ไซโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้องที่ประทับของไซโอในไซกูช่วงยุคเฮอัง
ไซโอไดในเทศกาลอาโออิมัตสึริ

ไซโอ (ญี่ปุ่น: 斎王โรมาจิSaiō) หรือ อิตสึกิ โนะ มิโกะ (斎皇女, Itsuki no Miko) คือเจ้านายฝ่ายในพระราชวงศ์ญี่ปุ่นที่ยังไม่เสกสมรส คอยปฏิบัติหน้าที่ในศาลเจ้าใหญ่อิเซะ ปรากฏการดำรงอยู่ช่วงปลายคริสต์ศวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เจ้านายที่เป็นไซโอจะมีที่ประทับเรียกว่าไซกู (斎宮) มีลักษณะเป็นเมืองขนาดน้อย ห่างจากศาลเจ้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 10 กิโลเมตร ปัจจุบันยังหลงเหลือซากไซกูที่เมืองเมวะ จังหวัดมิเอะ[1]

ประวัติ[แก้]

ตามตำนานญี่ปุ่น กล่าวว่าเมื่อสองพันปีก่อน ยามาโตฮิเมะ โนะ มิโกโตะ พระราชธิดาในจักรพรรดิซูอินิง เสด็จออกจากเขามิวะในจังหวัดนาระเพื่อแสวงหาสถานที่สำหรับสักการะสุริยเทวีอามาเตราซุ โอมิกามิ[2] การค้นหายาวนานถึงยี่สิบปีจึงพบสถานที่สำหรับสักการะที่เมืองอิเซะ จังหวัดมิเอะ ต่อมาจึงมีการก่อสร้างศาลเจ้าใหญ่ที่นั่น[3] ก่อนหน้านี้ ศาลเจ้าที่เคยใช้สำหรับบูชาสุริยเทวีตั้งอยู่ที่พระราชวังหลวงในแคว้นยามาโตะ

ในเอกสาร มันโยชู ระบุว่าไซโอพระองค์แรกคือเจ้าหญิงโอกุ พระราชธิดาในจักรพรรดิเท็มมุ ตรงกับยุคอาซูกะ ส่วน กูกังโช บันทึกโดยหลวงพ่อจิเอ็ง ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ระบุว่าในรัชสมัยจักรพรรดิซูอินิง มีการแต่งตั้งนักบวชหญิงชั้นสูงระดับไซงู เป็นเจ้าอาวาสศาลเจ้าใหญ่อิเซะคนแรก[4] และ นิฮงโอไดอิจิรัง บันทึกโดยฮายาชิ กาโฮ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระบุว่า ตั้งแต่รัชสมัยจักรพรรดิซูอินิงเป็นต้นมา ก็มีการสถาปนาให้พระราชธิดาเป็นไซโอมาโดยตลอด หากจักรพรรดิไม่มีพระราชธิดา ก็จะแต่งตั้งธิดาของพระญาติวงศ์เป็นไซโอเพื่อมิให้ตำแหน่งขาดช่วง[5]

ไซโอสิ้นสุดลงเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะสูญไปในยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ เมื่อไร้ไซโอประจำศาล ไซกูซึ่งเป็นเมืองสำหรับรับรองไซโอถูกยุบรวมเข้ากับหมู่บ้านเกษตรกรในเวลาต่อมา ผู้คนที่เคยอาศัยในนั้นถูกเรียกกลับเกียวโต

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. http://www.bunka.pref.mie.lg.jp/saiku/p0048200012.htm
  2. Brown Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 253; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 95-96; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 10.
  3. The Deep Purple Story of Meiwa (紫紺の語り部) (Meiwa Town Office, 2003), p. 3.
  4. Brown, p. 253.
  5. Titsingh, p. 10.
บรรณานุกรม
  • Brown, Delmer and Ichiro Ishida, eds. (1979). [Jien, c.1220], Gukanshō; "The Future and the Past: a translation and study of the 'Gukanshō,' an interpretive history of Japan written in 1219" translated from the Japanese and edited by Delmer M. Brown & Ichirō Ishida. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-03460-0
  • Titsingh, Isaac. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652]. Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Society of Great Britain and Ireland.