ไพ่หมายจับชาวอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพ่

ในช่วงการบุกครองอิรัก ค.ศ. 2003 ของการร่วมมือกันที่นำโดยสหรัฐ สำนักข่าวกรองกลาโหมสหรัฐได้พัฒนาชุดไพ่ป๊อกที่จะช่วยให้กองกำลังชี้ตัวสมาชิกที่ต้องการตัวของรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกระดับสูงของสาขาภูมิภาคอิรักแห่งพรรคบะอัธ หรือคณะมนตรีปฏิวัติ ซึ่งในหมู่พวกเขาเป็นสมาชิกครอบครัวของฮุสเซ็น ไพ่เหล่านี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ไพ่ระบุตัวตน" ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 จำนวน 52 คนจากทั้งหมดที่ต้องการตัว ยกเว้น 6 คน ได้ถูกสังหารหรือถูกจับกุม

เกี่ยวกับไพ่[แก้]

ไพ่เราะชีด ฏออัน กอซิม
ไพ่รอฟี อับด์ อัล-ลอฏีฟ ฏอลฟาห์

ไพ่แต่ละใบมีที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการตัว และหากใช้ประโยชน์ได้ มีตำแหน่งงานที่กระทำเฉพาะบุคคล ไพ่อันดับสูงสุด เริ่มต้นด้วยไพ่เอซและไพ่คิง ซึ่งใช้สำหรับคนที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของรายชื่อที่ต้องการตัวมากที่สุด เอซโพดำคือซัดดัม ฮุสเซน เอซของไพ่ดอกจิกและโพแดงคือลูกชายของเขา กุศีและอุดีตามลำดับ รวมถึงเอซของไพ่ข้าวหลามตัดคืออะบิด ฮามิด มะฮ์มุด อัตตกรีตี ผู้เป็นเลขานุการประธานาธิบดีของซัดดัม ความสอดคล้องที่เคร่งครัดต่อลำดับของรายชื่อไม่ได้ดำเนินการผ่านสำรับไพ่ทั้งหมด แต่บางครั้งต่อมาในปี ค.ศ. 2003 รายชื่อตัวมันเองได้รับการจัดลำดับใหม่เพื่อให้ (เกือบ) สอดคล้องกับสำรับไพ่ ส่วนด้านหลังของไพ่มีลายพรางทหารสีเขียว

ตามที่นาวาตรีกองทัพเรือสหรัฐ จิม บรูคส์ โฆษกสำนักข่าวกรองกลาโหมเผย ไพ่ที่เล่นเช่นนี้ได้รับการนำมาใช้ย้อนกลับไปในฐานะสงครามกลางเมืองของสหรัฐและในสงครามโลกครั้งที่สอง—ส่วนสำรับไพ่เหล่าอากาศทหารบกสหรัฐที่พิมพ์ด้วยภาพเงาเครื่องบินขับไล่ของเยอรมันและญี่ปุ่น ขายได้หลายร้อยดอลลาร์ในปัจจุบัน—รวมถึงในสงครามเกาหลี บรรดาทหารมักเล่นไพ่นี้เพื่อฆ่าเวลา และพบเห็นชื่อ, ใบหน้า ตลอดจนยศตำแหน่งของชาวอิรักที่ต้องการตัวในระหว่างการเล่นเกม ซึ่งจะช่วยทหารและนาวิกโยธินในกรณีที่พวกเขาพบเจอบุคคลที่ต้องการในสนามรบ[1]

