แอสตันมาร์ติน ดีบี9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอสตันมาร์ติน ดีบี9
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตแอสตันมาร์ติน
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 2004 – 2016
แหล่งผลิตเกย์ดอน, สหราชอาณาจักร
ผู้ออกแบบมาเรก ไรช์แมน (Marek Reichman), เฮนริก ฟิสเคอร์ (Henrik Fisker)[1]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราสมรรถนะสูง (Grand tourer)
รูปแบบตัวถัง2+2 ที่นั่ง 2 ประตู คูเป
2 ประตู คอนเวอร์ทิเบิล
โครงสร้างเครื่องยนต์หน้าลำ ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (FR)
แพลตฟอร์มแอสตันมาร์ติน วีเฮช แพลตฟอร์ม
จำนวนประตู2 แบบบานเปิดธรรมดา
รุ่นที่คล้ายกันแอสตันมาร์ติน ดีบีเอส วี12
แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์9
แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์เอส9
แอสตันมาร์ติน ราพิด
แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ
แอสตันมาร์ติน วี12 แวนเทจ
แอสตันมาร์ติน วิเรจ
แอสตันมาร์ติน แวนควิซ
แอสตันมาร์ติน ดีบี10
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.9 L V12
ระบบเกียร์เกียร์อัตโนมัติ 6HP26 6 จังหวะ[2]
เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,743 mm (108.0 in)[3][4]
ความยาว4,709 mm (185.4 in)[3][4]
ความกว้าง1,880 mm (74.0 in)[3][5]
ความสูง1,270 mm (50.0 in)[3]
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าแอสตันมาร์ติน ดีบี7
รุ่นต่อไปแอสตันมาร์ติน ดีบี11

แอสตันมาร์ติน ดีบี9 (อังกฤษ: Aston Martin DB9) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราสมรรถนะสูง เครื่องยนต์หน้าลำ ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (FR) 2 ประตู 2+2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติอังกฤษ แอสตันมาร์ติน รถได้เปิดตัวครั้งแรกที่งานแฟรงค์เฟิร์ตออโตโชว์ ในปี ค.ศ. 2003[6][7] มาพร้อมกับ 2 รูปแบบให้เลือก คือแบบคูเป้ และแบบโรสเตอร์เปิดประทุน แอสตันมาร์ติน ดีบี9 ออกแบบมาเพื่อแทนที่ แอสตันมาร์ติน ดีบี7 ดีบี9 ได้ยุติการผลิตลง นับตั้งแต่การผลิตในปี ค.ศ. 2004 จนถึงหยุดสายการผลิตในปี ค.ศ. 2016 โดยรถทุกคันผลิตที่โรงงานแอสตันมาร์ตินเกย์ดอน ( Aston Martin's Gaydon facility )

ดีบี9 ได้รับการออกแบบโดย มาเรก ไรช์แมน (Marek Reichman) และ เฮนริก ฟิสเกอร์ (Henrik Fisker) ผู้ก่อตั้งบริษัท บริษัทรถยนต์ฟิสเกอร์ ตัวถังส่วนใหญ่ของ ดีบี9 ทำมาจากอะลูมิเนียม จัดเป็นแพลตฟอร์ม VH รุ่นที่ 1 ของแอสตันมาร์ติน เช่นเดียวกับ แอสตัน มาร์ติน ดีบีเอส วี12 สำหรับตัวเครื่องยนต์ มีขนาด 6.0 ลิตร V12 ซึ่งนำมาจาก แอสตันมาร์ติน แวนควิซ โดยเมื่อเร็วๆนี้ แอสตันมาร์ติน ดีบี9 ก็ได้ทำสถิติความเร็วสูงสุดได้ที่ 295 กม./ชม. (183 ไมล์/ชม.) และ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 4.1 วินาที

ดีบี9 ได้รับคำชมจากหลายแหล่ง อย่างเช่น "คำวิจารณ์จากนักวิจารณ์รถยนต์ ที่ว่า ถึงแม้รถจะมีเครื่องยนต์และระบบแฮนลิง ที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบขับขี่ ขับเอาประสบการณ์ และเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกแบบภายใน ภายนอกของ ดีบี9 คันนี้" นอกจากนี้ยังมีคำชมจาก ท็อปเกียร์, เว็บไซด์เอ็ดมันส์, ออโต้วีคส์, นิตยสารออโต้โมบิล เป็นต้น

