Oryza glaberrima

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Oryza glaberrima
Seeds
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เคลด: Commelinids
อันดับ: หญ้า
วงศ์: หญ้า
สกุล: สกุลข้าว
Steud.
สปีชีส์: Oryza glaberrima
ชื่อทวินาม
Oryza glaberrima
Steud.
Wild range. Cultivated range is much larger.

Oryza glaberrima หรือ ข้าวแอฟริกา เป็นหนึ่งในสองสปีชีส์ของข้าวปลูก[1] โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในแอฟริกาตะวันตกเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน[2][3] ในทางการเกษตร ข้าวแอฟริกาถูกข้าวเอเชีย (O. sativa) แทนที่และมีจำนวนสายพันธุ์ลดลง[1] เนื่องจากข้าวเอเชียให้ผลตอบแทนสูงกว่า[2] อย่างไรก็ตามข้าวแอฟริกายังคงยืนหยัดอยู่และคิดเป็นประมาณ 20% ของข้าวที่ปลูกในแอฟริกาตะวันตก[4] แม้ว่าปัจจุบันข้าวชนิดนี้มักไม่ถูกนำไปขายในตลาดแอฟริกาตะวันตก

เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเอเชียแล้ว ข้าวแอฟริกามีความทนทานทนต่อศัตรูพืช ใช้แรงงานต่ำ และเหมาะสมกับสภาพแอฟริกาที่หลากหลายมากกว่า[1] โดยได้รับการอธิบายว่าทำให้อิ่มและมีรสมัน[1] นอกจากนี้ยังปลูกด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สําหรับสาวกของ Awasena (ศาสนาแอฟริกาดั้งเดิม) ในหมู่ชาว Jola[5]

การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวแอฟริกาและเอเชียเป็นเรื่องยาก แต่ยังคงมีสายพันธุ์ข้ามอยู่บ้าง[6][7][8]

ประวัติ[แก้]

ข้าวแอฟริกาที่เติบโตตามแม่น้ำไนเจอร์ สถานที่ที่ถูกปรับตัวเป็นไม้เลี้ยงครั้งแรก

มีความเป็นไปได้สูงที่มนุษย์จะปรับตัวข้าวสองสายพันธุ์ที่แตกต่างกันเป็นไม้เลี้ยงโดยไม่เกี่ยวข้องกัน ข้าวแอฟริกามีความคล้ายคลึงกับข้าวแอฟริกาป่า (O. barthii) อย่างมาก เช่นเดียวกับที่ข้าวเอเชีย (O. sativa) นั้นคล้ายคลึงกับข้าวป่าเอเชีย (O. rufipogon) และมีความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างสองสปีชีส์นี้อย่างมาก

ยังคงสามารถพบเห็น O. barthii เติบโตตามธรรมชาติในแอฟริกา ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย เดิมทะเลทรายซาฮารามีสภาพอากาศที่ชื้นกว่าปัจจุบัน โดยเคยมีทะเลสาบขนาดมหึมาในสถานที่ซึ่งปัจจุบันคือทะเลทรายซาฮาราตะวันตก เมื่อสภาพอากาศแห้ง ข้าวป่าก็ลดจำนวนลงและอาจกลายเป็นไม้เลี้ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากใช้จำเป็นต้องชลประทานโดยมนุษย์[4]

เริ่มมีการปลูกข้าวแอฟริกาเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน[9] ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบนแผ่นดินของแม่น้ำไนเจอร์ตอนบน ซึ่งปัจจุบันคือประเทศมาลี.[1][2] จากนั้นแพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังถูกพบบริเวณนอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาในหมู่เกาะแซนซิบาร์

การใช้[แก้]

แกลบที่กินไม่ได้
เอาแกลบออกแล้ว (ข้าวกล้อง)
เมื่อนำรำข้าวและจมูกข้าวออก (ข้าวขาว)

ข้าวแอฟริกามักปลูกพร้อมกันหลายสายพันธุ์ซึ่งทำให้สามารถเก็บเกี่ยวและรับประทานสดได้ ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่จะชื้น พองเมื่อเจอไฟ และรับประทานได้ ข้าวผัดมีสีน้ำตาลเมื่อผัดเพราะเปลือกสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อถูกความร้อน

