โบสถ์ยิวใหม่ (เบอร์ลิน)

พิกัด: 52°31′29″N 13°23′40″E / 52.52472°N 13.39444°E / 52.52472; 13.39444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบสถ์ยิวใหม่
โบสถ์ยิวใหม่มองจากโอราไนน์บูร์แฌร์สตาส (Oranienburger Straße)
ศาสนา
ศาสนายิวอนุรักษนิยม
จารีตอัชเคนัซ
หน่วยงานกำกับดูแลเกซา เอเดอร์แบร์ค
ปีที่อุทิศ1866
สถานะActive
ที่ตั้ง
ที่ตั้งOranienburger Straße 29–31 เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
พิกัดภูมิศาสตร์52°31′29″N 13°23′40″E / 52.52472°N 13.39444°E / 52.52472; 13.39444
สถาปัตยกรรม
ประเภทโบสถ์ยิว
รูปแบบมัวร์ฟื้นฟู
ลงเสาเข็ม1859
เสร็จสมบูรณ์1866
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ3200 seats
โดม3
เว็บไซต์
centrumjudaicum.de

โบสถ์ยิวใหม่ (เยอรมัน: Neue Synagoge) เป็นโบสถ์ยิวสร้างขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 ตั้งอยู่บนโอราไนน์บูร์แฌร์สตราส ในเบอร์ลิน สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางหนึ่งสำหรับศาสนพิธีของชุมชนชาวยิว แทนที่โบสถ์ยิวเก่าซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับชุมชนที่ขยายใหญ่ขึ้น โบสถ์ยิวใหม่สร้างด้วยอิฐพอลีโครม และประดับประดาฟาซาดด้วยอิฐแกะสลักและงานดินเผา และแต่งสีด้วยเครื่องเคลือบดินเผา โดมของโบสถ์ยิวซึ่งโดดเด่นทำให้อาคารนี้เป็นหนึ่งในจุดหมายตาของเบอร์ลิน[1]

ในสมัยนาซีเยอรมนี ทั้งโบสถ์ยิวใหม่และโบสถ์ยิวถนนรีเกสถูกโจมตีแต่ก็มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่และใช้ปฏิบัติศาสนกิจเรื่อยมาจนถึงปี 1940 นอกจากจะใช้งานทางศาสนาแล้ว โถงหลักของโลสถ์ยิวยังใช้งานเป็นที่แสดงดนตรีและคำสอนเนื่องมาจากในเวลานั้นชาวยิวไม่สามารถเช้าใช้งานสถานที่อื่นได้ กิจกรรมรวมตัวขนาดใหญ่ครั้งสุดท้ายในโถงหลักมีขึ้นเมื่อ 31 มีนาคม 1940 เพื่อจัดแสดงดนตรีในชุด Jüdisches Winterhilfswerk (สมทบทุนฤดูหนาวชาวยิว) เป็นครั้งสุดท้าย งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเรี่ยไรเงินช่วยเหลือชาวยิวยากไร้ที่ถูกกีดกันจากสวัสดิการของรัฐ[2] เมื่อวันที่ 5 เมษายน 1940 Jüdisches Nachrichtenblatt ถูกบังคับให้ประกาศว่าศาสนกิจในโบสถ์ยิวใหม่ได้ถูกยกเลิกไปโดยไม่มีกำหนด[2] วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีที่พวกนาซีใช้เป็นปกติ และมีการประกาศให้ศาสนชนย้ายข้าวของของตนออกจากตู้และชั้นในโถงพิธีของโบสถ์ยิวภายในวันที่ 8 เมษายน[3] จากนั้น โถงหลักถูก Heeresbekleidungsamt III (หน่วยเครื่องแบบที่สาม) ของกองทัพเยอรมนี เข้ายึดเพื่อใช้เป็นที่เก็บเครื่องแบบของกองทัพ

โบสถ์ยิวใหม่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหลังการทุบกำแพงเบอร์ลิน ในปัจจุบัน โบสถ์ยิวใหม่เปิดประกอบศาสนพิธี[4] และเป็นโบสถ์ยิวแห่งเดียวในเบอร์ลินของจารีตมาซอร์ตี (ยิวอนุรักษนิยม)[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hallelujah! Assemble, Pray, Study – Synagogues Past and Present". Beit Hatfutsot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-25. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
  2. 2.0 2.1 Olaf Matthes, Die Neue Synagoge, Markus Sebastian Braun (ed.), Berlin: Berlin-Edition, 2000, (=Berliner Ansichten; vol. 16), p. 58. ISBN 3-8148-0025-7.
  3. In the original: "Die Platzinhaber werden hierdurch aufgefordert, ihre Gebetutensilien bis Montag, den 8. April, mittags 12 Uhr, aus den Pulten herauszunehmen." Quote from 'Jüdisches Nachrichtenblatt' after Cf. Olaf Matthes, Die Neue Synagoge, Markus Sebastian Braun (ed.), Berlin: Berlin-Edition, 2000, (=Berliner Ansichten; vol. 16), p. 58. ISBN 3-8148-0025-7.
  4. Group, Berlin Information. "Synagogues in Berlin". www.berlinfo.com. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
  5. e.V., Masorti. "Masorti e.V. Berlin". www.masorti.de. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Knobloch, Heinz (1990). Der beherzte Reviervorsteher: ungewöhnliche Zivilcourage am Hackeschen Markt. Berlin: Morgenbuch-Verlag. ISBN 3-371-00314-0.
  • Rebiger, Bill (2005). Jewish Berlin: Culture, Religion, Daily Life Yesterday and Today (1st ed. 2000 in German ed.). Berlin: Jaron Verlag GmbH. ISBN 978-3-89773-099-1.
  • Scheer, Regina (1993). "Im Revier 16 (In precinct No. 16)". Die Hackeschen Höfe. Geschichte und Geschichten einer Lebenswelt in der Mitte Berlins (Gesellschaft Hackesche Höfe e.V. (ed.), pp. 74–79 ed.). Berlin: Argon. ISBN 3-87024-254-X.
  • "Do Not Stand Silent: Remembering Kristallnacht 1938 [poster]". Center for Holocaust and Genocide Education Documents. 1 May 2008. สืบค้นเมื่อ 29 January 2023.
  • Mausner, Ellen Weinberg (2020). Jacob Weinberg : musical pioneer. [United States]. ISBN 979-8-6726-7605-0. OCLC 1268472159.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

52°31′29″N 13°23′40″E / 52.52472°N 13.39444°E / 52.52472; 13.39444