แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
ก่อตั้ง2536 (ลงทะเบียนใน พ.ศ. 2546)
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ (NGO)
วัตถุประสงค์ปกป้องสิทธิมนุษยชน
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
สาขาวิชาให้ความสนใจสื่อ, แคมเปญอุทธรณ์โดยตรง, การชุมนุม, การวิจัย
สมาชิก (2559)
ประมาณ 1,000 คน[1]
ภาษาทางการ
ไทย, อังกฤษ
ผู้อำนวยการ
ปิยนุช โคตรสาร[2]
ประธานคณะกรรมการ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ[3]
สังกัดAmnesty International
เว็บไซต์www.amnesty.or.th

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลกซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 1,000 คนทั่วประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ร่วมกับอีก 50 สำนักงานย่อยทั่วโลก โดยสำนักงานของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกับรัฐบาลไทยในปี 2546 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 มีการก่อตั้งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีผู้สนับสนุนมากถึง 7 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงนักกิจกรรมและอาสาสมัครจาก 150 ประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้ขึ้นต่อรัฐบาลหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ จุดประสงค์ของแอมเนสตี้คือทำงานขับเคลื่อนความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อไปกดดันต่อรัฐบาลใด ๆ ที่ได้ละเมิดสิทธิ์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2520

การรณรงค์[แก้]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ทำงานร่วมทั้งกับภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังได้มีการจัดงานรณรงค์หลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการปกป้องสิทธิมนุษยชน

ในเดือนมิถุนายน 2559 แอมเนสตี้ประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการตั้งข้อหาต่อนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 13 คน และให้ปล่อยตัว 7 นักกิจกรรมที่รณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ[4]

คำวิจารณ์[แก้]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้รับเสียงวิจารณ์ในด้านการทำงาน เช่น ในประเด็นเรื่องของโทษประหารชีวิต มีเสียงวิจารณ์ว่า "เห็นใจผู้ร้าย แต่ไม่เห็นใจเหยื่อ" โดยทางแอมเนสตี้ ให้เหตุผลว่า "ไม่ได้อ่อนข้อ หรือยกโทษให้กับผู้กระทำความผิด แต่เรา [แอมเนสตี้] เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ วิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด" หรือประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ก็ได้รับคำวิจารณ์ว่า "องค์กรโลกสวย แต่ไม่เคยช่วยอะไรเลย" แอมเนสตี้มองในแง่ของมนุษยธรรมว่าในช่วงที่ชาวโรฮิงญาเดินทางผ่านมา ก็ต้องเอื้ออำนวยให้เขาได้เข้าถึงสิทธิ์เรื่องของน้ำและอาหาร และมองว่าไม่มีอะไรที่เป็นหลักฐานว่าชาวโรฮิงญาจะก่อให้เกิดปัญหา ทางแอมเนสตี้มีหน้าที่ในการติดตามว่ารัฐได้ทำตามสิ่งเหล่านั้นหรือไม่[5]

ในช่วงที่แอมนาสตี้ ดำเนินงานกระตุ้นรัฐบาลให้ถอนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... แอมนาสตี้ได้รับเสียงเรียกร้องขับไล่ออกจากประเทศ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คือใคร?". OK Nation Blog. 2008-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-08-02.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-02. สืบค้นเมื่อ 2016-07-28.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Thai activists charged over 'military torture' report". BBC. 26 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
  4. "Amnesty International prepares petition in defence of pro-democracy activists - The Nation". Nationmultimedia.com. 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-08-02.
  5. "คุยกับ 'แอมเนสตี้ ประเทศไทย' องค์กรที่หลายคนมองว่าโลกสวย แต่ไม่เคยช่วยอะไรเลย". brandthink.me.
  6. "เมินเสียงขับไล่พ้นไทย! แอมเนสตี้ยืนหยัดทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน". โพสต์ทูเดย์.