โครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เทเลคอม พูล (อังกฤษ: Telecom Pool) เป็นโครงการเพื่อจัดการรวบโครงข่ายโทรคมนาคม ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวทำหน้าที่บริหารโครงข่ายโทรคมนาคมของชาติ

ที่มา[แก้]

พ.ศ. 2550 พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ร่วมประชุมกับ สิทธิชัย โภไคยอุดม รมว. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) รวมถึงคณะกรรม การ บมจ.ทีโอที(TOT) และ บมจ.กสท โทรคมนาคม(CAT) เพื่อหาทางรวบรวม งานที่ซ้ำซ้อนต่างๆของกิจการการสื่อสารในประเทศไทย มีมติให้จัดตั้งโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติขึ้น

แนวคิดและการปฏิบัติ[แก้]

รัฐเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วน 100%

  • บริหารโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือ "ไฟเบอร์ออพติก" จากการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงาน คือ ฝ่ายผลิตฯ ส่วนภูมิภาค และนครหลวง ที่มีไฟเบอร์ออพติกอยู่ทั่วประเทศมาอยู่ภายใต้การบริหารของ "เทเลคอม พูล"
  • เจรจากับเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์ อีก 5 ราย คือ TRUE , TT&T , AIS และ DTAC เข้าร่วม 5 เครือข่าย
  • รวมโครงข่าย TOT กับ CAT อีก 2 โครงข่าย

ข้อดีข้อเสีย[แก้]

ข้อดีทำให้ลดความซ้ำซ้อนการลงทุนเพื่อการสื่อสารในประเทศและมีประสิทธิภาพในการจัดการ ข้อเสียคือ เป็นการผูกขาดธุรกิจ

อ้างอิง[แก้]