สัตว์ประหลาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปวาดของไฮดรา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง

สัตว์ประหลาด (อังกฤษ: monster, cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว

โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ

ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย

นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม

โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของสัตว์ประหลาดที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ แฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น[1]

ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น

ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ

ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง[2] โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้วย[3]

รายชื่อสัตว์ประหลาดจากทั่วโลก[แก้]

ทวีปเอเชีย[แก้]

ทวีปยุโรป[แก้]

ทวีปแอฟริกา[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง[แก้]

ทวีปอเมริกาใต้[แก้]

โอเชียเนียและทวีปออสเตรเลีย[แก้]

ทั่วโลกหรือสัตว์ประหลาดแห่งทะเล[แก้]

สัตว์ประหลาดตามจินตนาการของผู้แต่งที่มิได้ปรากฏในตำนานแต่อดีต[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  • สำหรับจานบินหรือวัตถุบินไม่ทราบสัญชาติ อาจจะใช้ตัวย่อว่า "ยูเอฟโอ" (UFO-Unidentified Flying Object) ได้ และสำหรับสัตว์ประหลาดหรือสัตว์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจใช้คำว่า "ยูม่า" (UMA-Unidentified Mysterious Animal) ได้เช่นกัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. David Wardle, Cicero on Divination, Book 1 (Oxford University Press, 2006), p. 102; Mary Beagon, "Beyond Comparison: M. Sergius, Fortunae victor," in Philosophy and Power in the Graeco-Roman World: Essays in Honour of Miriam Griffin (Oxford University Press, 2002), p. 127; Gregory A. Staley, Seneca and the Idea of Tragedy (Oxford University Press, 2010), pp. 109, 113 et passim.
  2. Simpson, George G. (1984). "Mammals and Crytozoology". Proceedings of the American Philosophical Society (American Philosophical Society.) 128 (1): 1–19. http://www.jstor.org/pss/986487. Retrieved September 2010.
  3. Science 286 (5442): 1079. 1999-11-05.
  4. Bigfoot Sighting in Kentucky on Film (อังกฤษ)