โครมาโทกราฟี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครมาโทกราฟี (อังกฤษ: chromatography) เป็นวิธีการทางห้องปฏิบัติการในการแยกสารผสมและตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร หลักการโดยทั่วไปคือตัวอย่างสารจะผสมกับตัวทำละลายบนตัวดูดซับ เมื่อสารแต่ละชนิดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่างกันตามความสามารถในการละลายและความสามารถในการดูดซับของตัวดูดซับ สารจะแยกออกจากกันและปรากฏเป็นสีต่าง ๆ บนตัวดูดซับ[1] โดยวิธีนี้จัดเป็นวิธีการแยกสารเนื้อเดียว

TLC ใช้แยกคลอโรฟิลล์ชนิดต่าง ๆ ออกจากกัน

การจำแนกสาร[แก้]

ความสามารถในการดูดซับ[แก้]

  • ดูดซับดี --> Rfน้อย
  • ดูดซับน้อย --> Rfมาก

ความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย[แก้]

  • ละลายดี --> Rfมาก
  • ละลายไม่ดี --> Rfน้อย

อัตราการเคลื่อนที่ของสาร[แก้]

อัตราการเคลื่อนที่ของสาร หรือ Rf (Rate of Flow) มีสูตรคำนวณดังนี้

Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ ÷ ระยะทางที่ตัวทำลายเคลื่อนที่

ประเภทของโครมาโทกราฟี[แก้]

  • โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ (Paper chromatography) มักใช้กระดาษกรองเป็นส่วนอยู่กับที่ (stationary phase)
  • โครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง (Thin layer chromatography) ใช้แผ่นแก้ว พลาสติกหรือโลหะทำหน้าที่เป็นส่วนค้ำจุนของส่วนอยู่กับที่ โดยส่วนอยู่กับที่มีลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ
  • โครมาโทกราฟีแบบคอลัมน์ (Column chromatography) ส่วนอยู่กับที่จะถูกบรรจุไว้ในท่อแก้ว พลาสติกหรือโลหะ

นอกจากนี้อาจจำแนกประเภทตามชนิดของแรงที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสารกับส่วนอยู่กับที่ได้ดังนี้

  • โครมาโทกราฟีแบบแบ่งส่วน (Partition chromatography)
  • โครมาโทกราฟีแบบดูดซับ (Adsorption chromatography)
  • โครมาโทกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange chromatography)
  • โครมาโทกราฟีแบบแยกตามขนาดโมเลกุล (Molecular sieve chromatography)
  • โครมาโทกราฟีแบบแยกตามความจำเพาะ (Affinity chromatography)

อ้างอิง[แก้]

  1. "หลักการของโครมาโทกราฟี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]