จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)

พิกัด: 24°51′16″N 79°55′12″E / 24.8544234°N 79.9200664°E / 24.8544234; 79.9200664
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chitragupta temple, Khajuraho)
จิตรคุปตมนเทียร
चित्रगुप्त मन्दिर
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตฉตารปุระ
เทพพระสุริยะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งขชุราโห
รัฐมัธยประเทศ
ประเทศอินเดีย
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)ตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)
ที่ตั้งในรัฐมัธยประเทศ
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห)
จิตรคุปตมนเทียร (ขชุราโห) (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์24°51′16″N 79°55′12″E / 24.8544234°N 79.9200664°E / 24.8544234; 79.9200664
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งศตวรรษที่ 11

จิตรคุปตมนเทียร (Chitragupta temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 เพื่อบูชาพระสุรยะ ตั้งอยู่ในเมืองขชุราโห รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ในทางสถาปัตยกรรมแล้วมีลักษณะที่คล้ายเคียงมากกับเทวีชรทัมพีมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน

ประวัติ[แก้]

จากหลักฐานทางจารึกพบว่าการก่อสร้างของมนเทียรน่าจะมีขึ้นในราวปี 1020-1025 และน่าจะมีการวางศิลาฤกษ์ในวนัที่ 23 กุมภาพันธ์ 1023 ในโอกาสของพิธีศิวราตรี[1]

สถาปัตยกรรม[แก้]

จิตรคุปตมนเทียรมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับเทวีชคทัมพีมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน มีครรภคฤห์ที่มีพื้นที่สำหรับปริกรม, ซุ้มหน้าประตู, มหามณฑป และโถงทางเข้า โถงหลักมีเพดานเป็นการออกแบบในรูปแปดเหลี่ยม ตกแต่งอย่างวิจิตรมากกว่าชคทัมพีมนเทียร จึงเป็นไปได้ว่าจิตรคุปตมนเทียรนี้สร้างขึ้นภายหลังไล่เลี่ยกัน[2] ส่วนหลังคาที่เป็นลักษณะไล่ระดับนั้นไม่ได้โดดเด่นหากเทียบกับมนเทียรอื่น ๆ ในขชุราโห[3]

เทวรูป[แก้]

ภายในครรภคฤห์ประดิษฐานเทวรูปที่ปรักหักพังเล็กน้อยสูง 2.1 เมตร (6.9 ฟุต) เป็นรูปเคารพของพระสุรยะประทับยืนบนราชรถม้าเจ็ดตัว ทรงเครื่องประดับและทรงถือดอกบัว บนขื่อหระตูของครรภคฤห์ปรากฏรูปสลักของพระสุรยะในลักษณะใกล้เคียงกัน[4][2]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ali Javid; Tabassum Javeed (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India. Algora. ISBN 978-0-87586-482-2.
  • "Chitragupta Temple". Archaeological Survey of India, Bhopal Circle. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  • "Alphabetical List of Monuments - Madhya Pradesh". Archaeological Survey of India, Bhopal Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  • Deepak Kannal (1995). "Khajuraho: beginning of new iconological cycle". ใน R. T. Vyas (บ.ก.). Studies in Jaina Art and Iconography and Allied Subjects. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-316-8.
  • Margaret Prosser Allen (1991). Ornament in Indian Architecture. University of Delaware Press. ISBN 978-0-87413-399-8.
  • Rana P. B. Singh (2009). Cosmic Order and Cultural Astronomy. Cambridge Scholars. ISBN 9781443816076.