ข้าวแอฟริกาสามารถหุงได้เหมือนกับข้าวเอเชีย แต่ข้าวแอฟริกาจะมีรสชาติมัน ซึ่งเป็นที่นิยมในแอฟริกาตะวันตก[1][10] เมล็ดข้าวแอฟริกามักมีสีแดง บางพันธุ์มีกลิ่นหอมแรง[4] ในขณะที่บางสายพันธุ์ เช่น Carolina Gold ไม่มีกลิ่นหอมเลย[11]

นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวแอฟริกาในทางการแพทย์[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Linares, Olga F. (2002-12-10). "African rice (Oryza glaberrima): History and future potential". Proceedings of the National Academy of Sciences. 99 (25): 16360–16365. Bibcode:2002PNAS...9916360L. doi:10.1073/pnas.252604599. ISSN 1091-6490. PMC 138616. PMID 12461173.
  2. 2.0 2.1 2.2 Wang, Muhua; Yu, Yeisoo; Haberer, Georg; Marri, Pradeep Reddy; Fan, Chuanzhu; Goicoechea, Jose Luis; Zuccolo, Andrea; Song, Xiang; Kudrna, Dave; Ammiraju, Jetty S. S.; Cossu, Rosa Maria; Maldonado, Carlos; Chen, Jinfeng; Lee, Seunghee; Sisneros, Nick; de Baynast, Kristi; Golser, Wolfgang; Wissotski, Marina; Kim, Woojin; Sanchez, Paul; Ndjiondjop, Marie-Noelle; Sanni, Kayode; Long, Manyuan; Carney, Judith; Panaud, Olivier; Wicker, Thomas; Machado, Carlos A.; Chen, Mingsheng; Mayer, Klaus F. X.; Rounsley, Steve; Wing, Rod A. (2014-07-27). "The genome sequence of African rice (Oryza glaberrima) and evidence for independent domestication". Nature Genetics. 46 (9): 982–988. doi:10.1038/ng.3044. ISSN 1061-4036. PMC 7036042. PMID 25064006.
  3. Judith A. Carney (2004), "'With Grains in Her Hair': Rice in Colonial Brazil" (PDF), Slavery and Abolition, London: Frank Cass, vol. 25 no. 1, pp. 1–27, doi:10.1080/0144039042000220900, S2CID 3490844, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-05, สืบค้นเมื่อ 2016-08-09
  4. 4.0 4.1 4.2 Plant Resources of Tropical Africa, PROTA4U database, Oryza glaberrima Steud, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-05, สืบค้นเมื่อ 2023-03-16
  5. Thiam, Pierre; Sit, Jennifer (2015). "Senegal: Modern Senegalese Recipes from the Source to the Bowl". A System of Rice Production, Broken. Lake Isle Press.
  6. Sarla, N.; Swamy, B. P. Mallikarjuna (2005-09-25). "Oryza glaberrima: A source for the improvement of Oryza sativa". Current Science. Indian Academy of Sciences. 89 (6): 955–963. ISSN 0011-3891. Current Science Association. สืบค้นเมื่อ 2016-08-10.
  7. Barry, M. B.; Pham, J. L.; Noyer, J. L.; Billot, C.; Courtois, B.; Ahmadi, N. (2007-01-04). "Genetic diversity of the two cultivated rice species (O. sativa & O. glaberrima) in Maritime Guinea. Evidence for interspecific recombination". Euphytica. 154 (1–2): 127–137. doi:10.1007/s10681-006-9278-1. ISSN 0014-2336. S2CID 23798032.
  8. GRAIN (2009), Nerica: another trap for small farmers in Africa (PDF)
  9. Chen, Erwang; Huang, Xuehui; Tian, Zhixi; Wing, Rod A.; Han, Bin (2019-04-29). "The Genomics of Oryza Species Provides Insights into Rice Domestication and Heterosis". Annual Review of Plant Biology. Annual Reviews. 70 (1): 639–665. doi:10.1146/annurev-arplant-050718-100320. ISSN 1543-5008. PMID 31035826. S2CID 140266038.
  10. 10.0 10.1 "Oryza glaberrima (African rice)". Plants & Fungi At Kew Gardens. สืบค้นเมื่อ 2016-08-10.
  11. Shields, David S. (2011). "Charleston Gold: A Direct Descendant of Carolina Gold" (PDF). The Rice Paper. 5 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-13.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]