede". Ethology. 117 (1): 19–27. doi:10.1111/j.1439-0310.2010.01851.x.
  5. Moritz, Leif; Wesener, Thomas (September 2019). "The first known fossils of the Platydesmida—an extant American genus in Cretaceous amber from Myanmar (Diplopoda: Platydesmida: Andrognathidae)". Organisms Diversity & Evolution (ภาษาอังกฤษ). 19 (3): 423–433. doi:10.1007/s13127-019-00408-0. ISSN 1439-6092.
  6. Shelley, Rowland M. (1999). "Centipedes and Millipedes with Emphasis on North American Fauna". The Kansas School Naturalist. 45 (3): 1–16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2016. สืบค้นเมื่อ 25 October 2013.
  7. "Catalogue of Life - 24th September 2018 : Taxonomic tree". www.catalogueoflife.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 30 September 2018.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Costa, James T. (2006). "Other Social Arthropds: Arachnids, Centipedes, Millipedes, and Crustaceans". The Other Insect Societies. Cambridge, Massachusetts: Belknap Press of Harvard University Press. pp. 667–716. ISBN 9780674021631.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]