ไดโปรโตดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Diprotodon)
ไดโปรโตดอน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน, 1.6–0.044Ma
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Marsupialia
อันดับ: Diprotodontia
อันดับย่อย: Vombatiformes
วงศ์: Diprotodontidae
สกุล: Diprotodon
Owen, 1838
ชนิดต้นแบบ
Diprotodon optatum
Owen, 1838
ชื่อพ้อง
  • D. australis Owen, 1844
  • D. annextans McCoy, 1861
  • D. bennettii Krefft, 1873
  • D. loderi Krefft, 1873,
  • D. longiceps McCoy, 1865
  • D. minor Huxley, 1862

ไดโปรโตดอน หรือ วอมแบตยักษ์ หรือ วอมแบตแรด (อังกฤษ: giant wombat, rhinoceros wombat) เป็นชื่อเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเคยได้พบที่ทวีปออสเตรเลียเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วไดโปรโตดอนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดและมันเป็นอาหารของนักล่าอย่าง สิงโตมาซูเฟียว และ เมกะลาเนีย

ไดโปรโตดอน จัดอยู่ในสกุล Diprotodon มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัววอมแบต แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 2 เมตร ลำตัวยาว 3 เมตร น้ำหนักราว 3 ตัน ขณะที่วอมแบตทั่วไปสูงเพียง 25 เซนติเมตร ยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักราว 20-45 กิโลกรัมเท่านั้น

ไดโปรโตดอน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น ห้วยหนองคลองบึง ทั่วไป สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโปรโตดอน ปัจจุบันไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน เนื่องจากนักบรรพชีวินวิทยามีทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่า มันสูญพันธุ์ไปเองโดยสาเหตุธรรมชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าสูญพันธุ์เพราะถูกล่าจากมนุษย์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย ทั้งที่มีหลักฐานบ่งว่ามนุษย์เพิ่งอพยพมาสู่ออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อ 5,000 ปีก่อนนี้เอง[1]

อย่างไรก็ดี มีความเชื่อของชาวอะบอริจินส์อยู่ประการหนึ่ง ถึงสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่ดุร้ายและกินมนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงเป็นอาหาร ที่มีชื่อว่า "บันยิป" (Bunyip) โดยเชื่อว่า บันยิปเป็นวิญญาณของสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ที่มารวมกัน และเชื่ออีกว่าบันยิปจะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ทั่วออสเตรเลีย จึงมีการสันนิษฐานว่า หากบันยิปมีอยู่จริง ก็อาจจะเป็นไดโปรโตดอนที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ก็เป็นได้[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [https://web.archive.org/web/20130617013953/http://www2.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000089008 เก็บถาวร 2013-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ออสซี่ตะลึง!! พบชิ้นส่วนโครงกระดูก “วอมแบตยักษ์” อายุ 40,000 ปี จากผู้จัดการออนไลน์]
  2. Bunyip สัตว์ในตำนาน Australia

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]