คำว่า "DB" นั้นย่อมาจาก ชื่อและนามสกุลของอดีตเจ้าของ แอสตัน มาร์ติน ชื่อ เดวิด บราวน์ ( David Brown )

รุ่นอื่นๆ[แก้]

แอสตันมาร์ติน ดีบี9

ดีบี9 โวเลนเต ( DB9 Volante )[แก้]

เป็นรูปแบบเปิดประทุนของ ดีบี9 โดยตัวหลังคานั้นทำมาจากผ้าใบ ( Folding fabric ) ใช้เวลาเพียง 17 วินาทีในการเปิดปิด น้ำหนักของตัวถังอยู่ที่ 59 กิโลกรัม (130 ปอนด์) ซึ่งมากกว่า ตัวคูเป้แบบปกติ[8]

รถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 266 กม./ชม. (165 ไมล์/ชม.) เท่ากับรุ่นคูเป้ปกติ ถึงแม้รถจะเป็นราคาผ้าใบก็ตาม รถมีแรงบิดสูงสุด 569 N·m (420 lbf·ft) ที่ 5,000 rpm และมีกำลังสูงสุด 456 PS (450 hp) ที่ 6,000 rpm อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 4.9 วินาที ซึ่งช้ากว่ารุ่นคูเป้ เนื่องจากน้ำหนักของตัวถังที่มากกว่า และในเวลาต่อมา โวเลนต์ ก็ได้ปรับกำลังเป็น 517 PS (510 hp) และแรงบิดที่ 620 N·m (457 lbf·ft)[9]

DB9 LM[แก้]

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในฐานะที่ ทีมแอสตันมารติน จีที1 คว้าชัยชนะในรายการแข่งขันปี ค.ศ. 2007 รายการ 24 เอาเออร์ออฟเลอแมนส์ (2007 24 Hours of Le Mans) จึงเป็นที่มาของคำย่อ "LM" รถมาพร้อมกับออฟชั่น สปอร์ตแพ็กค์ ซึ่ง ดีบี9 แอลเอ็ม เป็นเพียงรุ่นเดียวที่จำหน่ายใน ลักษณะเซมิ-ออโต้ คูเป้ รถทาด้วยสีเงินชาร์ต (Sarthe Silver) คำว่า "ชาร์ต" มาจากสนามชื่อสนามแข่งเดอ ลา ชาร์ต (Circuit de la Sarthe) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ ดีบี9 แอลเอ็ม ได้ใช้วิ่ง แอลเอ็ม จำกัดจำนวนเพียง 124 คันเท่านั้นที่จะผลิตออกมา[10]

DB9 Carbon Black, Morning Frost, and Quantum Silver[แก้]

เป็นรุ่นพิเศษแบ่งเป็นสีออกเป็น 3 สี ได้แก่ DB9 Carbon Black, Morning Frost และ Quantum Silver ซึ่งทั้ง 3 รุ่นก็ยังคงใช้เครื่องยนต์ 6.0 ลิตร V12 ใช้เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 6 จังหวะ เหมือนรุ่นปกติ โดยในแต่ละคันก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการแต่งภายใน ภายนอก ที่ใช้สีต่างกัน ดีบี9 ทั้ง 3 คันจะจำหน่ายในรูปแบบคูเป้ และ โวเลนต์[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-29. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  2. "Aston Martin Automatic Gearboxes". JT Automatics Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "2007 Aston Martin DB9 coupe specifications". Car and Driver. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  4. 4.0 4.1 "2009 Aston Martin DB9 coupe specifications". Car and Driver. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  5. "2010 Aston Martin DB9 coupe specifications". Car and Driver. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  6. "Aston Martin DB9 – 2003 Frankfurt Auto Show". Car and Driver. September 2003. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  7. Feast, Richard (14 November 2004). "2005 Aston Martin DB9: Under the Beauty, an Up-to-Date Beast". New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  8. http://www.caranddriver.com/reviews/aston-martin-db9-volante-first-drive-review
  9. http://www.autoblog.com/2013/02/06/2013-aston-martin-db9-review-video/
  10. http://www.caranddriver.com/news/2008-aston-martin-db9-lm-and-v-8-vantage-n400-auto-shows
  11. http://www.topspeed.com/cars/aston-martin/2011-aston-martin-db9-quantum-silver-ar102240.html[ลิงก์เสีย]