รายการ "หมายจับ" เป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของหน่วยข่าวกรองหลายหน่วย ซึ่งรวมถึงสำนักข่าวกรองกลาโหม กองบัญชาการกลาง และตัวแทนจากหน่วยข่าวกรองสาขาสาขาประจำการของสหรัฐทั้งหมด จากนั้นชื่อ "หมายจับ" ถูกกำหนดให้กับการ์ดของพวกเขาโดยทหารกองทัพบกสหรัฐห้านาย ได้แก่ ร.ต. ฮันส์ มัมม์, จ.ส.ต. ชอว์น มาฮันนี, ส.อ. อันเดรย์ ซอลเทอร์, ส.อ. สก็อตต์ โบเอห์มเลอร์ และผู้ชำนาญการพิเศษ โจเซฟ บาริออส ซึ่งได้รับมอบหมายต่อสำนักข่าวกรองกลาโหม[2] รูปภาพที่ใช้บนไพ่มาจากหน่วยข่าวกรองหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่ได้มาจาก "โอเพนซอร์ซ" สำรับไพ่ดังกล่าวได้รับการประกาศต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในอิรักเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2003 ในการแถลงข่าวโดยนายพลจัตวากองทัพบก วินเซนต์ บรูกส์ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของกองบัญชาการกลางสหรัฐ ในเย็นวันเดียวกันนั้น แมกซ์ ฮอดจ์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในเมืองฮิวสตัน ได้พบและดาวน์โหลดไฟล์อาร์ตเวิร์กความละเอียดสูงสำหรับปึกไพ่จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ของกระทรวงกลาโหม กระทั่งมีการพบในวันรุ่งขึ้นว่าไฟล์ได้หายไปจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ของทหาร เขาจึงกลายเป็นผู้ขายอีเบย์รายแรกที่เสนอไฟล์อาร์ตเวิร์กในรูปแบบพีดีเอฟ ซึ่งสามารถใช้ในการสร้างปึกไพ่ซ้ำได้[3] เขาทำสัญญากับบริษัทเจมาโกเพลย์อิงการ์ดอย่างรวดเร็วเพื่อพิมพ์ 1,000 สำรับในราคาประมาณ 4,000 ดอลลาร์และเริ่มขายทั้งสองสำรับ ล่วงหน้าก่อนที่จะรับจากเครื่องพิมพ์ ในอีเบย์, แอมะซอน.คอม และเว็บไซต์ของเขาเอง เมื่อการประมูลสำรับไพ่ 4 ดอลลาร์ในช่วงแรกของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิน 120 ดอลลาร์[4] อีเบเยอร์รายอื่น ๆ ก็ใช้เวลาไม่นานในการเข้าร่วมในแบนด์วากอน และพิมพ์หรือสั่งซื้อสำรับของตนเองเพื่อขาย ในเวลาเพียงไม่กี่วันก็มีผู้ขายหลายร้อยราย และราคาได้ลดลงเหลือเพียงไม่กี่ดอลลาร์ต่อสำรับ

ลิเบอร์ตีเพลย์อิงคาร์ดคัมพานีในรัฐเท็กซัส ได้รับคำสั่งให้ผลิตการ์ดสำหรับสถานทูตสหรัฐในประเทศคูเวต และด้วยการอ้างว่าเป็น "ผู้รับเหมาของรัฐบาลที่ได้รับอนุญาต" ก็ได้กลายเป็นผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอีกรายสำหรับตลาดการค้า รัฐบาลสหรัฐได้รวมฮอยล์โจ๊กเกอร์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีเจ้าของโดยยูไนเต็ดสเตตส์เพลย์อิงคาร์ดคัมพานี แห่งซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ โดยไม่ได้ตั้งใจ แม้ว่าบริษัทยูไนเต็ดสเตตส์เพลย์อิงคาร์ดจะไม่คัดค้านการใช้ภาพของรัฐบาล แต่พวกเขาก็คัดค้านบริษัทอื่น ๆ ที่ใช้ภาพที่เป็นเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุนี้ ในบางแง่ กองทัพสหรัฐได้ให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทยูไนเต็ดสเตตส์เพลย์อิงคาร์ดในการผลิตสำรับของแท้โดยไม่ได้ตั้งใจ หากภาพโจ๊กเกอร์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าได้ถือเป็นข้อกำหนดในการเป็นของแท้

อ้างอิง[แก้]

  1. Burgess, Lisa (17 April 2003). "Buyers beware: The real Iraq 'most wanted' cards are still awaiting distribution". Stars and Stripes. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
  2. "The Faces Behind the Faces on the 'Most Wanted' Deck". Armed Forces Press Service.
  3. Iraq Most Wanted Identification Playing Cards (PDF version) white rabbit online shop, archived on 27 November 2005 from the original
  4. Valdes-Dapena, Peter (13 April 2003). "Hot item: 'Most wanted Iraqi' cards". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]