แอลกอฮอล์ในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหล้าตราอารักปูติฮ์ในตลาดที่รัฐซาบะฮ์ ศูนย์ผลิตแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในมาเลเซียตะวันออก เพราะว่าผู้คนบริเวณนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม

แอลกอฮอล์ในประเทศมาเลเซีย สื่อถึงเครื่องดื่ม, โรงงาน และกฎหมายของแอลกอฮอล์ในประเทศมาเลเซีย ประเทศนี้มีประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ โดยอนุญาตให้ขายแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม และไม่มีการแบนแอลกอฮอล์ทั่วประเทศ ยกเว้นในรัฐกลันตันและรัฐตรังกานูที่ห้ามเฉพาะมุสลิม[1] พรรคอิสลามยอมรับสิทธิของผู้มิใช่มุสลิมที่มีสถานประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม เช่น ภัตตาคารและร้านของชำจีนถูกยกเว้นจากการแบน[2] ดินแดนสหพันธ์กัวลาลัมเปอร์มีผู้บริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศมากที่สุด รองลงมากคือรัฐซาราวักและรัฐซาบะฮ์[3]

อ้างอิงจากรายงานที่เผยแพร่โดย International Organisation of Good Templars (IOGT) ใน ค.ศ. 2016 ประเทศมาเลเซียมีภาษีแอลกอฮอล์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15 เป็นรองแค่ประเทศนอร์เวย์และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งทำนายว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[4] ประเทศนี้มีผู้บริโภคแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ 10 ของโลก โดยมีการใช้จ่ายกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อปีอยู่ที่ 2 พันล้านริงกิต[4] ก่อนที่จะทำข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก ประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนามวางแผนที่จะหยุดนำเข้าพิกัดอัตราของเบียร์, วิสกี้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Liquor Control Bill: How other countries and cities in Asia tackle drinking". The Straits Times. 22 January 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  2. Dina Murad (25 November 2014). "Husam: Right of non-Muslims to consume alcohol, even in Kelantan". The Star. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  3. "Sabah is 3rd highest in alcohol consumption". Bernama. The Star. 11 May 2013. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  4. 4.0 4.1 "Malaysia: Alcohol Tax Set To Increase". International Organisation of Good Templars. 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  5. "Malaysia, Vietnam to drop import duties on beer, liquor". Nikkei Asian Review. 20 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.